ค่าย 'สีน้ำเงิน 'คุมสภาสูง จับตาประธานสว.คนใหม่

ประเทศไทยมีรายชื่อสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) 200 คน อย่างเป็นทางการ หลังจากเมื่อวันพุธที่ผ่านมาใช้เวลาดำเนินการคัดเลือกสว.ระดับประเทศที่อิมแพค หลังจากใช้เวลาดำเนินการคัดเลือกสว.ระดับประเทศที่อิมแพค ฟอรัม เมืองทองธานี ตั้งแต่ 8 โมงเช้า ลากยาวไปถึงเช้ามืดวันถัดไป ทำเอาผู้สมัครสว. ผู้ติดตาม รวมถึงผู้สื่อข้าวที่ตามเกาะติดชิดห้องประชุมตาคล้ำราวกับหมีแพนด้า

เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)  ประกาศรายชื่อผู้ได้เป็นสว.สิ่งที่เซอร์ไพรมากที่สุดคือ เหล่าดาวเด่นที่มองว่าจะได้เป็นสว.มาตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มกระบวนการเลือกอย่าง สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เดิมคนมองว่าจะได้รับเลือกและเป็นประธานวุฒิสภา แต่กลับไม่ผ่านแม้กระทั่งเป็นตัวสำรอง ได้คะแนนแค่ 4 คะแนน เจ้าตัวได้เดินออกจากห้องทันที โดยไม่พบกับสื่อมวลชนแต่อย่างใด หรือแม้กระทั้ง นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ก็ได้ตกรอบตั้งแต่รอบแรกในการเลือกระดับประเทศ แม้ทั้ง 2 บุคคล ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นคนของ ทักษิณ ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี  หรือแม้กระทั่งพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กระทั่งเจ้าของตึกใบหยกอย่าง พันธ์เลิศ ใบหยก กลับทำได้แค่มีชื่อในบัญชีสำรองเท่านั้น

กลับกันรายชื่อที่เป็นสว.หลายกลับไม่มีรายชื่อในกูเกิ้ล บางรายประกอบอาชีพไม่ตรงกับที่ลงสมัครสว.ในกลุ่มของตนเอง อาทิ คอดียะฮ์ ทรงงาม อายุ 64 ปี จังหวัดอ่างทอง อาชีพช่างตัดเย็บเสื้อผ้า  ที่มีประวัติทำงานประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน กลับได้เป็นสว.ใน กลุ่มสื่อมวลชน หรือ อารีย์ บรรจงธุระการ อายุ 65 ปี จังหวัดสตูล อาชีพ พยาบาล มีประสบการณ์เคยเป็นพิธีกรงานแต่ง ก็ได้เป็นสว.ในกลุ่มสื่อฯเช่นกัน

คำถามคือเกิดอะไรกับการเลือกสว.ในครั้งนี้?

ถ้าดูหน้าตาว่าที่ 200 สว. ใหม่ ชัดเจนว่าในแต่ละกลุ่มที่ได้รับเลือกส่วนใหญ่มาจาก ค่ายสีน้ำเงิน- "ภูมิใจไทย" มากที่สุด ส่วนค่ายอื่นก็มาแบบปักปลายเช่นค่ายพระแม่ธรณีบีบมวยผม หรือ ค่ายสีส้มพรรคก้าวไกล

ถ้าตรวจสอบเป็นรายจังหวัด บุรีรัมย์ เป็นจังหวัดที่มีว่าที่สว.มากที่สุดอยู่ที่ 14 ราย กลุ่ม1 มงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง และ อดีต ผวจ.บุรีรัมย์ , อภิชาติ งามกมล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ (พี่ชายไตรเทพ งามกมล ส.ส.บุรีรัมย์ พรรคภูมิใจไทย)  กลุ่ม2 พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร อดีต ผบก.ภ.จว.บุรีรัมย์  กลุ่ม4 ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและที่ปรึกษารมว.สาธารณสุข (สมัยอนุทิน ชาญวีรกูล เป็น รมว.สาธารณสุข) , ฤชุ แก้วลาย  กลุ่ม5 ปวีณา สาระรัมย์  กลุ่ม7 จตุพร เรียงเงิน  กลุ่ม9 นางวรรษมนต์ คุณแสน  กลุ่ม13 พรเพิ่ม ทองศรี หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (ทรงศักดิ์ ทองศรี มท.3)  กลุ่ม16 ปราณีต เกรัมย์ (อดีตคนขับรถ ชัย ชิดชอบ) กลุ่ม17 นางประไม หอมเทียน , นายชาญชัย ไชยพิศ (อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลบุรีรัมย์) กลุ่ม18 ศุภชัย กิตติภูติกุล ผู้สื่อข่าว นสพ.ไทยรัฐ ประจำ จ.บุรีรัมย์ และกลุ่ม 20 วลีรักษ์ พัชระเมธาพัฒ

นอกจากนี้ยังมี พลเอกเกรียงไกร ศรีรักษ์ หรือ บิ๊กเกรียง  และอดีตแม่ทัพภาคที่ 4  ปัจจุบัน เป็นประธานที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย (อนุทิน ชาญวีรกูล)  ว่าที่ ส.ว.จาก กลุ่มที่ 1   ได้คะแนนสูงถึง 74 คะแนน

ต้องยอมรับว่าในสนามการเมืองระดับประเทศในครั้งนี้ โดยเฉพาะกลยุทธ์การต่อสู้ของค่ายสีน้ำเงินเรียกได้ว่า "มาเหนือเมฆ" โดยมีการคาดการณ์กันว่าจากจำนวน 200 คนมีเกินกว่าร้อยคนที่อยู่ในเครือข่ายของค่ายสีน้ำเงิน

อย่างไรก็ตามการวางแผนรบในครั้งนี้เป็นการวางแผนระยะยาวโดยมีการคาดการณ์กันว่าจุดเริ่มต้นเกิดขึ้นตั้งแต่ยุครัฐบาลที่แล้ว โดยมีการแทรกซึมในระดับอำเภอ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ลงสมัครมากที่สุดโดยพบได้ในทุกกลุ่มสาขาอาชีพ และทุกจังหวัด

โดยมีรายงานว่าในพื้นที่ภาคกลางแห่งหนึ่งมีหัวคะแนนใหญ่ในพื้นที่ ถือรายชื่อมาแจ้งให้ผู้ที่เป็นอสม.ให้ไปสมัครเป็นสว. โดยขอให้กระจายไปอยู่ในแต่ละกลุ่มของสาขาอาชีพ เพื่อให้เข้าไปถึงในรอบระดับอำเภอและจังหวัด โดยทำเพียงแค่นี้ก็ได้ค่าตอบแทนหลักหมื่นบาทขึ้นไป โดยเอกสาร ค่าเดินทาง ค่าสมัคร หัวคะแนนเป็นผู้ออกหมด

ซึ่งเหตุผลที่แจ้งให้ไปสมัครพร้อมเพียงแค่ต้องการนำคะแนนไปดันคนอื่นให้เข้าในระดับ จังหวัด ประเทศ นั่นจึงทำให้ สว. ค่ายสีน้ำเงิน กวาดเรียบทั้งกระดาน อย่างเช่น สว.ที่เป็น ช่างตัดเย็บเสื้อผ้าที่ระบุมาตั้งแต่ต้น พบข้อมูลว่าเป็นที่ปรึกษา สุรเชษ นิ่มกุล ว่าที่ผู้สมัครนายกอบจ.อ่างทอง ซึ่งมีความคุ้นเคยกับเครือข่ายบ้านใหญ่สีน้ำเงินใน จ.พระนครศรีอยุธยา

ส่วนในเคสกรณีของ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ตกรอบแบบพลิกล็อค มีข้อมูลเบื้องลึกระบุว่า มีการปล่อยข่าวตั้งแต่ยังไม่เริ่มกระบวนการเลือก ว่า สมชาย  เตรียมจะได้รับตำแหน่งเป็นประธานวุฒิสภา นั่นจึงทำให้ผู้สมัครบางรายที่ไม่ชอบระบบสภาผัวเมียไม่ลงคะแนนให้

นอกจากนี้ยังมีเคสของผู้สมัคร ค่ายสีส้ม ได้มีรายงานออกมาว่า ได้มีผู้สมัครกลุ่มค่ายสีน้ำเงิน เกลี้ยกล่อม ให้ผู้สมัครายอื่นไม่เลือกผู้สมัครสว.ที่มาจากค่ายสีส้ม หรือมีแนวโน้มที่จะมีความคิดสีส้ม ตั้งแต่ในระดับอำเภอ นั่นจึงทำให้เราเห็นเทศกาลเตะตัดขาผู้สมัครฯค่ายสีส้มจนอ่วม โดยมีไม่กี่คนที่จะมีโอกาสได้เป็นสว.

เชื่อว่ามีหลายคนที่ไม่คิดว่าถ้าให้สีน้ำเงินจะมาเหนือเมฆขนาดนี้ ที่ใช้คลื่นใต้น้ำกวาดที่นั่งสว.จนเรียบ  ถือเป็นการตีกลองรบอย่างเป็นทางการว่าค่ายสีน้ำเงิน เอาจริง และพร้อมจะขึ้นมาเป็นใหญ่

ทำห้เริ่มถูกจับตามองหลังเห็นรายชื่อว่าที่สว.ชุดใหม่ พบว่ามี สว.สายขั้วสีน้ำเงิน ภูมิใจไทย เข้ามาหลายคน จนทำให้อาจได้รับการสนับสนุนให้ชิงเก้าอี้   ประธานวุฒิสภา คนต่อไป   และจะส่งผลต่อองคาพยพทางการเมืองไทยในอนาคต!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘ปธ.กมธ.สิทธิฯ’ ทิ้งทวน ยื่น ‘ป.ป.ช.’ สอบ ‘ราชทัณฑ์-ยธ.’ เอื้อ ‘ทักษิณ’ อยู่นอกคุก

‘สมชาย’ สวมหมวก ปธ.กมธ.สิทธิฯ ทิ้งทวนทำหน้าที่ ยื่น ‘ป.ป.ช.’ สอบ ‘จนท.ราชทัณฑ์-ยธ.’ ส่อปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ขัดมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง ปมเอื้อ ‘ทักษิณ’ อยู่นอกคุก

สภาฮั้วค่าย 'สีน้ำเงิน' ยึดสว. วงจรอุบาทว์การเมืองไทย

ผลการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้รายชื่อว่าที่ สว.จำนวน 200 คน และสำรอง 100 คน ครบแล้ว โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

น้องเขยพ่ายเลือกสว. 'ทักษิณ' รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ว่าการคัดเลือก สว.ที่ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่ได้รับการคัดเลือกนั้นไม่ใช่เรื่อง

'ทักษิณ' บอกวุ่นวาย ปมบิ๊กตำรวจขัดแย้ง ร้องโอ๊ยทันทีหลังเจอถามร่วมจัดโผทหารหรือไม่

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีความขัดแย้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ระหว่างพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ฟาดหัวฟาดหาง! 'ทักษิณ' โทษกติกาเลือก สว. ทำสมชายร่วง กระทบชิ่ง 'มีชัย-คณะปฏิวัติ'

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการคัดเลือกสว. ที่นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกฯ ไม่ได้รับการคัดเลือกว่าตรงนั้นไม่ใช่เรื่องสำคัญ สำคัญที่ว่ามันสอนให้รู้ว่าการปฏิวัติทุกครั้ง