9 ข้อต่อสู้ดิ้นหนีตาย ก้าวไกล รุกยื่นขอไต่สวน-ยื่นบัญชีพยาน

สัปดาห์นี้ “พรรคก้าวไกล”เตรียมขยับสู้”คดียุบพรรค”อีกรอบ ด้วยการจะส่งหนังสือถึงสำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญ ตามที่ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกลบอกไว้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญ “เปิดห้องพิจารณาไต่สวนคดียุบพรรคก้าวไกล”อันจะเป็นการเปิดโอกาสให้พรรคก้าวไกลได้สู้คดีอย่างเต็มที่ และข่าวว่า พรรคก้าวไกลจะยื่นบัญชีพยานบุคคล เพื่อให้ศาลรธน.เรียก”มาให้ถ้อยคำกลางห้องพิจารณาคดี”ด้วย

 โดยคาดว่า บุคคลที่ พรรคก้าวไกลจะยื่นบัญชีรายชื่อพยานไปให้ นอกเหนือจากแกนนำพรรคสองคนคือ พิธาลิ้มเจริญรัตน์ และชัยธวัช ตุลาธน แล้ว ก็น่าจะเป็น พยานบุคคลภายนอก เช่นอาจเป็นนักวิชาการ-นักกฎหมาย ที่เคยออกมาให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับเรื่อง “สถาบันพระมหากษัตริย์-การล้มล้างการปกครองฯ”ในทางที่เมื่อมาให้ถ้อยคำแล้ว จะเป็นคุณกับฝ่ายพรรคก้าวไกล เพื่อทำให้พรรคก้าวไกลรอดพ้นจากคดียุบพรรค

อย่างไรก็ตาม ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของ 9 ตุลาการศาลรธน.ว่าจะพิจารณาเรื่องนี้อย่างไร คืออาจให้มีการเปิดห้องไต่สวนพิจารณาคดี แต่ศาลรธน.อาจเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องเรียกพยานบุคคลตามบัญชีรายชื่อที่พรรคก้าวไกลส่งมาก็ได้ คงให้แค่ ฝ่ายผู้ร้องคือ กกต. กับฝ่ายผู้ถูกร้อง คือพรรคก้าวไกล มาให้ถ้อยคำ และให้ทั้งสองฝ่ายได้”แถลงปิดคดีด้วยวาจา”เพียงเท่านี้ก็ได้ จากนั้น ก็แจ้งต่อผู้ร้อง-ผู้ถูกร้องว่า ตุลาการศาลรธน.จะนัดลงมติและอ่านคำวินิจฉัยกลางในวันใด

ทั้งหมดต้องรอดูผลการประชุมตุลาการศาลรธน.วันพุธนี้ 12มิ.ย.ว่าคดีนี้จะคืบหน้าต่อไปอย่างไร

 หลังสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางศาลรธน.ได้ส่งเอกสารคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาไปให้กับกกต.แล้ว เพื่อให้กกต. พิจารณา ซึ่งหากกกต.ติดใจ ก็อาจส่ง เอกสารข้อโต้แย้งคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา กลับมายังศาลรธน. ภายในวันพุธนี้ หรือหากไม่ทันก็อาจเป็นสัปดาห์หน้า แต่หากกกต.ไม่ติดใจ ไม่ได้มีการขอใช้สิทธิ์ส่งเอกสารดังกล่าว ก็ทำให้ การประชุมตุลาการศาลรธน.วันพุธนี้ ที่ประชุม ก็อาจมีการพิจารณากันได้เลยว่า ตกลงจะให้มีการเปิดห้องพิจารณาไต่สวนคดียุบพรรคก้าวไกล ตามที่ พรรคก้าวไกล ต้องการหรือไม่  ซึ่งหากมีการเปิดห้องไต่สวนคดี ก็คงใช้เวลาอีกสักระยะกว่าคดีจะจบ แต่หากไม่มีการเปิดห้องไต่สวนฯ ก็คาดว่า อาจไม่เกิน3 สัปดาห์ต่อจากนี้ ไม่แน่ ศาลรธน.อาจนัดลงมติวินิจฉัยคดีได้

ขณะที่ การเปิดแถลงข่าว ของพรรคก้าวไกล ที่เป็นการสรุปประเด็นสำคัญในเอกสารคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาที่พรรคยื่นต่อศาลรธน.ที่มีร่วม  73 หน้า มาสรุปประเด็นให้เหลือ 9 ข้อที่แถลงกับสื่อมวลชนไปเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา พอสรุปประเด็นสำคัญออกมาได้เป็น 4 ข้อหลัก คือ

1.กระบวนการยื่นคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ยื่นคำร้องต่อศาลรธน.ให้ยุบพรรคก้าวไกลและขอให้ศาลรธน.ตัดสิทธิ์การสมัครรับเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคเป็นเวลาสิบปี ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

เพราะก่อนกกต.มีมติเอาผิดพรรคก้าวไกลและส่งเรื่องให้ศาลรธน. ทางกกต. ไม่ให้โอกาสพรรคในฐานะผู้ถูกร้องเข้ารับทราบข้อกล่าวหา และได้โต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานเพื่อสู้คดี

2.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีดังกล่าว และไม่มีอำนาจตัดสิทธิการเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรค

3.ข้อกล่าวหาในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว การแสดงออกของส.ส.พรรคก้าวไกล และพรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นการล้มล้างหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อระบอบการปกครองฯ

ไม่ว่าจะเป็น อาทิเช่น  การเสนอร่างแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 , การนำเรื่องนโยบายแก้ 112 ไปหาเสียงตอนเลือกตั้งปี 2566 –การใช้ตำแหน่งส.ส. ไปยื่นประกันตัวผู้ต้องหาคดี 112 เป็นต้น

4.หากมีการยุบพรรคและมีการตัดสิทธิทางการเมือง ก็ควรต้องได้สัดส่วนกับความผิดและการพิจารณาโทษ ต้องสอดคล้อง กับคณะกรรมการบริหาพรรคในช่วงที่ถูกกล่าวหา

โดยมีรายละเอียดบางส่วนที่”พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค-ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคในช่วงเกิดเหตุตามคำร้องคดียุบพรรคก้าวไกล”ได้แถลงข่าวไว้

 “พิธา”นำเสนอประเด็นข้อต่อสู้ที่ยื่นต่อศาลรธน.ไว้โดยเลือกสรุปไว้  9 ข้อ และแยกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

 หมวดหมู่ เขตอำนาจและกระบวนการ

 1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้

  1. กระบวนการยื่นคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

หมวดหมู่ ข้อเท็จจริง

  1. คำนิจฉัยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ไม่ผูกพันกับการวินิจฉัยคดีนี้
  2. การกระทำที่ถูกกล่าวหา ไม่ล้มล้าง ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์
  3. การกระทำตามคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ไม่ได้เป็นมติพรรค

หมวดหมู่ สัดส่วนโทษ

  1. โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้าย เมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีแก้ไขอื่น
  2. ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค

8.จำนวนปีในการตัดสิทธิทางการเมือง ต้องได้สัดส่วนกับความผิด

  1. การพิจารณาโทษ ต้องสอดคล้อง กับกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่ถูกกล่าวหา

“พรรคก้าวไกลไม่มีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริง โต้แย้ง หรือนำพยานหลักฐานไปชี้แจงกับกกต. การยื่นคำร้องคดีนี้ขัดต่อระเบียบที่กกต. ตราขึ้นเอง และการยื่นคำร้องในครั้งนี้ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย 

คำวินิจฉัยของศาลรรัฐธรรมนูญเมื่อ 31 มกราคม 2567 (คดีล้มล้างการปกครอง)  หลายคนอาจจะคิดว่าข้อเท็จจริงได้รับการวินิจฉัยเป็นที่สุดแล้ว แต่กกต. ยังใช้คำวินิจฉัยในคดีวันที่ 31 มกราคม เป็นเพียงหลักฐานเดียวในการยื่นยุบพรรคในครั้งนี้ แล้วหวังว่าจะมีความผูกพันคดี ในการที่คดีหนึ่งจะผูกพันกับอีกคดีได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตาม 2 กรณีนี้เท่านั้น  1. เป็นข้อหาเดียวกัน ซึ่งในกรณีของเราต่างข้อหาก็เท่ากับต่างวัตถุประสงค์ 2. ถ้าระดับโทษใกล้เคียงกัน ก็อาจจะมาเทียบเคียงให้มีความผูกพันคดีได้ ซึ่งคดีเมื่อเดือนมกราคม ซึ่งโทษทั้ง 2 คดีนี้มีความแตกต่างกันมหาศาล มาตรฐานการพิสูจน์จึงเข้มข้นต่างกัน

ยกตัวอย่าง ในคดีแพ่งไม่ผูกพันคดีอาญา แม้จะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน เนื่องจากความเข้มข้นของมาตรการพิสูจน์คดีแพ่งต่ำกว่าคดีอาญา สำหรับคดียุคพรรคและตัดสิทธิการเมืองมีสภาพความรับผิดเทียบเท่าโทษอาญา สุดท้าย โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีอื่นแก้ไข ” อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกลระบุ

“พิธา”ยังได้ยกเคศกรณี ที่ส.ส.ก้าวไกล เคยเข้าชื่อกันเสนอแก้ไขประมวกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งที่หลายคน มองว่า จะเป็นเหตุผลที่ศาลรธน.อาจสั่งยุบพรรคก้าวไกล มาอธิบายด้วยว่า การเสนอแก้กฎหมายดังกล่าวฯ  สภาฯ ยังสามารถยับยั้งแก้ไขได้ ซึ่งหากการแก้ม.112 เข้าสภาได้และมีการอภิปรายในเรื่องนี้ ก็ยังสามารถยับยั้งแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นด้วยระบบนิติบัญญัติ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ ทั้งก่อนและหลังกฎหมายผ่านบังคับใช้จากสภา แสดงให้เห็นว่าระบบนิติบัญญัติสามารถยับยั้งได้ด้วยตนเอง

การยุบพรรคในระบบประชาธิปไตยมีได้ แต่ต้องเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ฉับพลัน ซึ่งหากปล่อยไปจะเสียหายไม่มีวิธีอื่นแก้ไขแต่ในกรณีของพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็นการสั่งชะลอจากกกต. ระบบนิติบัญญัติ และการกระทำที่ยังไม่เกิดขึ้น และเมื่อมีคำวินิจฉัยในเดือนมกราคม พรรคก้าวไกลก็หยุดการกระทำ ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการสุดท้ายในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหากมีการใช้ ก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายประชาธิปไตยเสียเอง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ”

แม้ท่าทีการแถลงข่าวของพิธา ดูจะแข็งกร้าว แต่ก็เห็นได้ว่า ไม่ได้ถึงกับพุ่งชน ศาลรธน.อย่างที่หลายฝ่าย คาดการณ์ไว้ ยังมีอารมณ์แบบ”หมอบๆ”คล้าย ขอความเป็น เมตตา เสียด้วยซ้ำ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?

ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

พ่อบงการ ลูกตามสั่ง

“พ่อบงการ ลูกตามสั่ง” ผ่าน “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” คงไม่เกินเลยความเป็นจริง เพราะเมื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ มีคำบัญชาผ่านเวทีต่างๆ รัฐบาลชุดนี้ก็สนองนโยบายทันที โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะขาดความน่าเชื่อถือ และยำเกรงต่อกฎหมายมิให้คนนอกเข้ามาครอบงำแต่อย่างใด”.

ทักษิณไฟสุมขอน ‘รทสช.’ เขย่าบัลลังก์ ‘พีระพัง’

“สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอตโตขับเคลื่อนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จนถึงปัจจุบัน จากพรรคน้องใหม่ตอนนี้ทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว โดยการนำของ “ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค กุมทัพ 36 สส.ในปัจจุบัน

“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง

ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา

'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ

นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส

“พ่อเลี้ยง”เปลี่ยนสนามรบเป็นทุน “ดับไฟใต้-สันติภาพเมียนมา”

“ฉายารัฐบาลพ่อเลี้ยง” นับเป็นภาพการเมืองในฝ่ายบริหารที่ “วิญญูชน” พึงประจักษ์ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยับตัวและคำพูดของ “ทักษิณ ชินวัตร” วิทยากร-นักวิชาการของพรรคเพื่อไทย