ร้องเพลงคนละคีย์กับรัฐบาล เสี่ยงกินแห้วแทน”มาม่า”

จากบทเรียนของกกองทัพเรือ  (ทร.)ในการจัดหาโครงการเรือดำน้ำ S26T ของจีน เพราะปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เยอรมันที่ไม่สามารถหามาติดตั้งใน S26T ได้ตามสัญญา และยังต้องฝ่ากระแสวิพากย์วิจารณ์เรื่องคุณภาพ และมาตรฐานของเรือจีนอย่างยากลำบาก

 และที่สำคัญยังมีปัจจัย“ การเมือง” มาเป็นส่วนชี้ขาดว่าโครงการจะเดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ ซึ่งช่วงตั้งโครงการ อำนาจและบารมี “บ้านป่ารอยต่อฯ “ กำลังเฟื่องฟู  ทำให้มวลหมู่ “ทหาร -ตำรวจ”ตบเท้าเข้าหาไม่เว้นแต่ละวัน เพราะ “บิ๊กป้อม”พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ นั่งเป็น รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง ควบ รมว. กลาโหม คุมอย่างเบ็ดเสร็จสามารถสั่งซ้ายหันขวาหันได้

ทร.ต้องยอมถอยร่นเลือกทางที่ไปได้มากที่สุด แต่อาจไม่ดีที่สุดในตัวเลือก ทั้งนี้ ก็เพื่อให้มีโอกาสได้เริ่มนับหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพกำลังรบมิติใต้น้ำตามยุทธศาสตร์สมุทานุภาพ แต่นั่นก็ต้องแลกกับ “ ความรุงรัง” จากปัญหาที่ตามมา และ ผบ.ทร.ในอดีตในช่วงที่เกิดปัญหายังแขวนปมปัญหาไว้ ยังไม่ได้สะสาง ซึ่ง ผบ.ทร.ในช่วงหลังก็มีอายุราชการแค่ปีเดียวเท่านั้น

 พอมาในยุค พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ เป็นผู้บัญชาการทหาร  มองว่าถ้าไม่ตัดสินใจเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ ก็จะไม่ทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ และจะกระทบต่อการจัดทำแผนอื่นๆด้วย  พร้อมเริ่มมองการแก้ไขปัญหาในระยะยาว มีการจัดทำสมุดปกขาวเปิดเผยความต้องการยุทโธปกรณ์เพื่อเสริมเขี้ยวเล็บ ทร. เพื่อสร้างความเข้าใจต่อประชาชน และทุกภาคส่วน เหมือนเช่นที่ กองทัพอากาศ(ทอ.)ดำเนินการแล้ว และมีเสียงตอบรับด้านบวกจากฝ่ายการเมืองทั้งฝ่ายค้าน และ รัฐบาล

แต่ผลลัพธ์สุดท้ายปลายทางกลับมีความแตกต่าง ทร. ที่แม้จะมีการปรับตัว และมองไปที่คุณภาพในการจัดหายุทโธปกรณ์ที่ใช้ได้ในระยะยาว มีความต่อเนื่องในเรื่องการส่งกำลังบำรุง ในขณะเดียวกัน ก็พยายามเดินตามนโยบายเรื่องผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เหมือนเช่นที่เสนอโครงการฟริเกตสมรรถนะสูง ในงบฯ 67แต่กลับถูกโหวตคว่ำในชั้นคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ในขั้นของการอุทธรณ์ ด้วยคะแนนเสียงข้างมากที่มาจากพรรคเพื่อไทย ทั้งที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของเหล่าทัพก็สังกัดพรรคเพื่อไทยเช่นกัน

โดย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกคณะกรรมาธิการฯ ให้เหตุผลว่า การชี้แจงเพื่อขออุทธรณ์ของ ทร.ยังมีแค่ชื่อ 5 บริษัท ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าจะซื้อจากประเทศไหน จึงให้ไปทำการบ้านมาเพิ่ม และต้องนำเสนอให้ได้ว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนอย่างไร

ซึ่งจุดนี้แตกต่างจากกองทัพอากาศ ที่ ผบ.ทอ. ไปชี้แจงทุกเวทีว่า คณะกรรมการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่ จะชี้ลงไปเลยว่า มีความต้องการเครื่องบินรุ่นไหน  มีการลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจอย่างไร ไม่ใช่แค่ การระบุวงเงินและบริษัทที่อยู่ในข่ายการคัดเลือกเท่านั้น

ยังไม่นับเฮริลคอปเตอร์ของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศร.ชล )วงเงิน 1,500ล้านบาท ที่ กมธ.โหวตคว่ำเพราะถูกมองว่า ศร.ชล เป็นหน่วยอำนวยการ ประสานงาน ไม่ใช่หน่วยปฏิบัติการ  จึงเห็นว่าไม่มีความจำเป็น

แต่ในที่สุดทร.ต้องคงต้องถอย เพื่อแลกกับการเดินหน้าเรือดำน้ำ S26T เผือกร้อน” อีกโครงการที่รัฐบาลต้องมาลง “เรือลำเดียวกัน”ในการเห็นชอบ เปลี่ยนแปลงแก้ไขเปลี่สัญญาเรื่องเครื่องยนต์ ถ้าในกรณีที่เห็นตรงกันว่าจะเปลี่ยนเป็นเครื่องยนต์จีน เพราถือเป็นสาระสำคัญของสัญญา แต่นั่นก็ไม่ได้มีผลกระทบมากนักต่อเป้าหมายต่อการตัดเงินเข้าสู่งบกลางปี67 เพราะเป็นโครงการเก่าที่ผูกพันงบฯ เลยมาครึ่งทางแล้ว อีกทั้งน่าจะเรื่มได้ในงบฯปี68 หรือ 69

ภาพรวมทั้งหมด จึงเป็นไปได้มากที่จะมี “ใบสั่ง”ในการตัดเงินก้อนใหญ่ที่เป็นโครงการซื้ออาวุธ มากองไว้ที่ “งบกลาง” เพื่อนำไปใช้ในโครงการที่เคยหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ไม่ต่างจากยุค” ทักษิณ ชินวัตร” ที่แช่แข็งงบฯ ซื้ออาวุธกองทัพ แล้ว

โดยในรัฐบาลตอนนั้นนำเงินไปใช้ในโครงการประชานิยมอย่างสุดขั้ว  ทำให้กองทัพอยู่ในสภาพ “บักโกรก” จนทำให้หลังรัฐประหาร 2549 มีการจัดหาอาวุธเข้าประจำการแบบ กระหน่ำซัมเมอร์เซลล์ เป็นภาวะที่ขาดความสมดุลระหว่างฝ่ายความมั่นคง กับ การเมือง มาตั้งแต่ตอนนั้น

ยังมีอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่แสดงให้ว่าว่าพลัง “การเมือง” มีปัจจัยสูงยิ่ง  นั่นก็คือ โครงการจัดหาเรือดำน้ำแบบ U-206Aมือสองจากเยอรมัน 6ลำไม่ผ่านความเห็นชอบจากกระทรวงกลาโหม  รัฐบาล”ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”เมื่อปี2555 ยอมเปลี่ยนแปลงรายการงบประมาณให้ ทร.ไปซื้อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง 2 ลำ ซึ่งเป็นที่มาของการที่ ทร.ได้ลงนามในการผลิตเรือลำแรกกับบริษัท แดวู ชิปบิลดิ้ง แอนด์ มารีน เอ็นจิเนียริ่ง สำเร็จ จนเป็นที่มาของ รล. ภูมิพลมาถึงปัจจุบัน

ย้อนกลับไปเปรียบเทียบกับงบประมาณการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ดับเพลิงของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)วงเงิน 950 ล้านบาทใน งบฯปี 2567 ซึ่งถูกเบรคในชั้นอนุกรรมาธิการ แต่สุดท้ายคณะกรรมาธิการฯ งบกลับมีมติอนุมัติให้ โดยบอกว่า มีการส่งสเปค และลงลึกในรายละเอียดมาให้ กมธ. รับทราบ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า “ฝ่ายการเมือง” เดินสายล็อบบี้ให้พรรคร่วมหนุนโครงการนี้ โดยมี “อนุทิน ชาญวีรกูร” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กำกับดูแล ปภ. ออกแรงไปพูดคุยด้วยตัวเอง กลายเป็นกองหนุนสำคัญในการให้การอุทธรณ์สำเร็จ

แน่นอนว่าเหตุผลคือความจำเป็นของหน่วยงานที่ต้องการใช้ยุทโธปกรณ์นั้นเพื่อปฏิบัติงาน แต่ข้อมุลของฝ่ายการเมืองที่จะได้รับ จะเป็นปัจจัยชี้ขาด ซึ่งแหล่งข้อมูลนั้นก็มีทั้งที่แสวงหา และ วิ่งเข้าหา  ที่มาจากทั้งในประเทศคือ นายหน้าค้าอาวุธ ล็อบบี้ยิสต์ และนอกประเทศ คือการต่อสู้ของมหาอำนาจเพื่อปักธงในภูมิภาคนี้

ปรากฏการณ์กรณีเรือฟริเกตจึงดูเหมือนจะสวนทางกับภาพความแนบแน่นระหว่าง” รัฐบาล” กับ” กองทัพ”จับมือกันแน่น เพราะมีศัตรูทางการเมืองเดียวกัน  ดูได้จากการที่ นายกฯ ที่เรียก ผบ. เหล่าทัพ สอบถามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาแต่ละเรื่อง และสั่งการโดยตรง หรือการที่”สุทิน คลังแสง” รมว. กลาโหม มีความใกล้ชิดกับ ผบ.เหล่าทัพ แม้กระทั่งในวันเกิดครบรอบ 63 ปี ก็ตบเท้าเข้าอวยพรชื่นมื่น

มีการคืนที่ดินทหารให้รัฐบาลนำไปให้ประชาชน และส่วนรวมได้ใช้ประโยชน์ การคืนการบริหารไฟฟ้าสัตหีบให้กับหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบ การรับคำสั่งตรงจากรัฐบาลไปแก้ไขปัญหาเร่งด่วนในแต่ละพื้นที่

หรือแม้กระทั่ง ทร. ที่นอบน้อมพร้อมสนองนโยบายรัฐบาลทุกอย่าง ยอมเฉือนงบหลายส่วนเพื่อมาใช้ในการตั้งงบฯ ปีแรกเพื่อซื้อเรือฟริเกต 1,700  พันล้าน ถึงขนาดที่พล.ร.อ. อะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ ไปพูดในเวทีคณะกรรมาธิการวิสามัญงบฯ ยอมให้ กมธ.ฝ่ายค้านรุมยำในวันที่เหล่าทัพไปชี้แจงวันแรก แต่เจ้าตัวก็พยายามอธิบานเหตุผล ถึงกับหลุดประโยคเรียกร้องความเห็นใจว่า “ยอมกินมาม่า เพื่อให้ทร.ได้ใช้ของดีๆ”

แต่ก็ป่วยการถ้า”การเมือง”ไม่เห็นด้วย และเอนเอียงไปในทางกองหนุนที่วิ่งเต้นเข้าหา  อีกทั้งทาง ทร. ก็อาจไม่ได้กินมาม่า แต่ได้กินแห้วแทนในที่สุด

ยกเว้นประสานเสียงคีย์เดียวกับรัฐบาลเพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้ แต่ก็ต้องเสี่ยงกับเหตุการประวัติศาสตร์ซ้ำรอย ส่งผลให้คนรุ่นหลังมาตามล้างตามเช็ดกันไม่จบไม่สิ้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คดีฉ้อโกงพุ่งรายวัน จนท.รัฐอืด! เปิดหลุมเหลือบเรียกรับผลประโยชน์

หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนรัฐบาลคือ “เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม อาชญากรรมออนไลน์ มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์รับมือกับอาชญากรรมออนไลน์อย่างรวดเร็ว

ปักหมุด‘ครม.สัญจร’เชียงใหม่ กู้ศก.-ฟื้นท่องเที่ยวหลังภัยพิบัติ

ประเดิมนัดแรก “ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่” หรือ “ครม.สัญจร” ของรัฐบาล “นายกฯ อิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดตระกูลชินวัตร

ตั้งแท่นงบฯเรือฟริเกตทร. จับตาเกมเตะถ่วง"เรือดำน้ำ"

แม้กระแสข่าวเล็กๆ ที่สร้างความชุ่มชื่นหัวใจให้กับกองทัพเรือ (ทร.) ว่ารัฐบาลอาจจะไฟเขียวเดินหน้า “เรือดำน้ำจีน” ต่อไป หลังจาก “อ้วน” ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม

ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์

ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49