“นารี” มา “เศรษฐา” ไป

นารีขี่ม้าขาว หรือฉายาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ จากตระกูลชินวัตร เพิ่งถูกตัดสินยกฟ้อง 9 ต่อ 0 เสียง จากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ฟ้องละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ  กรณีจัดจ้างโครงการโรดโชว์ สร้างอนาคตประเทศไทย วงเงิน 240 ล้านบาท เมื่อวันที่ 4 มี.ค.2567 

ก่อนหน้านี้ศาลฎีกาเพิ่งยกฟ้องกรณีอัยการยื่นฟ้องปมโยกย้าย ถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปเมื่อวันที่ 26 ธ.ค.2566 

จึงต้องตรวจสอบว่า 2 คดีข้างต้น โจทก์คือ ป.ป.ช. (โรดโชว์) และอัยการ (โยกย้ายถวิล) จะยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาภายใน 30 วันหรือไม่ 

 แต่หากไม่ยื่นอุทธรณ์ก็ต้องตอบสังคมให้ได้ว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังหรือไม่ โดยเฉพาะ ป.ป.ช. ที่ก่อนหน้านี้ก็ลุยฟ้องคดีโรดโชว์ด้วยตัวเองมาแล้ว แม้อัยการจะไม่เห็นด้วยก็ตาม     

อย่างไรก็ตาม สุดท้ายไม่อุทธรณ์ และทำให้ 2 คดีดังกล่าวสิ้นสุด จะทำให้ อดีตนายกฯ หญิง เหลือชนักติดหลังเพียงคดีรับจำนำข้าว มีความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ถูกศาลฎีกาตัดสินจำคุก 5 ปี เมื่อวันที่ 27 ก.ย.2560  

แม้คดียังค้างอยู่ ฝั่งระบอบทักษิณ ทั้งคนในครอบครัว และลิ่วล้อในพรรคเพื่อไทย ก็ส่งเสียงเชียร์ให้ ยิ่งลักษณ์ กลับเมืองไทยตามรอยพี่ชาย ทักษิณ ชินวัตร

"อุ๊งอ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ยอมรับว่าพูดคุยกันแบบครอบครัว "ถ้าจะได้กลับจริงๆ ก็อยากจะช่วยเลี้ยงหลาน ตนก็บอกว่าได้เลย เพราะของเล่นที่คุณยายปูซื้อให้หลานก็มีเยอะ คุณยายปูชอบซื้อของเล่นให้หลาน หลานก็จะแฮปปี้ทุกคน ก็มีแซวแค่เรื่องนี้ ไม่มีอะไรจริงจัง"  ส่วนจะกลับเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรม เธอบอกว่า ยังไม่ได้มีการคุยกัน

ขณะที่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม กล่าวถึงการจับตาเรื่องการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า ยังไม่ได้มีการยื่นขอพระราชทานอภัยโทษรายบุคคล ทั้งนี้ การขออภัยโทษรายบุคคล สามารถดำเนินการโดยตรงได้เลย แต่ส่วนใหญ่แล้วก็จะต้องมีการส่งเรื่องมาที่กระทรวงยุติธรรม

ทั้งนี้ หากยิ่งลักษณ์จะกลับบ้านจริงตามโมเดลทักษิณ ต้องเริ่มต้น 1.ต้องกลับเข้ามาประเทศไทย 2.มอบตัวเป็นนักโทษแล้วถึงจะถวายฎีกาได้ และต้องยอมรับผิดในการกระทำด้วย  

"ถ้ายังไม่รับโทษยังไม่สามารถถวายฎีกาได้ ไม่เรียกว่าฎีกา สำหรับฎีกา คือสิ่งที่นักโทษเด็ดขาดเป็นผู้ถวายขึ้นไป ส่วนจะโปรดเกล้าฯ หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับพระมหากรุณา" นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกฯ เคยกล่าวแนวทางเรื่องดังกล่าวไว้เช่นนี้   

กลับมาที่บรรดาลิ่วล้อตระกูลชินวัตร และพรรคเพื่อไทย ต่างบอกว่าเหตุผลที่จะได้รับอภัยโทษหรือลดโทษนั้น เงื่อนไขมีความสะดวกกว่า เพราะโทษนั้นเบา เพียงแค่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ มิใช่การทุจริต จึงไม่ทราบว่าเป็นการส่งสัญญาณชี้นำสังคมหรือไม่ หรือบิดเบือนกฎหมาย

แต่หากไปถามนักกฎหมายกลับบอกว่า ลักษณะของโทษความผิดไม่ต่างกัน หากอธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ทุจริตคือมีใบเสร็จ แต่ "ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่" แม้ไม่มีใบเสร็จ แต่ไม่สามารถชี้แจงข้อกล่าวหาที่ทำให้เกิดความเสียหาย หรือทุจริตให้แก่ตัวเองและผู้อื่นได้  

ไม่นับเมื่อย้อนไปดูผลของผู้ที่คาดว่าถูกรับเคราะห์แทนและ ถูกหลอกให้ติดคุกอย่าง บุญทรง เตริยาภิรมย์ ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาเมื่อ 25 ส.ค.2560 ให้จำคุก 42 ปี ต่อมาภายหลังศาลเพิ่มโทษอีก 6 ปี ส่วน ภูมิ สาระผล   ถูกพิพากษาจำคุก 36 ปี ในคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ฯลฯ รวมถึงความเสียหายที่ต้องตามใช้หนี้อีก 7-8 แสนล้านบาท

ฉะนั้นหากหวังใช้ข้ออ้างนี้เดินตามก้นพี่ชาย อาจไม่ง่าย เพราะที่ผ่านมาก็สร้างความเสียหายเอาไว้มาก ถูกสังคมมองว่าเป็นนักโทษเทวดาชั้น 14 มีอภิสิทธิ์ชนไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว ทำลายกระบวนการยุติธรรม และองค์กร สถาบันต่างเกิดวิกฤตศรัทธาตามมา   

หาก ยิ่งลักษณ์ เลือกดื้อรั้นยื่นขอพระราชทานอภัยโทษ จึงไม่ง่าย และยากที่จะเข้าเงื่อนไขเช่น ทักษิณ ที่หวังพึ่งระเบียบการคุมขังที่มิใช่เรือนจำ จองจำที่โรงพยาบาลหรือที่บ้านแทนคุก หลังกระทรวงยุติธรรม และกรมราชทัณฑ์ แก้กฎหมายและออกระเบียบมาตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา 

เพราะ ยิ่งลักษณ์ ไม่ได้เจ็บป่วยถึงขั้นสาหัส หรืออายุเกิน 70 ปี หรือจริงๆ แล้วอาจมีเหตุผล หรือระเบียบ แท็กติกอื่นๆ ที่สังคมยังไม่รู้ รองรับหรือเตรียมออกระเบียบไว้ให้    

แตกต่างจากผลกระทบทางการเมือง หากทำแล้วก็ยากจะคาดเดาสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา เพราะกรณีทักษิณ ชาวบ้านก็เหลือทน ยอมหลับตา 1 ข้าง เพราะเชื่อว่าจะเป็นตัวแทนรบกับพรรคก้าวไกล ซึ่งปัจจัยแตกต่างจากกรณี ยิ่งลักษณ์ หากเดินตามดีลนี้ซ้ำแผลเก่าอีก เท่ากับว่าคนตระกูลชินวัตรจะทำอะไรในประเทศนี้ก็ได้ อย่างไม่ต้องเกรงใจใคร

ประกอบกับหากมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาแทรก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลงานของรัฐบาลไม่เข้าเป้า เพราะไร้น้ำยาในการบริหาร รวมถึงสภาวะและจริยธรรมของผู้นำประเทศเกิดปัญหาท่ามกลางข้อครหาใครคือนายกฯ ตัวจริง ไม่นับกับถูกมองว่าเป็นรัฐบาลตระบัดสัตย์เข้ามาซ้ำเติม

ก็อาจทำให้เกิดวิกฤตการเมือง ผู้คนลุกฮือออกมาต่อต้านทั่วสารทิศ ยากที่รัฐบาลจะรับมือ ขณะที่กลุ่มอำนาจเก่าก็ประคองเอาไว้ไม่ได้ 

นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี อาจต้องจำใจย่อมเซ่นตัวเองรับผิดชอบทางการเมือง ด้วยการลาออกหวังลดกระแสสังคม และต่อลมหายใจให้รัฐบาลอยู่ครบวาระ. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?

ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

พ่อบงการ ลูกตามสั่ง

“พ่อบงการ ลูกตามสั่ง” ผ่าน “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” คงไม่เกินเลยความเป็นจริง เพราะเมื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ มีคำบัญชาผ่านเวทีต่างๆ รัฐบาลชุดนี้ก็สนองนโยบายทันที โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะขาดความน่าเชื่อถือ และยำเกรงต่อกฎหมายมิให้คนนอกเข้ามาครอบงำแต่อย่างใด”.

ทักษิณไฟสุมขอน ‘รทสช.’ เขย่าบัลลังก์ ‘พีระพัง’

“สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอตโตขับเคลื่อนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จนถึงปัจจุบัน จากพรรคน้องใหม่ตอนนี้ทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว โดยการนำของ “ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค กุมทัพ 36 สส.ในปัจจุบัน

“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง

ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา

“พ่อเลี้ยง”เปลี่ยนสนามรบเป็นทุน “ดับไฟใต้-สันติภาพเมียนมา”

“ฉายารัฐบาลพ่อเลี้ยง” นับเป็นภาพการเมืองในฝ่ายบริหารที่ “วิญญูชน” พึงประจักษ์ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยับตัวและคำพูดของ “ทักษิณ ชินวัตร” วิทยากร-นักวิชาการของพรรคเพื่อไทย

47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!

คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด