จีนส่ง2หน่วยเดินหน้าคุย หวังปิดเกม“เรือดำน้ำ”วิน-วิน

ค่อนข้างชัดเจนแล้วว่า เรือดำน้ำ S26T ที่กองทัพเรือไทยจ้างบริษัท CSOC ดำเนินการได้เดินหน้าต่อหลังจากที่ทางการของจีนส่งทีมของ “โบมีเทค” ( The Bureau of Military Equipment and Technology Cooperation (BOMETEC)  หน่วยงานรับรองการขายอาวุธที่มีใช้ในกองทัพจีนให้กับต่างประเทศ   และ  “ซัสติน”The State administration of Science, Technology and Industry for national Defense(SASTIND)  เป็นหน่วยงานรับรองบริษัทที่ขายอาวุธให้ต่างประเทศ  ซึ่งทั้งสองหน่วยงานถือเป็นหน่วยงานรัฐของจีนที่มีความสำคัญ รวมถึงตัวแทนของบริษัท CS0C บริษัทสร้างทำเรือดำน้ำด้วย

จากขั้นตอน ที่กองทัพเรือได้ยืนยันการเปลี่ยนเครื่องยนต์ MTU 396 มาเป็น CHD620 ไม่ได้สูญเสียคุณค่าทางยุทธการ  และมีการส่งเรื่องให้ที่ปรึกษากฎหมายของรัฐทั้งอัยการสูงสุด คณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ตีความเรื่องการเปลี่ยนแปลงสัญญา การขยายเวลาโครงการอีก 4 ปี และ ครม.การอนุมัติให้ รมว.กลาโหม รวมถึง ผบ.ทร.ไปดำเนินการ ซึ่งผลที่ออกมาไม่ได้มัดคอให้รัฐบาลต้องออกเป็นมติ  แต่ให้ทร.ตัดสินใจได้เองเพราะเป็นเรื่องเทคนิคที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องจะพิจารณาได้ การอนุมัติลงนามในสัญญาจึงอยู่ที่ ผบ.ทร. โดย ครม.มอบอำนาจ

แต่ประเด็นปัญหาที่ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่ คือ มาตรฐานและความปลอดภัยของเครื่องยนต์จีนที่ยังไม่เคยมีใช้กับเรือดำน้ำใดๆ ในโลก  ซึ่ง ไทย และ ปากีสถาน เป็นสองประเทศแรก  จึงเป็นเหมือน “หนูทดลอง” ส่วนประเด็นที่สอง คือ  การที่ไม่มีเครื่องยนต์เยอรมันมาติดตั้ง ถือเป็นความผิดพลาดของบริษัท ที่ทำให้ ทร.ไทยเสียโอกาส จึงต้องชดเชยค่าเสียหายอย่างคุ้มค่า

 หัวข้อดังกล่าว จึงเป็นประเด็นที่คณะทำงานของ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา ที่ปรึกษา รมว.กลาโหม รับไม้ต่อจาก “ทริปเร่งด่วน” เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ของ นาย สุทิน คลังแสง  รมว.กลาโหม  พล.ร.อ.อะดุง พันธ์เอี่ยม ผบ.ทร. นายจักรพงษ์ แสงมณี รมช.ต่างประเทศ  เดินทางไปจีนอย่างเร่งด่วน โดยมีรายงานว่ามี “คนกลาง” เป็นมือประสานให้คุยให้ และที่ต้องโฟกัสคือตัวของ “จักรพงษ์”อดีตนักธุรกิจด้านโลจิสติก เคยมีตำแหน่งเป็นนายทะเบียนและเหรัญญิกพรรคเพื่อไทย รวมถึง การปรับ ครม.ครั้งนี้ ถูกดึงมานั่งในตำแหน่ง รมต.สำนักนายกฯ  กำกับดูแลสำนักงบฯ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล กลไกขับเคลื่อนองคาพยพทางการเมือง

จากคำให้สัมภาษณ์ของ “สุทิน” ทำให้เห็นว่า  เมื่อรัฐบาลลงมาร่วมวงเรือดำน้ำ S26Tแล้ว  ทำให้การเจรจาถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือส่วนของกองทัพเรือ ได้รับการขยายรับประกันจาก 2 ปี เป็น 8ปี  การเพิ่มชิ้นส่วน อะไหล่  อาวุธ การฝึกศึกษา ซึ่งอยู่ในส่วนเตรียมของ เตรียมคน ซึ่งบริษัท CSOC ชดเชยให้ได้  ส่วนข้อเรียกร้องที่มากกว่านั้น จึงเป็นเรื่องของ BOMETECH กับ SASTIND เป็นคนมาคุย และ ตัดสินใจว่าจะให้ได้แค่ไหน

โดยเฉพาะออฟชั่น เรื่องเรือดำน้ำมือสอง  ที่ ทร.มีความต้องการมาใช้ฝึกเพื่อเตรียมความพร้อม จะมีค่าใช้จ่ายแค่ไหนในการปรับคืนสภาพพร้อมใช้งาน และโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั้งหมดใครจะรับผิดชอบ รวมไปถึงระบบที่สมบูรณ์สำหรับการปฏิบัติการ ที่ต้องมีความปลอดภัยสูงสุด หรืออีกทางคือ การเปิดทางเลือกให้กำลังพลไปฝึกกับเรือดำน้ำจริงของกองเรือดำน้ำจีนเพื่อเตรียมความพร้อม 1-2ปี ก่อนที่จะรับ S26T ซึ่งคาดว่าระยะเวลาของโครงการอาจต้องขยายไปถึงกลางปี 2571 หากเริ่มเดินเครื่องต่อเรือได้ในช่วงปลายปี 68 หรือ ต้นปี 2569

กับอีกส่วนของรัฐบาล  ที่ต้องการชดเชยค่าเสียโอกาสให้กับรัฐ ในรูปของผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็น offset policy ตามการเรียกร้องของสังคม   แต่ที่ต้อง “เงี่ยหูฟัง” เมื่อ “สุทิน” บอกนักข่าวว่าจะมีตัวแทนของกระทรวงพาณิชย์เข้าไปเจรจาด้วย และ เป็นแนวคิดที่น่าสนใจในการเจรจาขายข้าว10ปีเข้าไปด้วย ด้วยการใช้ “บาร์เตอร์เทรด” และหากผลการเจรจา ทางจีนยอมรับและให้ราคาดีกว่าขายให้กับทางแอฟริกาก็ยิ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกินคาด เพราะจีนคงมองในเชิงภาพรวมที่จะได้รับ ส่วนผลิตภัณฑ์คงนำไปแปรรูป ไม่ได้นำไปให้คนบริโภค  หรืออาจจะขยายไปสู่ข้อเจรจาไปสู่การรับซื้อสินค้าเกษตร ผลไม้อื่นๆ

ถ้าเกมออกมาในรูปนี้ ก็เชื่อว่ารัฐบาลเองย่อมพึงพอใจ สามารถนำไปตีปี๊ปเรื่องขายข้าวได้ราคา และ รักษามาตรฐานคุณภาพข้าวส่งออกเพื่อการบริโภคไว้ได้ และสุดท้ายคือเข้าล็อคพรมแดงปูให้ “นายหญิง”กลับบ้านแบบสวยๆ 

ขณะที่จีนเองนั้น มองว่าการขายเรือดำน้ำให้ไทยได้เป็นผลสำเร็จถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ทำให้การส่งออกเรือดำน้ำจีนสร้างความมั่นใจให้กับประเทศโลกที่สาม 

อีกทั้งการฝึกเรือดำน้ำ ทร.ไทยก็จะได้รับหลักนิยมจากจีน  เพราะในช่วงหลัง ทร.ไทยได้รับยุทโธปกรณ์จากจีนเข้าประจำการอยู่หลายรายการ เช่น เรือชุดตากสิน นเรศวร  อยู่แล้ว

ที่สำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ จีนต้องการมีฐานทัพ ท่าเรือฝั่งอันดามัน เพื่อคุ้มครองเส้นทางคมนาคมจากตะวันออกกลาง ช่องแคบมะละกา ซึ่งปัจจุบันจีนมีฐานทัพท่าเรือที่ประเทศจีบูติ เส้นทางที่ออกมาจากคลองสุเอช เข้ามหาสมุทรอินเดีย และอีกสองประเทศคือ ปากีสถาน และบังคลาเทศ  เพื่อถ่วงดุลสหรัฐฯ ที่มีท่าเรือ ฐานทัพในหลายประเทศ   การที่ไทยมีเรือดำน้ำจีนในย่านนี้ ยังทำให้การประเทศฝ่ายตรงข้ามต้องพิสูจน์ทราบก่อนว่าเป็น เรือดำน้ำของไทย จีน หรือ ปากีสถาน ไม่ใช่ของจีนเพียงอย่างเดียว

แต่ถ้าจะให้มโนถึงฉากทัศน์ และ ไทม์ไลน์ในการพา “ยิ่งลักษณ์”กลับบ้านที่มีกระแสข่าวว่าเป็นช่วงเดือนตุลาคมก็จะยิ่งสดใสมากขึ้น หากวาทกรรมข้าวเน่าถูกล้างออกจากสารบบด้วยปมเรือดำน้ำ  หรือถ้าจีนไม่เอาก็ยังมีตัวเลือกอื่นใน การใช้“บาร์เตอร์เทรด” แลกเปลี่ยนสินค้าเกษตรอื่น

แต่ก็จะประจวบเหมาะกับช่วงของการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารพอดี  และเมื่อทุกอย่างลงตัว “โผ ทร.”ก็จะไหลลื่นไม่มีสะดุด

รูดม่านปิดฉากทุกมหากาพย์แบบ วิน-วิน 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ปริศนา'เรือดำน้ำ' เปิด5ประเด็นสะดุด'ตอ'

ทริปเร่งด่วน ที่ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหม นำทีม พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ จักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสายตรงของ “นายกฯ" และ “ชินวัตร” บินไปจีนเมื่อช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่ ทร.ไทยจ้างบริษัทของจีนสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา

‘สภาสูง’ในเงื้อมมือค่ายน้ำเงิน ส่องภารกิจเลือก‘องค์กรอิสระ’

ภารกิจ 200 สว. แสดงตนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มารายงานตัวครบจบไม่ขาดไม่เกิน แต่สวนทางกับความอลหม่านที่กลุ่มต่างๆ ภายในสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ด้วยกันเอง