นับตั้งแต่กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อปลายเดือนมิ.ย. สิ้นสุดลง หัวกระไดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ไม่แห้งอีกเลย เพราะหลังจากนั้นมีกลุ่มคนเข้ามายื่นหนังสือ เพื่อตรวจสอบกระบวนการเลือกที่ไม่สุจริต และเที่ยงธรรม รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเลือกบุคคลที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือเรียกว่า ฮั้ว หรือการตรวจคุณสมบัติสว.
โดยหนึ่งในนั้นที่เป็นกระแสสังคมอยู่ขณะนี้ "ศาสตราจารย์ ดร.พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย" สว.ดีกรีปริญญาเอก ที่ได้รับคะแนนเรื่องมากที่สุดในประเทศไทย 79 คะแนน
สาเหตุที่ทุกคนต่างโฟกัสเป็นที่ "หมอเกศ" คือวุฒิการศึกษา ที่ระบุในใบแนะนำตัวผูัสมัคร (สว.) โดยระบุว่า จบปริญญาเอกรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตที่ California University ซึ่งจบที่เดียวกันกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ โดยได้ยืนยันด้วยใบวุฒิการศึกษาว่าจบจากที่นี่จริง
ทว่าทุกอย่างกลับตรงกันข้าม เพราะ California University ไม่มีการเรียนการสอน มีแต่ University of California ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชื่อดังในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
California University เป็นเพียงแค่องค์กรที่ประเมินการศึกษาสำหรับระดับผู้ใหญ่เพื่อที่จะได้รับการรับรองว่าจบปริญญาจากมหาวิทยาลัยจริงหรือไม่ โดยให้บริการทั้งคนในประเทศ และต่างประเทศ โดยให้การประเมินประกาศนียบัตรตลอด 24 ชั่วโมง มีสถานที่เป็นห้องแถวเล็กๆ
เมื่อเป็นเช่นนี้คำถามต่อมา หมอเกศ เรียนจบจากที่ไหน นำใบทรานสคริปจากมหาวิทยาลัยใดไปยื่นให้กับ California University เพื่อรับรองวุฒิ เพราะกรณีดังกล่าวเคยเป็นประเด็นเมื่อหลายปีที่แล้วที่ ร.อ.ธรรมนัส นำใบวุฒิการศึกษาว่าจบจาก California University และใบเกรดมาโชว์ต่อสื่อมวลชน แล้วมีการ จับโป๊ะ เนื่องจากในใบเกรดมีการระบุถึง ประเทศวานูอาตู ซึ่งเป็นประเทศหมู่เกาะห่างไกลในมหาสมุทรแปซิฟิก
และยิ่งประเด็นคำนำหน้า ศาสตราจารย์ เป็นไปได้ยาก โดยตำแหน่งระดับนี้ในประเทศไทยนั้นต้องได้รับพิจารณาเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยก่อนนำความขอพระราชทานโปรดเกล้า และส่วนใหญ่เป็นผู้มีผลงานการวิจัยต่างๆ และวัยวุฒิ ฃ
กลับกัน หมอเกศ อายุเพียงแค่ 45 ปีเท่านั้น รวมถึงใบสว.3 ประสบการณ์ทำงานที่ได้ระบุไว้ มีโอกาสน้อยที่จะได้รับตำแหน่งเป็น ศาสตราจารย์
โดยประเด็นของ หมอเกศ ได้มีผู้ร้องขอให้ตรวจสอบ ไม่ว่าจะ "อ.อ๊อด" - รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์และนักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ยื่นร้องต่อกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อขอให้ตรวจสอบว่า การนำหน้าชื่อเพื่อสมัครเข้ารับการสรรหาในตำแหน่งสว.ทำให้สังคมสับสนว่าเป็นการได้ตำแหน่งโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จนนำไปสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้าง ขณะที่ "สนธิญา สวัสดี" อดีตผู้สมัครสว. ที่ขอให้ตรวจสอบที่มาตำแหน่งทางวิชาการ ถ้านำข้อมูลเท็จลงในระบบราชการไทย ถือว่ามีความผิดหรือไม่
ทางด้านทนายของ หมอเกศ ได้ออกมาโต้ข่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ เอกสารทั้งหมดได้รับรองจากกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสหรัฐอเมริกา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นเครื่องยืนยันว่า จบการศึกษาจริง ไม่ใช่ปริญญาปลอมซึ่งทางมหาวิทยาลัยที่ได้จดทะเบียนกับกระทรวงศึกษาธิการ เป็นมหาวิทยาลัยประเมินเกรด ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก หรือ เทียบเท่า รูปแบบการเรียนการสอนเป็นแบบ เวิลด์ไวด์ มีการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
อย่างไรก็ตามแต่ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกสว. ไม่ได้ระบุถึงการศึกษาขั้นต่ำ เพราะฉะนั้นใครจะจบสูง หรือ เรียนไม่จบก็สามารถเป็นสว.ได้ ไม่มีความผิด
แต่ตามมาตรา 75 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสว.บัญญัติว่า หากเอกสารหรือความผิดที่ใช้ประกอบการสมัครรับเลือกสว. ผู้ที่รับรอง หรือ ลงลายมือ ชื่อเป็นพยาน ที่ใช้ประกอบ
การสมัครเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 5 ปี
นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตจากสังคมว่า หมอเกศ มีความพยายามต้องการจะใช้วุฒิการศึกษา ที่ระบุว่าจบจากมหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกานำมาประกอบในใบสว.3 เพื่อจูงใจโน้มน้าวให้ผู้สมัครสว.เลือกตนเองหรือไม่
ซึ่งตามมาตรา 62 ในกฎหมายดังกล่าว เมื่อกกต.ประกาศผลการเลือกตามมาตรา 42 วรรคสอง แล้ว ถ้ามีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครหรือผู้ใดกระทำการอันเป็นการทุจริต หรือ รู้เห็นกับการกระทำของบุคคลอื่นอันทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม ให้กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อสั่งให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง หรือเ พิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้น เ
เมื่อศาลฎีกามีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาแล้ว ผู้นั้นก็ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่ ถ้าศาลมีคำสั่งพิพากษาว่ามีความผิด ก็จะพ้นความเป็นสว.
จึงเป็นหน้าที่ของกกต.ที่จะต้องตรวจสอบเรื่องร้องเรียนต่างๆรวมถึงเราผิดกับสว.ที่มีพฤติการณ์ทุจริต ซึ่ง ซึ่ง ณ ปัจจุบันสว.ป้ายแดง ได้เตรียมเข้าทำหน้าที่ในสภาสูง โดยจะนัดประชุมครั้งแรกในวันที่ 23 ก.ค.นี้ โดยมีวาระที่จะเลือกประธานวุฒิสภา และรองประธานฯ
กกต.ก็ยังสามารถดำเนินการตรวจสอบแสวงหาพยานหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อเอาผิดสว.ย้อนหลังได้โดยไม่มีกำหนดเวลา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567
ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!
แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่
โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้
นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า
‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’
แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี