ยังเหลืออีก 1 ด่านให้ต้องลุ้น แม้จะรอดจากกรณีถือหุ้นไอทีวีไปได้ สำหรับ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ กับพรรคก้าวไกล
และที่ระทึกกว่ากรณีถือหุ้นไอทีวีของนายพิธาด้วย นั่นคือ กรณีหัวหน้าพรรคก้าวไกลและพรรคก้าวไกล ใช้เรื่องการเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นนโยบายหาเสียง ถือเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพ เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ โดยศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยในวันที่ 31 มกราคมนี้
กรณีนี้ถูกจับตามองมากกว่า เพราะหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ขัดรัฐธรรมนูญ โทษหนักถึงขั้น ‘ยุบพรรค’
ไม่เพียงนายพิธาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงกรรมการบริหารพรรคอื่นๆ ที่มีพวกแกนนำ ตัวตึง มากมาย ไม่ว่าจะเป็นนายชัยธวัช ตุลาธน น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล อยู่ในนั้นด้วย
อย่างไรก็ดี ก่อนวันที่ 31 มกราคม หลายฝ่ายให้น้ำหนักว่า พรรคก้าวไกลมีโอกาสรอด เมื่อดูจากสัญญาณที่นายพิธารอดพ้นจากกรณีถือครองหุ้นไอทีวี
ซึ่งในมิติทางการเมือง ยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องกำจัดหรือตัดตอน ‘พิธา’ และ ‘พรรคก้าวไกล’ ในเวลานี้
การยุบพรรคก้าวไกลตอนนี้ ไม่ได้สร้างผลบวกให้กับฝ่าย ‘อนุรักษนิยม’ มากนัก เพราะเทอมของรัฐบาลยังเหลืออีกกว่า 3 ปี พวกเขายังมีเวลาที่จะตั้งพรรคใหม่ ชูผู้นำคนใหม่ ขึ้นมาโปรโมตแบบเหลือเฟือ เหมือนกับตอนยุบพรรคอนาคตใหม่ ตัดสิทธิ์นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และกรรมการบริหารพรรค แต่ยังสามารถสร้างนายพิธาขึ้นมาแทนได้
กอปรกับการขับเคลื่อนของพรรคไม่ได้ยึดติดว่าจะต้อง ‘พิธา’ หรือใครเท่านั้นเป็นตัวชูโรง แต่สามารถปั้นตัวละครใหม่ๆ ขึ้นมาใหม่ได้เสมอด้วยความนิยมในตัวของพรรค ต่างจากพรรคอื่นๆ ที่ต้องใช้ตัวผู้นำเป็นแรงดึงดูดให้กับพรรค โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่ต้องใช้บุญเก่าของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และพรรคไทยรักไทยในอดีต
นอกจากนี้ บริบททางการเมืองของพรรคก้าวไกลกับพรรคอนาคตใหม่ในอดีตมีความแตกต่างกัน วันที่พรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ ขณะนั้นเป็นช่วงที่เสียงของรัฐบาลกับฝ่ายค้านมีระยะห่างที่กระชั้นชิดมาก การยุบพรรคอนาคตใหม่ทำให้กระดานทางการเมืองเปลี่ยน เสียงระหว่าง 2 ฝ่ายห่างกันมากขึ้น รัฐบาลทำงานได้ง่ายขึ้น
แต่วันนี้เสียงของรัฐบาลมีถึง 314 เสียง มากกว่าฝ่ายค้านเป็นร้อยๆ ที่นั่งในสภา พรรคก้าวไกลจึงไม่ได้สร้างความลำบากอะไรให้กับการบริหารประเทศมากนัก นอกจากการตรวจสอบตามกลไกปกติ ไม่จำเป็นต้องกำจัดทิ้ง
อีกทั้งการล้างบางพรรคก้าวไกลยังจะทำให้เกิดเอฟเฟกต์ต่างๆ ขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความคับแค้น ความสงสาร ที่จะหลั่งไหลไปมากกว่าเดิม
อีกอย่างคือ กรณีหุ้นไอทีวีของ ‘พิธา’ นั้น ถูกร้องในขณะที่กำลังมีการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งในเวลาต่อมากลายมาเป็นหนึ่งในข้ออ้าง อันนำมาสู่การโหวตชื่อนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีจากพรรคเพื่อไทย
เมื่อวันนี้การโหวตนายกรัฐมนตรีผ่านไปเรียบร้อย ประเทศมีผู้นำคนที่ 30 ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องสกัดนายพิธาให้กลับมาทำหน้าที่ สส.ในสภาผู้แทนราษฎร
ขณะเดียวกัน มีการมองกันว่า การดำรงอยู่ของนายพิธาและพรรคก้าวไกล ยังเป็นการจำกัด ‘ขนาด-อำนาจ’ ของ ‘พรรคเพื่อไทย’ ในห้วง 4 ปีนี้ จาก ‘ฝ่ายอนุรักษนิยม’
นั่นเพราะหากไม่มีพรรคก้าวไกลแล้ว พรรคเพื่อไทยจะสยายปีกได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในห้วงอายุรัฐบาลนี้ ในขณะที่ความสำคัญขององคาพยพอื่นๆ จะลดน้อยลงไป
อย่าลืมว่า ปัจจุบันแม้จะเป็นพรรคร่วมรัฐบาลแบบสลายขั้ว โดยมีพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ แต่ไม่ได้มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด สามารถดำเนินการอะไรได้ง่ายๆ เหมือนคราวพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน หรือพรรคเพื่อไทยสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือแม้แต่เรื่องโครงการแลนด์บริดจ์เอง ยังถูกขัดขวาง ทักท้วง จากกลไกเก่าๆ ของฝ่ายอนุรักษนิยมที่เคยใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามอยู่
วันนี้พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลก็จริง แต่ยังเหมือนถูกตีกรอบอำนาจ ไม่สามารถใช้ได้อย่างพร่ำเพรื่อและตามอำเภอใจ
‘ฝ่ายอนุรักษนิยม’ ไม่ได้ไว้วางใจพรรคเพื่อไทยแบบสนิทใจ และส่งมอบอำนาจให้เสมือนเป็นตัวตายตัวแทน หากแต่ถูกบังคับด้วยสมการทางการเมือง ให้ต้องสลายขั้วและใช้พรรคเพื่อไทยเป็นคู่ต่อสู้กับพรรคก้าวไกลในห้วง 4 ปีนี้
และการให้พรรคเพื่อไทยได้เข้าสู่อำนาจ ไม่ได้หมายความว่า ในการเลือกตั้งครั้งหน้า ‘ฝ่ายอนุรักษนิยม’ จะหวังพึ่งพรรคเพื่อไทย โดยทุ่มทุกสรรพกำลังให้ หากแต่ดูเป็นสถานการณ์ๆ ไป
หากจะทุ่มทุกสรรพกำลังเพื่อช่วยพรรคเพื่อไทยจริง คงไม่มีการตีกรอบอำนาจว่า สามารถทำอะไรได้แค่ไหนอย่างไร เหมือนทุกวันนี้
และที่สำคัญ คงไม่มีกระแสข่าวเรื่องการเตรียมตั้งพรรคอนุรักษนิยมแนวก้าวหน้า เพื่อใช้เป็นตัวเลือกในการเลือกตั้งครั้งหน้าเกิดขึ้นมา
พรรคเพื่อไทยเองก็ไม่ได้มีความสุขกับสถานะที่เป็นอยู่ หากแต่ไม่มีทางเลือกอื่นหากจะเข้าสู่อำนาจ และช่วย ‘นายใหญ่’
ในห้วง 4 ปีนี้ จึงไม่จำเป็นต้องจำกัดนายพิธาและพรรคก้าวไกล แต่ ‘ฝ่ายอนุรักษนิยม’ สามารถดำรงไว้เพื่อใช้ในมิติทางการเมืองของตัวเอง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?
ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
พ่อบงการ ลูกตามสั่ง
“พ่อบงการ ลูกตามสั่ง” ผ่าน “รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร” คงไม่เกินเลยความเป็นจริง เพราะเมื่อ “ทักษิณ ชินวัตร” อดีตนายกฯ มีคำบัญชาผ่านเวทีต่างๆ รัฐบาลชุดนี้ก็สนองนโยบายทันที โดยไม่สนใจว่ารัฐบาลจะขาดความน่าเชื่อถือ และยำเกรงต่อกฎหมายมิให้คนนอกเข้ามาครอบงำแต่อย่างใด”.
ทักษิณไฟสุมขอน ‘รทสช.’ เขย่าบัลลังก์ ‘พีระพัง’
“สู้ให้ทุกปัญหา พึ่งพาได้ทุกเรื่อง” มอตโตขับเคลื่อนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จนถึงปัจจุบัน จากพรรคน้องใหม่ตอนนี้ทำงานมากว่า 3 ปีแล้ว โดยการนำของ “ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการพรรค กุมทัพ 36 สส.ในปัจจุบัน
“รัฐบาล”ไฟลต์บังคับ “ทักษิณ”ได้แค่กร่าง
ดรามาปม “อีแอบ” อาจเป็นแค่ประเด็นโชว์กร่าง หวังกดดันให้พรรคร่วมรัฐบาลสยบยอม หลัง “ทักษิณ ชินวัตร” นายใหญ่ ที่มีสถานะเป็นพ่อนายกรัฐมนตรี ได้พ่นไฟระหว่างงานสัมมนาพรรคเพื่อไทยที่ อ.หัวหิน เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา
'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ
นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส
“พ่อเลี้ยง”เปลี่ยนสนามรบเป็นทุน “ดับไฟใต้-สันติภาพเมียนมา”
“ฉายารัฐบาลพ่อเลี้ยง” นับเป็นภาพการเมืองในฝ่ายบริหารที่ “วิญญูชน” พึงประจักษ์ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยเฉพาะการขยับตัวและคำพูดของ “ทักษิณ ชินวัตร” วิทยากร-นักวิชาการของพรรคเพื่อไทย