จับตา "โอมิครอน" ลามถึง "เดลตาครอน"

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ โอมิครอน ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจทั้งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิสราเอล สำหรับประเทศไทยเองก็ไม่น้อยหน้า เพียงไม่กี่สัปดาห์พบผู้ติดเชื้อเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอนทะลุเกินพันคนเข้าไปแล้ว

สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งกำลังจะมาแทนที่สายพันธุ์ก่อนหน้านี้ในทุกประเทศ ถูกพบเป็นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้เมื่อเดือน พ.ย. หลังจากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยสายพันธุ์โอมิครอนนี้มีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งที่สำคัญอยู่ 2 ตำแหน่ง คือ การกลายพันธุ์บริเวณ Spike Protein หรือตำแหน่งโปรตีนตรงส่วนหนามบนผิวของไวรัส ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์เบตา Beta (B.1.351) ทำให้โควิดสายพันธุ์โอมิครอนสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและจับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ง่ายขึ้น              

โดยคำว่า หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน หมายถึง คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาแล้ว ร่างกายจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติขึ้นมา (Innate Immunity) แต่ก็ยังสามารถติดเชื้อโควิดสายพันธุ์นี้ได้

 และการกลายพันธุ์บริเวณนอก Spike Protein พบการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (Receptor-binding Domain : RBD) การกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้มีความคล้ายคลึงกันกับสายพันธุ์เดลตา (B.1.617.2) ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ง่ายขึ้น แบ่งตัวเก่งขึ้น อีกทั้งยังพบปริมาณความเข้มข้นของเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งนี้ส่งผลให้โควิดสายพันธุ์โอมิครอนสามารถแพร่กระจายได้ง่ายและไวขึ้นกว่าสายพันธุ์ เดลตา

หากถามว่าโอมิครอนจะรุนแรงกว่าเดลตาหรือไม่ คงต้องแบ่งออกเป็น 2 กรณี กรณีแรกสำหรับคนที่รับวัคซีนแล้ว ตามการรายงานของ WHO ได้ระบุว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิดแล้วสามารถรับเชื้อได้ แต่แทบจะไม่มีอาการเลย อาการไม่รุนแรง จมูกยังได้กลิ่น ลิ้นสามารถรับรสได้ ซึ่งต่างกันกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา และพบผู้ป่วยที่มีอาการปอดอักเสบน้อยมาก รวมถึงเสียชีวิตจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนน้อยมากเช่นกัน

กรณีที่ 2 สำหรับพื้นที่ที่มีการพบผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนหนาแน่น เช่น ทวีปแอฟริกา ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีอัตราการฉีดวัคซีนค่อนข้างน้อย จึงทำให้พบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก ซึ่งอาจจะมีการรายงานว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือมีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นที่จะต้องเอามาพิจารณาร่วมด้วย

สำหรับไทยในขณะนี้ได้ยกระดับให้เป็นการระบาดระลอกใหม่ (ม.ค.2565) ไปแล้ว นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวง​สาธารณสุข กล่าวถึงการคาดการณ์ใน 3 ฉากทัศน์ที่จะเกิดขึ้นตามมาตรการต่างๆ นั้น พบว่าขณะนี้การแพร่โรคค่อนข้างขึ้นมาเร็ว เป็นไปตามเส้นสีเทา คือ พบการติดเชื้อเฉลี่ยวันละ 15,000-30,000 ราย ซึ่งหากมาตรการที่เรามีอยู่ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายอย่างดีก็จะสามารถควบคุมโรคได้ดี

ทั้งนี้ นับจากจบเทศกาลปีใหม่มากลับพบผู้ติดเชื้อมากขึ้นใน กทม. จากข้อมูลการครองเตียงสีเขียวเพิ่ม 30.7% ขณะเดียวกันก็ยังมีข่าวดี เพราะจำนวนการครองเตียงสีเหลืองและสีแดงก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด สะท้อนว่าขณะนี้โอมิครอนใกล้จะเป็นสายพันธุ์ครองเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้จากการที่มีความรุนแรงของเชื้อที่น้อย ก็ทำให้รัฐต้องปรับกลยุทธ์สำหรับการรองรับผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการเพิ่มมากขึ้น โดยการให้เข้าระบบ Home Isolation (HI) และ community Isolation (CI) และกลยุทธ์อีกเรื่องสำคัญไม่น้อยคือ การให้คนไทยเข้าถึงเข็มบูสเตอร์โดสให้เร็วที่สุด ให้วัคซีนกระตุ้นภูมิในร่างกายได้อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เริ่มการระบาดของโอมิครอนไม่นาน นักวิจัยในประเทศไซปรัสค้นพบสายพันธุ์ของโคโรนาไวรัสที่รวมกันระหว่าง เดลตา และ โอมิครอน เบื้องต้นตั้งชื่อว่า เดลตาครอน (Deltacron) โดยมีลักษณะทางพันธุกรรมคล้ายคลึงกับโอมิครอน แต่มีจีโนมของเดลตา และพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้ 25 ราย ในประเทศไซปรัส ซึ่งจากการวิเคราะห์ทางสถิติเผยให้เห็นว่า เชื้อ เดลตาครอน พบในผู้ป่วยโควิด-19 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล มากกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าโรงพยาบาล 

จากข้อมูลดังกล่าว ถ้าข้อมูลของเชื้อเป็นไปตามนี้จริงจะเกิดความน่ากลัว เพราะจะมีความรุนแรงมากขึ้น และบวกกับความสามารถของโอมิครอนที่แพร่กระจายได้เร็ว อาจสร้างปัญหาใหญ่ให้กับทุกประเทศก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยว่า กรมคุยกับ GISAID มีรายงานโดยผู้เชี่ยวชาญที่ไซปรัสส่งข้อมูลไปที่ GISAID โดยเป็นข้อมูลจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวพบว่า ใน 24 ตัวอย่างมีการกลายพันธุ์ทั้งในส่วนที่เป็นเดลตาและโอมิครอนอยู่ด้วยกัน แต่จากการตรวจเพิ่มพบส่วนที่เป็นโอมิครอนมีความเหมือนกันหมด แต่ว่าส่วนที่เป็นเดลตามีความแตกต่างกันไป

 “ตรงนี้มีความสำคัญมาก เพราะหากเป็นสายพันธุ์ใหม่จริงๆ จะต้องตรวจทั้งสองฟากเหมือนกัน ไม่ใช่ตรวจแล้วมีแค่ฟากเดียวที่มีความแตกต่าง เพราะตอนนี้เชื้อเดลตามีสายพันธุ์ย่อยถึง 120 สายพันธุ์ เพราะฉะนั้นที่ไซปรัสสรุปว่า GISAID ยังจัดชั้นการค้นพบ 24 รายนี้เป็นสายพันธุ์เดลตา ไม่ใช่เป็นสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด” นพ.ศุภกิจกล่าว

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์บอกด้วยว่า กรณีที่เกิดขึ้นโอกาสที่จะเกิดได้มากที่สุดคือเป็นเรื่องของการปนเปื้อนในสิ่งส่งตรวจ คือติดเชื้อเดลตา แต่ไปปนเปื้อนสารพันธุกรรมของเชื้อโอมิครอน ทำให้พบ 2 สายพันธุ์ในตัวอย่างเดียวกัน อีกหนึ่งอย่างที่อาจจะเป็นไปได้ แต่ไม่มากคือ การติด 2 สายพันธุ์ในคนเดียว ซึ่งมีโอกาสน้อยมาก แต่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็จะติดตามข้อมูลต่อไป

แต่อย่างไรก็ดี ยังต้องจับตาว่า เดลตาครอน จะมีการแพร่ระบาดมากกว่าเดลตากับโอมิครอนหรือไม่ หรือสายพันธุ์ตัวนี้จะถูกกลืนด้วยความรวดเร็วของการระบาดจากสายพันธุ์โอมิครอน

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเกิดเชื้อตัวใหม่ขึ้นมาอีกสักกี่ตัว แต่เกราะป้องกันที่วัคซีนไม่สามารถมีได้คือ มาตรการส่วนบุคคล โดยการใส่หน้ากากอนามัยสม่ำเสมอ เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงการเข้าไปคลุกคลีในชุมชน หรือพื้นที่แออัด จะเป็นสิ่งที่ทำให้คนไทยหลีกเลี่ยงความสูญเสียจากโรคเหล่านี้ได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่