เปิดแผนก้าวไกล ยื้อปิดคดี โหมปั่นกระแส ยิ่งยุบยิ่งโต

แพลมให้เห็น แนวทางการสู้คดี ของพรรคก้าวไกลในคำร้องคดี ยุบพรรคก้าวไกล ออกมาให้เห็นแล้ว

เทคนิคแรกที่พรรคก้าวไกล ใช้ก็คือการ ต่อเวลา การสู้คดีออกไปให้นานที่สุด อันเป็นท่าทีซึ่งมาจากคำให้สัมภาษณ์ของ 2 แกนนำก้าวไกลในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาคือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์, ชัยธวัช ตุลาธน ที่สรุปได้ว่าก้าวไกลจะงัด 2 กระบวนท่ามาใช้ 

1.ขอขยายเวลาในการยื่นเอกสารคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา

ซึ่งหากพรรคก้าวไกลใช้สิทธิ์ตรงนี้อย่างเต็มที่และศาลอนุญาตตามที่ร้องขอ อาจทำให้สามารถขยายเวลาการสู้คดี ออกไปได้ถึง 60 วัน หรือ 2 เดือน

เพราะอย่างก่อนหน้านี้ ในการสู้คดีหุ้นสื่อไอทีวีของพิธา พบว่าพิธายื่นขอขยายเวลาในการส่งเอกสารคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา จากที่ศาลให้เวลา 15 วัน โดยพิธาขอขยายเวลาถึง 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วัน รวมเป็น 60 วัน

      อันปรากฏในเอกสารอย่างเป็นทางการของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 24 มกราคม 2567

“ผู้ถูกร้อง (พิธา) ยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 ขอขยายระยะเวลาการยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2566 และคำร้องฉบับลงวันที่ 21 สิงหาคม 2566 ขอขยายระยะเวลายื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ครั้งที่ 2 ออกไปอีก 30 วัน นับถัดจากวันครบกำหนดขยายระยะเวลาครั้งแรก ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอ”

ดังนั้นถ้าพรรคก้าวไกลขอขยายเวลาถึง 60 วัน และศาลอนุญาตตามที่ร้องขอ

 ก็จะทำให้ที่หลายคนเคยประเมินว่า คดียุบพรรคก้าวไกลจะจบเร็ว สุดท้ายอาจยื้อไปพอสมควร แต่หากพรรคก้าวไกลขอขยายเวลาแค่ 1-2 รอบ แต่ไม่เกิน 30 วัน หากเป็นแบบนี้คดีก็จบเร็ว

แต่ก็อยู่ที่ศาลด้วยว่าจะเอาด้วยหรือไม่ เพราะหากศาลให้ขยายเวลาได้เต็มที่ไม่เกิน 15 วัน เพราะมองว่าคดีดังกล่าวรูปคดีไม่ซับซ้อน สามารถวินิจฉัยได้เร็ว แบบนี้คดีก็จะยิ่งจบเร็วขึ้นไปอีก แต่หากออกมาแบบนี้ จะไปเข้าทางให้ก้าวไกลออกมาโวยวายว่า ศาลไม่ให้ความเป็นธรรม เร่งรีบปิดคดียุบพรรคก้าวไกล ก็จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญถูกดิสเครดิต

รอดูกันว่าก้าวไกลจะเดินเกมนี้อย่างไร แต่เชื่อว่าจะทำทุกอย่างเพื่อยื้อเวลาการวินิจฉัยคดีออกไปให้นานที่สุด เพื่อให้พรรคตั้งหลักในการสู้คดี และเตรียมพร้อมหากมีการยุบพรรคเกิดขึ้น  

2.เรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญเปิดห้องพิจารณาคดีไต่สวนคำร้อง

โดยประเด็นนี้เห็นได้ชัดเจนจากท่าทีของพิธาที่ให้สัมภาษณ์ไว้ล่าสุดว่า

พรรคก้าวไกลจะขอสิทธิ์ในการไต่สวน เพื่อจะได้ต่อสู้ทางคดีอย่างเหมาะสม เพราะเรื่องนี้โทษหนักกว่าคราวที่แล้ว (คดีล้มล้างการปกครอง) คราวที่แล้วมีเอาไว้เพียงแค่ปรามป้องกัน เรายังมีสิทธิ์ได้ไต่สวน แต่คราวนี้มันถึงกระทั่งยุบพรรค ประหารชีวิตการเมือง มันจะได้หมดข้อครหา"

ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า หากศาลเปิดห้องพิจารณาคดี เพื่อเรียกผู้ร้อง-ผู้ถูกร้อง-พยานบุคคลมาให้ถ้อยคำต่อศาล จะทำให้การวินิจฉัยคดีขยับเวลาออกไปร่วมๆ 15-20 วัน ที่ก็จะยิ่งเป็นการต่อลมหายใจให้พรรคก้าวไกลมากขึ้น  

และนอกจาก 2 แท็กติกข้างต้นของพรรคก้าวไกลในการสู้คดียุบพรรค ที่ก็เป็นสิทธิ์ของพรรคที่สามารถทำได้ พบอีกว่าก้าวไกล จะใช้วิธีการ

"เปิดแถลงข่าวการสู้คดีต่อสาธารณะ"

ที่ก็คาดว่าคงจะเป็นการนำประเด็นที่ปรากฏในเอกสาร คำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา ที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญออกมาเปิดแถลงอย่างเป็นทางการ ไม่ใช่แค่เผยแพร่ในเพจพรรคก้าวไกลแบบที่เคยทำตอนคดีล้มล้างการปกครอง

ซึ่งมันก็คือหนึ่งในแผนสู้คดีของก้าวไกล ที่จะเลือกเอาประเด็นที่ยื่นต่อศาลมาสรุปให้คนเห็นเข้าใจง่ายๆ ในทางที่เป็นคุณกับฝั่งตัวเอง

เช่น บอกว่า สส.มีอำนาจในการเสนอร่างกฎหมายเข้าสภาฯ ดังนั้นการที่ สส.ก้าวไกลสมัยที่แล้วเสนอร่างแก้ไข 112 จึงเป็นสิทธิ์ที่ทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แล้วก็สร้างกระแสว่า

 “ก้าวไกลไม่ได้ล้มล้างการปกครอง จะมายุบพรรคก้าวไกลได้อย่างไร

ที่ก็คือการหวังเปลี่ยนเกม ของก้าวไกล จากตั้งรับให้กลายเป็นฝ่ายรุก ในพื้นที่สาธารณะ โดยที่ กกต.ในฐานะผู้ร้อง และศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะตัดสินคดีที่เป็นองค์กรรัฐ ไม่สามารถทำแบบที่ก้าวไกลทำได้ จึงทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ตั้งรับ

ก็เหมือนกับที่ตอนนี้แกนนำก้าวไกลเร่งโหมสร้างกระแส ก้าวไกล ยิ่งยุบ ยิ่งโต อย่างที่พิธาออกมาพูดเรื่องนี้ 2 รอบติดๆ กัน 

ทั้งการอภิปรายกลางดึกเมื่อ 4 เมษายนที่ผ่านมา ระหว่างการประชุมสภาฯ เพื่ออภิปรายรัฐบาลแบบไม่ลงมติ ที่พิธาระบุว่า “ยิ่งยุบ ยิ่งทำให้เราไปถึงเส้นชัยได้เร็วมากขึ้น

และตอกย้ำอีกรอบ เมื่อ 6 เมษายน

มันเป็นการติดเทอร์โบ ทำให้พรรคที่ถูกยุบได้แต้มต่อทางการเมืองในการเลือกตั้งครั้งหน้า”

นับหนึ่งคดียุบพรรคก้าวไกลยังร้อนแรงขนาดนี้ ถ้าไปถึงช่วง ใกล้วันตัดสินคดีเมื่อไหร่ ไม่อยากจะคิด จะระอุขนาดไหน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แรงต้าน'เสี่ยโต้ง'คุมธปท.แรง ลือสลับไพ่เปลี่ยนตัวปธ.บอร์ด

การที่คณะกรรมการคัดเลือกประธานธนาคารแห่งประเทศและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ธปท. ที่มีนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อดีตปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เลื่อนประชุมลงมติเลือก ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย และกรรมการ ธปท.ผู้ทรงคุณวุฒิอีก 2 ตำแหน่ง จากวันที่ 4 พ.ย.ออกไปอีก 1 สัปดาห์เป็นวันจันทร์ที่ 11 พ.ย. วิเคราะห์ไว้ว่าอาจเกิดจาก 2 สาเหตุ

'ไพบูลย์' เบรกหัวทิ่มมือกฎหมายเพื่อไทย  คลอดประชามติ 2 ครั้ง

“ไพบูลย์” โต้ ”ชูศักดิ์“ ใช้คำวินิจฉัยส่วนตน 6 ตุลาการอ้างทําประชามติ 2 ครั้งไม่ได้ บอก ต้องยึดคําวิฉัยกลาง ชี้มีแค่แก้รายมาตราเท่านั้นไม่ต้องทำ

เอ็มโอยู44-เอื้อนายทุน จุดจบรัฐบาลไม่ครบเทอม

หากอ้างอิงข้อมูลจากนิด้าโพลเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา หัวข้อ รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ อยู่ครบเทอมหรือไม่ โดยประชาชนมากกว่า 57.71% มองว่าอยู่ไม่ครบเทอม ประกอบด้วยสัดส่วนร้อยละ

ระแวง-ระวัง “ประโยชน์ทับซ้อน” ถกขุมทรัพย์ไทย-กัมพูชาไปถึงไหน?

การเคลื่อนไหวต่อต้านบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อแก้ไขปัญหาเขตแดนและแผนพลังงานเมื่อปี 2544 หรือ MOU44 และการปลุกกระแสการเสียเกาะกูดให้กัมพูชา ถ้ามีการเจรจาผลประโยชน์ระหว่างรัฐบาล 2 ชาติ

วัฒนาแห้ว! ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง

'วัฒนา' แห้ว 'ศาล รธน.' มติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง ปมขอให้ชี้ขาดคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ