เลือกสว.จังหวัดคนดังร่วง จัดจ้างฮั้วเข้าเป้าเพียบ

ผ่านไปแล้วสำหรับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในระดับจังหวัด ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายก่อนที่จะเข้าไปคัดเลือกในระดับประเทศ โดยสรุปผู้ได้รับเลือกระดับจังหวัดไประดับประเทศ จำนวน 3,000 ราย โดยเป็นชาย 2,164 คน และเป็นหญิง 836 คน

สำหรับ "ผู้ที่มีชื่อเสียง" และผ่านเข้ารอบไปเลือกระดับประเทศ อาทิ จ.เชียงใหม่ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี, จ.สงขลา บรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมรักษ์ทะเลไทย, จ.ขอนแก่น นพ.เปรมศักดิ์ เพียยุระ อดีต สส.ขอนแก่น, จ.อ่างทอง วีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง, กรุงเทพมหานคร อังคณา นีละไพจิตร อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล อดีตรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข, มงคล สุระสัจจะ อดีตอธิบดีกรมการปกครอง, พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร อดีต ผบก.บุรีรัมย์, พรเพิ่ม ทองศรี อดีตหัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย, อภิชาติ งามกมล อดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ, ภคพงศ์ ทวิพัฒน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล อดีตรอง ผบ.ตร.

สำหรับ “คนดัง” ที่ไม่ผ่านในการคัดเลือกระดับจังหวัด เช่น จักรพันธุ์ ยมจินดา อดีตผู้ประกาศข่าวชื่อดัง, น.ส.นารากร ติยายน ผู้ประกาศข่าวชื่อดัง, นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน, ยุทธพิชัย ชาญเลขา นักแสดง, สันธนะ ประยูรรัตน์ อดีตนายตำรวจ, สนธิญา สวัสดี นักร้องเรียน, พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ (สละสิทธิ), สมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.), วิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์, พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มธ.

จากรายชื่อข้างต้นบ่งบอกให้เห็นว่า บุคคลที่มีชื่อเสียงที่ผ่านเข้ารอบส่วนใหญ่ล้วนเคยมีตำแหน่งระดับสูงในวงการภาครัฐมาก่อน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถที่เชื่อถือได้ ทำให้ผู้สมัครมีความมั่นใจที่จะโหวตให้ ไม่ได้ตัดสินแค่ว่าบุคคลนั้นออกโทรทัศน์บ่อยหรือไม่

ขั้นตอนหลังจากนี้คือกระบวนการเลือก สว.ระดับประเทศที่จะมีขึ้นในวันที่ 26 มิ.ย.นี้ โดยจัดขึ้นที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี เพื่อเฟ้นหาผู้ได้รับคะแนนมากที่สุดของกลุ่มนั้นจำนวน 20 กลุ่ม ในรอบไขว้ 10 อันดับแรกเป็น สว. รวม 200 คน และอันดับที่ 11-15 ของแต่ละกลุ่มเป็นบัญชีรายชื่อสำรอง สว.

เมื่อ กกต.ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการเลือกระดับประเทศแล้ว จะต้องรอไว้ไม่น้อยกว่า 5 วัน เมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว กกต.เห็นว่าการเลือกเป็นไปโดยสุจริต ถูกต้อง เที่ยงธรรม ให้ประกาศผลการเลือกในราชกิจจานุเบกษา หรือตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้คือในวันที่ 2 ก.ค. และส่งไปยังสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภารับทราบเพื่อดำเนินต่อไป

อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีปัญหาเกิดขึ้นที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ คือ "การฮั้ว" ที่เคยเกิดขึ้นในการเลือกระดับอำเภอมาแล้ว โดยในระดับจังหวัดยังพบเหมือนเดิม ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อเสียงฮั้วในภาคอีสาน ที่ นายสมชาย แสวงการ สว. แฉว่า "มีการกำหนดเป้าหมายให้กาคะแนนตามฮั้วให้เข้าเป้าก่อนการเลือกระดับจังหวัด และเข้าเป้าตามโผจัดจ้างฮั้ว"

หรือในพื้นที่ จ.สมุทรปราการ ที่ ทนายตั้ม ษิทรา เบี้ยบังเกิด ออกมาแฉว่ามีผู้สมัครเอาโพยมาให้ดู บอกว่าต้องเขียนเบอร์ตามที่แกนนำพรรคการเมืองใหญ่ใน จ.สมุทรสาครสั่งมา ซึ่งในกลุ่มของทนายตั้มมีคนของเขาอยู่ พอรู้จำนวนคนที่พรรคการเมืองใหญ่จัดตั้งขึ้นมามีจำนวนแทบจะเกินครึ่งของผู้เข้ารอบระดับจังหวัด

หรือกรณีตำรวจสันติบาลเข้าจับกุมขบวนการที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการซื้อเสียงเลือก สว.ระดับจังหวัดศรีสะเกษ หลังได้รับรายงานอ้างว่ามีการนัดแนะให้กลุ่มผู้สมัคร สว.เข้าพักในโรงแรมแห่งหนึ่งใน จ.ศรีสะเกษเมื่อวันเสาร์ เพื่อซักซ้อมแนวทางการลงคะแนนให้ผู้สมัคร สว.ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องการผ่านการคัดเลือก เพื่อให้ผู้สมัครแต่ละคนลงคะแนนให้ จากการสอบสวนยังพบว่ามีการจ่ายเงินในการเลือก สว.ครั้งนี้กว่า 1,000,000 บาท

โดยผู้สมัครที่เป็นคนเลือก สว.ตามรายชื่อที่ระบุจะได้รับเงินคนละ 5,000-7,000 บาท รวมถึงค่าสมัคร 2,500 บาท ซึ่งขณะนี้เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบและขยายผล

ในส่วนเรื่องร้องทุจริตที่เข้าสู่ระบบ กกต. ขณะนี้มี 80 เรื่อง โดย กกต.ได้วินิจฉัยไปบางส่วน ยังเหลือเรื่องร้องเรียนที่ กกต.ต้องดำเนินการโดยเร็ว มีรายงานว่าจะนัดประชุมกันอีกครั้งในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00 น. โดยระหว่างนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ายกฎหมายรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนการเลือก สว.ในระดับจังหวัดที่ผ่านมา เพื่อเสนอเลขาธิการ กกต.นำรายงานชี้แจงต่อ กกต.ต่อไป

แต่ก็มีหลายฝ่ายมองว่าทำไม กกต.ไม่ค่อยออกแอ็กชันเกี่ยวกับการจับกุมทุจริตเลือก สว. หรือว่าอาจจะยังกังวลในเรื่องกฎหมาย สว.ที่ศาลรัฐธรรมนูญเตรียมวินิจฉัยในสัปดาห์นี้หรือไม่

ส่วนภาพการคัดเลือกระดับประเทศ จะมีการฮั้วเช่นเดียวกับระดับอำเภอ หรือจังหวัดหรือไม่ การฮั้วที่มีบ้านใหญ่เป็นผู้บงการคงจะยาก  เพราะบ้านใหญ่ระดับจังหวัดจะมีบารมีน้อยลงเมื่อออกไปนอกพื้นที่ของตัวเอง เพราะต้องเจอการห้ำหั่นระหว่างบ้านใหญ่จังหวัด

แต่การฮั้วที่น่ากลัวกว่านั้นคือ "การฮั้วที่มีพรรคการเมืองคอยบงการ" เพราะถ้าผ่านรอบระดับประเทศไปได้ จะสามารถจูงจมูก สว.ของตัวเองให้เดินไปในทิศทางที่ตัวเองต้องการ

จึงต้องจับตากันว่าในการเลือกระดับประเทศจะมีเบาะแสชื่อพรรคการเมืองใดที่มีเอี่ยวในการฮั้วออกมาหรือไม่ และจะได้ สว.ที่เป็นกลาง หรือสังกัดกลุ่มการเมือง ซ้ำรอย สภาผัว-สภาเมีย เหมือนเดิมอีก?.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่

โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้

นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า