พท.ดึง “กัญชา” กลับยาเสพติด "กลบเกลื่อน" ผลงานไม่ตรงปก

รัฐบาลเศรษฐา 1/1 ชูธงนโยบายใหม่ปราบยาเสพติด ตั้งเป้าเปลี่ยนยาบ้าจาก 5 เม็ด เป็น 1 เม็ดเป็นผู้ค้า รวมถึงตีปี๊บดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติดหวังดึงคะแนนเสียงจากสังคม อย่างเช่น ยุครัฐบาลทักษิณ ที่ได้รับเสียงชื่นชมมาแล้ว  

แต่อีกด้านหนึ่งก็ถุูกวิจารณ์ว่า การดันเรื่องนี้เพื่อหวังกลบเกลื่อนกลบกระแสความล้มเหลวผลงานของรัฐบาลนี้ ที่ไม่มีผลงานเป็นชิ้นเป็นอัน ตั้งแต่ครบ 1 ปี หลังเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค.66 แถมถูกฝ่ายค้านด้อยค่าว่าเป็นนโยบายไม่ตรงปก 

 อาทิ ดิจิทัลวอลเล็ตแจกเงิน 1 หมื่น สภาพลูกผีลูกคน ถูกต่อต้านจากนักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงนิด้าโพลเคยเปิดผลสำรวจร้อยละ 34.66 ควรหยุดดำเนินการนโยบายนี้ได้แล้ว และร้อยละ 68.85 ไม่โกรธเลย หากนายกฯ จะยกเลิกนโยบายแจงหมื่น เว้นแต่พรรคร่วมรัฐบาลที่ยังสนับสนุน

รวมถึงการกินข้าว 10 ปี โชว์ในโครงการรับจำนำข้าว เพื่อนำไปขายต่างประเทศ ก็ถูกจับไต๋ว่ามีความพยายามรื้อฟื้นคดี หรือทำให้ดูเบาบางลง เพื่อช่วยนายหญิงเพื่อไทย ใช่หรือไม่  ส่วนแก้รัฐธรรมนูญ 60 ก็ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนอีกต่อไปของรัฐบาลเพื่อไทย   

ขณะที่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไม่คืบหน้า แถมยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นระบบ 2 มาตรฐาน เกิดวาทกรรมนักโทษเทวดาไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว

แตกต่างจากกรณี น.ส.เนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง ทะลุวัง ต้องสังเวยชีวิตตามอุดมการณ์ เนื่องจากอดข้าวประท้วงในเรือนจำ จากข้อเรียกร้องปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม สิทธิประกันตัวของผู้ต้องขังคดีการเมือง  

และก่อนการเลือกตั้ง “บุ้ง” และคณะ ก็เคยเลือกเดินทางไปพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมืองแรก เรียกร้องการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมอีกด้วย แต่ขณะนั้น “ทักษิณ” บอกว่า “อย่าทะลุวังเลย มาทะลุทำเนียบฯ เถอะ”  

จวบทุกวันนี้ข้อเรียกร้องยังไม่ได้ตอบสนองจากรัฐบาลเพื่อไทย แม้แต่พ่วงหรีดแสดงความเสียใจต่อนักเคลื่อนไหวทางการเมืองรายนี้ยังไม่เห็น รวมถึงนักโทษการเมืองก็ถูกจองจำ ก็อาจสุ่มเสี่ยงเดินตามโมเดลบุ้งใช่หรือไม่     

กลับมาเรื่องนโยบายยาเสพติดของรัฐบาลเพื่อไทย ในส่วนของยาบ้า 1 เม็ด ในแง่กระแสสังคมไม่มีใครขวาง หากทำสำเร็จฝ่ายการเมืองอาจได้หน้า แต่ฝ่ายปฏิบัติซวยหรือแสวงหาผลประโยชน์จากเรื่องนี้หรือไม่ โดยเฉพาะเปิดช่องให้มีการยัดยาหรือไม่ รวมถึงสถานที่คุมขังนักโทษจะเพียงพอหรือไม่ ฯลฯ

ส่วนการดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด ติดปัญหาตรงเป็นนโยบายเรือธงของพรรคร่วมรัฐบาล อย่าง พรรคภูมิใจไทย ที่ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ยึดหลักการว่า 1.การใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์ สุขภาพ และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ เป็นนโยบายรัฐบาล

2.กระทรวงสาธารณสุข ทุกกระทรวง และทุกหน่วยงาน ซึ่งเป็นกลไกของรัฐบาล ต้องมีส่วนร่วมดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลให้บรรลุผลสำเร็จ

3.พรรคภูมิใจไทยเสนอให้ออกกฎหมาย เป็นเครื่องมือทำให้นโยบายรัฐบาลประสบผลสำเร็จ และป้องกัน ควบคุม ลงโทษผู้กระทำความผิด

มีคำถามว่าเรื่องนี้จะสร้างความขัดแย้งภายในพรรคร่วมรัฐบาลหรือไม่ “อนุทิน” ยืนยันว่า ไม่มีหรอก เป็นเรื่องความคิดฐานข้อมูลไม่เท่ากัน ใครมีข้อมูลมากกว่าต้องทำให้เกิดความเข้าใจ จะนำกัญชาไปเป็นยาเสพติดหรือไม่ ถ้าอะไรที่เปลี่ยนแปลงจากประกาศปัจจุบัน ต้องเข้าคณะกรรมการยาเสพติดแห่งชาติตัดสิน เบื้องต้นขอให้กระทรวงสาธาณสุขไปทำงาน และนำเสนอข้อมูลถึงผลดี-ผลเสียของสายเขียวเสียก่อน   

สอดรับกับเครือข่ายเขียนอนาคตกัญชาไทย ให้รัฐบาลศึกษาผลกระทบจากกัญชาเทียบเคียงกับเหล้า บุหรี่ ว่ามีอะไรมีประโยชน์หรือโทษมากกว่ากัน พร้อมขู่ว่า หากยังมีการยืนยันกลับไปเป็นยาเสพติด ในวันที่ 9 มิถุนายน 2567 ซึ่งเป็นวันครบ 2 ปี ของการปลดล็อกกัญชา จะนัดชุมนุมใหญ่ที่ทำเนียบรัฐบาล ไม่นับเสียงจากผู้ลงทุน จะมีมาตรการเยียวยาหรือไม่จากนโยบายที่กลับไปกลับมา และอาจนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือในสายตาโลก 

ขณะที่ สมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.สาธารณสุข ที่รับเผือกร้อนนี้จากนายกฯ ต้องเร่งหาข้อมูลเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ส. ที่มี พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกฯ และ รมว.พลังงาน เป็นประธาน เพื่อดังกัญชากลับเป็นยาเสพติด โดยนายกฯ ให้เวลาทำงานถึงสิ้นปี 

เบื้องต้นจะหาข้อมูลถึงผลร้ายของกัญญาที่กระทบต่อสังคม และไม่ย้อนแย้งกับนโยบายของรัฐบาล ที่สนับสนุนเพื่อทางการแพทย์และ เศรษฐกิจ 

โดย “สมศักดิ์” ได้วางแนวทางจะให้กัญชาเป็น Soft Drug หรือยาเสพติดแบบอ่อน ผู้ที่ทำธุรกิจตรงนี้สามารถมาคุยกันได้ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ.2565 ที่ลงนามตั้งแต่วันที่ 8 ก.พ.2565 นั้น มีการกำหนดพืชหลายชนิดที่เป็น Soft Drug เช่น เห็ดขี้ควาย พืชฝิ่น 

 “ไม่ได้ห้ามเสียทั้งหมด แต่ที่จะทำในส่วนที่ป้องกันความเสียหายและอันตรายที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในส่วนต่างๆ เป็นแนวทางที่รัฐบาลกำหนด”  

จึงต้องดูว่าวิศวกรการเมืองสมศักดิ์ ที่มาคุมกระทรวงหมอจะมีข้อมูลใหม่ทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือมาหักล้างมติ ป.ป.ส. เดิมที่ตัวเอง เคยนั่งเป็นรัฐมนตรียุติธรรมและเห็นประโยชน์ของกัญชา จนมีมติปลดล็อกในรัฐบาลบิ๊กตู่ได้หรือไม่   

แต่หาก 2 ปีที่ผ่านมา ยังไม่พบโทษต่อสังคมอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอออกพระราชบัญญัติ เพื่อควบคุมการใช้เพื่อสันทนาการก็เป็นทางออก

  สอดรับกับอดีตรัฐมนตรีกระทรวงหมอ “ชลน่าน ศรีแก้ว” ที่พยายามมาผลักดันกฎหมายเพื่อเสนอต่อ ครม. แต่ถูกปลดจากตำแหน่งไปเสียก่อน. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แรงต้าน'เสี่ยโต้ง'คุมธปท.แรง ลือสลับไพ่เปลี่ยนตัวปธ.บอร์ด

การที่คณะกรรมการคัดเลือกประธานธนาคารแห่งประเทศและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ธปท. ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เลื่อนประชุมลงมติเลือก ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการ ธปท.ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 ตำแหน่ง จากวันที่ 4 พ.ย.ออกไปอีก 1 สัปดาห์เป็นวันจันทร์ที่ 11 พ.ย. วิเคราะห์ไว้ว่าอาจเกิดจาก 2 สาเหตุ

เอ็มโอยู44-เอื้อนายทุน จุดจบรัฐบาลไม่ครบเทอม

หากอ้างอิงข้อมูลจากนิด้าโพลเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา หัวข้อ รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ อยู่ครบเทอมหรือไม่ โดยประชาชนมากกว่า 57.71% มองว่าอยู่ไม่ครบเทอม ประกอบด้วยสัดส่วนร้อยละ

ระแวง-ระวัง “ประโยชน์ทับซ้อน” ถกขุมทรัพย์ไทย-กัมพูชาไปถึงไหน?

การเคลื่อนไหวต่อต้านบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนและแผนพลังงานเมื่อปี 2544 หรือ MOU44 และการปลุกกระแสการเสียเกาะกูดให้กัมพูชา ถ้ามีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาล 2 ชาติ

มท.1 เชื่อสอบ 'ปลัดอำเภอท่าอุเทน' ใช้เวลาไม่นาน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีที่ปลัดกระทรวงมหาดไทย