กว่า 2 ปีที่มนุษยชาติยังคงต้องต่อสู้กับโรคติดเชื้่อไวรัสโควิด-19 มีการติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งโควิด-19 มีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นอัลฟา (อังกฤษ) เดลตา (อินเดีย) เบตา (แอฟริกาใต้)
ล่าสุดสายพันธุ์ "โอมิครอน" ที่เริ่มลามไปหลายประเทศทั่วโลก มากที่สุดอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป ซึ่งยังคงต้องศึกษาข้อมูลของโอมิครอนอย่างต่อเนื่อง
สำหรับประเทศไทยหลังพบการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนไม่นาน รัฐบาลได้รีบยกเลิก Test & Go และให้ใช้ระบบกักตัว พร้อมปิดรับลงทะเบียนนักท่องเที่ยวรายใหม่เข้าไทยจนถึงวันที่ 4 ม.ค.65 ส่วนผู้ที่ได้รับอนุมัติแล้ว 200,000 คน เหลือทยอยเข้าไทยอีก 90,000 คน สั่งเข้มงวดติดตามเฝ้าระวังสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้องในการป้องกันโรคตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่จะกระจายไปทั่วประเทศ
ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,437 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,327 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 2,307 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 18 ราย
สำหรับสถานการณ์เชื้อกลายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทย วันที่ 27 ธ.ค. มี 514 ราย ถือเป็นการก้าวกระโดดจากสัปดาห์ที่แล้ว จำนวนนี้ 2 ใน 3 เป็นผู้เดินทางเข้าประเทศ และ 1 ใน 3 เป็นผู้สัมผัสผู้ติดเชื้อ คลัสเตอร์ใหญ่อยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ เป็นเคสสามีภรรยาและที่เดินทางกลับจากเบลเยียม
ส่วนการเฉลิมฉลองในช่วงเทศกาลปีใหม่ เบื้องต้นยังไม่มีมาตรการห้ามการจัดกิจกรรมต่างๆ แต่ขอให้แต่ละจังหวัด โดยเฉพาะคณะกรรมการโรคติดต่อ กทม. คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเข้มงวดมาตรการ
ทำให้ต้องจับตาว่าหลังพบสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดรวดเร็วและเริ่มพบเชื้อในประเทศมากขึ้น หลังปีใหม่ โอมิครอน จะระบาดในวงกว้างแค่ไหน
อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้มีการเสนอฉากทัศน์พยากรณ์ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโอมิครอนใน 3 รูปแบบ
โดยรูปแบบที่ 1 ระดับรุนแรงที่สุด พบการระบาดของเชื้อโควิด-19 และฉีดวัคซีนใกล้เคียงช่วงเดือน ธ.ค. ประชาชนให้ความร่วมมือน้อย ไม่มีการป้องกัน ขณะทำกิจกรรมรวมคน สถานประกอบการ จัดกิจกรรมไม่สามารถปฏิบัติตาม VUCA ได้ ทำให้ควบคุมการแพร่ระบาดได้ยาก โดยใช้เวลา 3-4 เดือนกว่าจะควบคุมโรคได้ ซึ่งจะมีการติดเชื้อรายวันถึง “3 หมื่นรายต่อวัน” และมีผู้เสียชีวิต 170-180 รายต่อวัน
รูปแบบที่ 2 ระดับปานกลาง โอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ฉีดวัคซีนใกล้เคียงช่วงเดือน ธ.ค. ขณะที่ทุกภาคส่วนยังคงปฏิบัติตามมาตรการ VUCA อย่างเคร่งครัด ก็อาจจะพบผู้ติดเชื้อประมาณ 1.5-1.6 รายต่อวัน และใน 1-2 เดือน ตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ค่อยทรงตัว และจะลดลงมาตามลำดับ โดยมีผู้เสียชีวิต 100 รายนิดๆ ต่อวัน
รูปแบบที่ 3 ระดับดีที่สุด ผลจากโอกาสติดเชื้อเพิ่มปานกลาง ฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้นทุกกลุ่ม ลดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และปฏิบัติ VUCA อย่างเคร่งครัด ตัวเลขสูงสุดจะอยู่ที่ 1.3 หมื่นราย หลังจากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อจะทรงตัวและลดลง ส่วนผู้เสียชีวิตจะอยู่ที่ 60-70 และจะลดลงในที่สุด
ข้อมูลของการเสียชีวิตเป็นไปตามพื้นฐานของการติดเชื้อที่มีการกระจายได้สูง แต่มีความรุนแรงที่ต่ำ เพราะฉะนั้นอัตราการเสียชีวิตอาจจะไม่สูงมากนัก
จากข้อมูลในประเทศอังกฤษที่ได้มีการศึกษาความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอนลดลงเมื่อเทียบกับเดลตา โดยสายพันธุ์เดลตาโอกาสเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมี 50% และนอนโรงพยาบาล 1 วันขึ้นไป 61% ส่วนสายพันธุ์โอมิครอนรักษาที่โรงพยาบาลอยู่ที่ 20-25% และนอนโรงพยาบาล 1 วันขึ้นไป 40-50%
ส่วนการศึกษาในแอฟริกาใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.-30 พ.ย.2564 พบว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมีร้อยละเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลดลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรุนแรงไม่แตกต่างกัน เนื่องจากเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่แถวหลอดลม มากกว่าลงปอด แต่ถ้าลงสู่ปอดก็จะเกิดอาการรุนแรงพอๆ กันกับเดลตา
อย่างไรก็ตาม หลังจากวันที่ 4 ม.ค. รัฐบาลคงยังไม่ยกเลิก Test & Go ง่ายๆ เพราะจากการตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนล่าสุดอยู่ที่ 514 ราย นับว่ามีจำนวนมากภายในระยะเวลาไม่ถึงเดือน และอาจจะลามไปทั่วประเทศก็ได้
ดังนั้นเพื่อการลดความเสี่ยง คาดว่ารัฐบาลยังคงเข้มมาตรการการรับนักท่องเที่ยวอยู่ สำหรับเตียงในขณะนี้ยืนยันว่ามีเพียงพอ เพราะโอมิครอนอาการไม่รุนแรง โดยจะใช้ระบบ Home Isolation เป็นส่วนใหญ่
และประเด็นสำคัญคือ เราอาจจะเจองานหนักมากกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมาในเรื่องของการแพร่กระจายของเชื้อ เพราะจากข้อมูลในสหรัฐอเมริกาได้มีการแพร่กระจายของโอมิครอนครบใน 50 รัฐ ภายในระยะเพียงไม่ถึงเดือน ซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่เฉลี่ยในรอบสัปดาห์นี้อยู่ที่วันละ 168,000 ราย แซงหน้าจุดพีกในช่วงที่เดลตาแพร่ระบาดอย่างหนักในสหรัฐเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งขณะนั้นมีผู้ติดเชื้อเฉลี่ยในรอบสัปดาห์อยู่ที่วันละ 164,000 ราย
ดังนั้นเพื่อทำให้งานสาธารณสุขเป็นไปด้วยดีที่สุด จะต้องควบคุมการแพร่ระบาดของโอมิครอนภายในประเทศไทยตอนนี้ให้ได้ เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมความพร้อมเติมอาวุธยุทโธปกรณ์ทางการแพทย์ให้มากยิ่งขึ้น
แต่ถ้าเราไม่สามารถคุมในประเทศได้ และโอมิครอนจากต่างประเทศยังเข้ามาอีก ทีนี้ "งานเข้า" ทั้งประเทศอาจเลวร้ายยิ่งกว่าการแพร่ระบาดของอัลฟาและเดลตาที่ผ่านมา!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
‘ทักษิณ’ไม่กล้าเขี่ย‘ภท.-รทสช.’
เป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่คนภายนอกยังมองออกว่ากระท่อนกระแท่น สำหรับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร
สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?
ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี