ธนาธรตามพิธาเข้าสภาฯ ไล่บี้ทหาร-ทุบหม้อข้าวกองทัพ

พรรคก้าวไกล หลังได้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ คัมแบ็กกลับสภาฯ เห็นได้ชัดสร้างความคึกคักให้กับคนในพรรคและกองเชียร์ด้อมส้มอย่างมาก

แต่แค่ พิธา-ผมกลับมาแล้ว คนเดียว มันยังไม่พอ

เพราะนับจากนี้ การเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคก้าวไกลในสภาฯ จะยิ่งสนุก-เข้มข้น-น่าสนใจมากขึ้นไปอีก

เมื่อปรากฏว่า ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ผู้ก่อตั้ง-อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ที่คือ พรรคก้าวไกลในปัจจุบัน ก็ I'm back. เดินกลับเข้าสภาฯ ตามพิธามาติดๆ แม้ธนาธรจะไม่สามารถเข้าประชุมสภาฯ ได้ เพราะไม่ได้เป็น สส. แต่การคัมแบ็กกลับสภาฯ รอบนี้ของธนาธรน่าจับตาอย่างยิ่ง

เพราะนานพอสมควรแล้วที่ธนาธรหายไปจากซีนการเมือง โดยเฉพาะการเมืองในสภาฯ

หลังต้องพ้นจากการเป็น สส.ในคดีหุ้นสื่อวีลัคมีเดียฯ และตามด้วยคดีเงินกู้พรรคอนาคตใหม่ 191 ล้านบาท ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสิทธิ์การเมือง 10 ปี แต่ต่อมาธนาธรก็เข้าไปเป็น กมธ.วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ได้สักระยะหนึ่ง แล้ว จู่ๆ ก็ประกาศลาออกกลางคัน

จนเกิดเสียงวิจารณ์ว่า เพราะธนาธรไม่รู้มาก่อนว่า การเป็น กมธ.งบฯ บางสัปดาห์ต้องประชุมกัน 5 วันติดต่อกัน และบางวันประชุมตั้งแต่เช้าจนถึงเกือบ 4-5 ทุ่ม ทำให้ธนาธรที่ทำธุรกิจของตัวเองอยู่ด้วยไม่มีเวลา  เลยลาออกดื้อๆ จนเสียรังวัดพอควร แม้จะอ้างหล่อๆ ว่า ลาออกไปเพื่อไปทำงานการเมืองนอกสภาฯ 

แต่การกลับเข้าสภาฯ อีกครั้งในรอบนี้ของธนาธร เจ้าตัวคงตัดสินใจแล้วว่า ได้เวลาที่ต้อง มีแสง ทางการเมืองให้กับตัวเอง เลยต้องขอกลับเข้ามาเป็น คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการถ่ายโอนธุรกิจต่างๆ ของกองทัพไปอยู่ในความดูแลของรัฐบาล ตามมติของที่ประชุมสภาฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา

พบว่าวันดังกล่าว สภาฯ พิจารณาญัตติของ สส.พรรคก้าวไกล 3 คน 3 ญัตติ ที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน คือขอให้สภาฯ ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาเกี่ยวกับ กิจการ-ธุรกิจของทหาร ที่เป็น หม้อข้าวของกองทัพ มาตลอดหลายสิบปี 

โดย 3 ญัตติดังกล่าวประกอบด้วย

1.ญัตติขอให้ตั้งคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการถ่ายโอนหน้าที่การให้บริการไฟฟ้าที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการของกองทัพไปอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง รวมถึงการถ่ายโอนธุรกิจต่างๆ ของกองทัพไปอยู่ในความดูแลของรัฐบาล ซึ่งเบญจา แสงจันทร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ

2.ญัตติขอให้สภาฯ ตั้งคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการขอใช้ที่ดินราชพัสดุสนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ ในความครอบครองของกองทัพอากาศ เพื่อใช้เป็นสวนสาธารณะในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อผลประโยชน์ของประชาชน ซึ่งเชตวัน เตือประโคน สส.ปทุมธานี พรรคก้าวไกล เป็นผู้เสนอ

3.ญัตติขอให้สภาฯ ตั้งคณะ กมธ.วิสามัญพิจารณาแนวทางย้ายสนามกอล์ฟกานตรัตน์ ออกจากพื้นที่ Airside สนามบินดอนเมือง เพื่อความปลอดภัยตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ซึ่งเอกราช อุดมอำนวย สส.กทม. เป็นผู้เสนอ

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการที่ข่าวว่าจะประชุมกันนัดแรกกลางสัปดาห์นี้ นอกจากจะประชุมเพื่อเลือกประธาน กมธ.และตำแหน่งต่างๆ ใน กมธ.แล้ว จะต้องประชุมเพื่อสรุปชื่อของคณะกรรมาธิการอย่างเป็นทางการก่อนว่าจะใช้ชื่ออะไร หลังเอาทั้ง 3 ญัตติมารวมไว้เป็นญัตติเดียว 

ทั้งนี้ เอาแค่ดูชื่อญัตติที่ 3 สส.ก้าวไกลเสนอต่อสภาฯ

มันก็ชัดมานานแล้วว่า คือ หมุดหมายการเมืองของ

พรรคก้าวไกล-พิธา-ธนาธร

 ในการ เปิดหน้าชนกองทัพ ภายใต้แคมเปญ-นโยบายหาเสียง ปฏิรูปกองทัพ

และรอบนี้จากที่ก้าวไกลเคยวิจารณ์และเสนอเรื่องยกเลิกเกณฑ์ทหาร-ตรวจสอบงบจัดซื้ออาวุธ-วิจารณ์งบลับทหาร

ก็เล่นใหญ่มากขึ้น ด้วยการเปิดหน้าชน-ตรวจสอบ กองทัพ-ทหาร-บิ๊กท็อปบู๊ต ในเรื่อง ผลประโยชน์มหาศาล ที่อยู่ในเครือข่ายธุรกิจกองทัพ

ที่ก้าวไกลเชื่อว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือนทางการเมือง และสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองให้กับตัวเอง

หาก กมธ.ชุดดังกล่าวของก้าวไกลได้ข้อมูลสำคัญที่นำมาเปิดเผยได้ว่าเครือข่ายกองทัพมีอภิสิทธิ์ชนเหนือกว่าประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการต่างๆ หรือมีข้อมูลเรื่องผลประโยชน์ภายในกองทัพที่คนภายนอกตรวจสอบไม่ได้ แต่ก้าวไกลมีข้อมูล เพราะเรื่องแบบนี้คนให้ความสนใจ

และบทบาทการตรวจสอบกองทัพ ก็ต้องยอมรับว่าเป็นอีกหนึ่งซีเควนซ์ทางการเมือง ที่ก้าวไกลถนัด พร้อมจัดหนักทุกดอก 

ดูได้จากตอนสภาฯ พิจารณา 3 ญัตติดังกล่าว เมื่อ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา สส.ก้าวไกลก็อภิปราย ถึงธุรกิจของกองทัพ จนเรียกเสียงฮือฮาพอสมควร เช่น เรื่อง

สนามกอล์ฟธูปะเตมีย์และสนามกอล์ฟกานตรัตน์

ที่อภิปรายอย่างหนักหน่วง มีการใช้คำเหน็บแบบแรงๆ เช่น เสนาพาณิชย์ หรือ "ควรย้ายธุรกิจกองทัพไปให้พลเรือน หากไม่ย้าย ก็โอน ถ้าไม่โอน กองทัพต้องเปิดให้เป็นพื้นที่สาธารณะ และควรต้องมีการปฏิรูปกองทัพ เพื่อไม่ให้มีข้อครหาแดนสนธยา"  

ขณะที่ สส.ตัวหลักของก้าวไกลในการเสนอญัตติดังกล่าว เบญจา แสงจันทร์ ก็อภิปรายถึงเส้นทางเศรษฐีของบุคคลระดับสูงในกองทัพ ผ่าน 5 ขุมทรัพย์ทางธุรกิจของกองทัพ ที่ประกอบด้วย

1.ที่ดินราชพัสดุ ซึ่งอยู่ในความดูแลของกองทัพ

โดยให้ข้อมูลว่า ที่ดินราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของกรมธนารักษ์กว่า 12.5 ล้านไร่ กองทัพทั้ง 3 เหล่าครอบครองไว้จำนวนเกือบ 7.5 ล้านไร่ โดยกองทัพมีสถานีบริการน้ำมัน 150 แห่ง มีสนามกอล์ฟ 74 แห่ง ซึ่งสร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี มีธุรกิจตลาดนัด กิจการสโมสร โรงแรม สนามมวย สนามม้า รวมไปถึงสถานพักฟื้นพักผ่อนของกองทัพ โดยผู้ที่ได้ประโยชน์จากการเอาที่ดินของรัฐไปจัดสรรให้กำลังพล มีแต่นายทหารระดับผู้บังคับบัญชา

2.การเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจ

3.งบประมาณกระทรวงกลาโหม

ที่แทบไม่มีหน่วยงานใดที่เข้าไปตรวจสอบงบประมาณกลาโหมได้ แม้แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

4.สื่อในมือกองทัพ

จำนวนมาก รวมถึงการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิทัล (MUX) รายใหญ่ที่สุดในประเทศแบบผูกขาด ทำให้กองทัพเป็นเสือนอนกิน โดยไม่ต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่น

5.ธุรกิจพลังงานของกองทัพ

โดย เบญจา อภิปรายทิ้งท้ายว่า การตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาเพื่อศึกษาการถ่ายโอนธุรกิจของกองทัพ จะเป็นประตูบานแรกที่จะทำให้สภาฯ ร่วมกันพิจารณาอย่างจริงจังว่า กองทัพมีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องครอบครองที่ดินจำนวนมหาศาล มีค่ายทหารตั้งอยู่บนที่ดินใจกลางกรุงเทพฯ และผูกขาดการทำธุรกิจต่างๆ

"ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องมีการปฏิรูปกองทัพ คืนทหารให้ประชาชน คืนนายพลกลับไปทำงานในกองทัพ และคืนธุรกิจกองทัพหลายหมื่นล้านบาทให้กับรัฐบาล การปฏิรูปกองทัพกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องคือเรื่องเดียวกัน เบญจาอภิปรายระบุไว้ตอนหนึ่ง

นี่ขนาดแค่ลูกทีมของธนาธรยังเปิดหน้าชนกับท็อปบู๊ตขนาดนี้ แล้วถ้าธนาธรเข้ามาสมทบทีมด้วยอีกคน จะมันส์ขนาดไหนลองคิดดู 

ซึ่งแม้ตอนนี้กรรมาธิการยังไม่ได้เริ่มประชุมกันนัดแรก แต่เค้าลางประเมินได้ว่า แนวโน้มจะได้เห็น

"สงครามเย็น" ระหว่าง "ธนาธร-ก้าวไกล" กับ "กองทัพ"

ผ่านคณะกรรมาธิการชุดทะลวงหม้อข้าวกองทัพชุดนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?

ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

พ่อบงการ ลูกตามสั่ง

“พ่อบงการ ลูกตามสั่ง” ผ่าน “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” คงไม่เกินเลยความเป็นจริง เพราะเมื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ มีคำบัญชาผ่านเวทีต่างๆ รัฐบาลชุดนี้ก็สนองนโยบายทันที โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะขาดความน่าเชื่อถือ และยำเกรงต่อกฎหมายมิให้คนนอกเข้ามาครอบงำแต่อย่างใด”.

ทักษิณไฟสุมขอน ‘รทสช.’ เขย่าบัลลังก์ ‘พีระพัง’

“สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอตโตขับเคลื่อนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จนถึงปัจจุบัน จากพรรคน้องใหม่ตอนนี้ทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว โดยการนำของ “ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค กุมทัพ 36 สส.ในปัจจุบัน

“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง

ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา

'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ

นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส

“พ่อเลี้ยง”เปลี่ยนสนามรบเป็นทุน “ดับไฟใต้-สันติภาพเมียนมา”

“ฉายารัฐบาลพ่อเลี้ยง” นับเป็นภาพการเมืองในฝ่ายบริหารที่ “วิญญูชน” พึงประจักษ์ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยับตัวและคำพูดของ “ทักษิณ ชินวัตร” วิทยากร-นักวิชาการของพรรคเพื่อไทย