ศึกถกร่าง พ.ร.บ.งบฯ 67 ‘ก้าวไกล’ vs ‘รัฐบาลเศรษฐา’ วิกฤตแบบใด

มองแผน ก้าวไกล ก่อนอภิปรายชำแหละ "ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2567" ของรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน

สืบเนื่องจากที่พรรคก้าวไกลในฐานะหัวหน้าฝ่ายค้าน เสนอให้มีการเลื่อนวาระการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบฯ 67 ออกไปอีก 1 สัปดาห์ จากกำหนดการเดิมที่รัฐบาลตั้งไว้ในวันที่ 3-4 ม.ค.2567

เนื่องจากกังวลว่ากว่าจะได้เอกสารในรูปแบบกระดาษทั้งหมด จะไม่เหลือเวลาในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่ออภิปราย และมีการเหน็บรัฐบาลด้วยว่าการประวิงเวลาในลักษณะนี้ เป็นเพราะรัฐบาล "กลัว" หรือไม่อยากให้ฝ่ายค้านตรวจสอบหรือไม่

ก่อนจะมีการต่อรองว่า ถ้าไม่รับข้อเสนอ และอยากให้พิจารณาในวันเดิม ก็ช่วยส่งเอกสารเป็นรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์มาก่อนวันที่ 28 ธ.ค.ได้หรือไม่ ไม่ต้องรอส่งเอกสารในรูปแบบกระดาษที่ต้องใช้เวลามากเกินจำเป็น

ซึ่งสุดท้ายรัฐบาลก็ยอมส่งร่าง พ.ร.บ.งบฯ 67 ทั้งฉบับในรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวนกว่า 25,000 หน้า ให้กับฝ่ายค้านในวันที่ 26 ธ.ค.ที่ผ่านมา

แต่การที่ส่งมาเป็นไฟล์ PDF ทำให้กลุ่ม ก้าว Geek ต้องร่วมกับภาคประชาสังคมอย่าง WeVis แปลงเป็นไฟล์ Excel เพื่อให้สามารถจำแนกข้อมูลได้ง่ายที่สุด แต่ก็เสียเวลาไปอีก 2 วัน ส่งผลให้เหลือเวลาวิเคราะห์จริงๆ แค่ 5 วันเท่านั้น

อีกทั้งการที่ทีมงานก้าวไกลพยายามจะเร่งแปลงเอกสาร พ.ร.บ.งบฯ 2 ปีย้อนหลัง ทั้งปี 2565 และปี 2566 ที่ผ่านการพิจารณาของสภาแล้ว ก็ยิ่งทำให้ สส.หลายคนชวดโอกาส แทนที่จะได้ใช้วันหยุดในช่วงปีใหม่ลงพื้นที่พบปะประชาชน กลับต้องเอาเวลามาทำงานเพื่ออ่านเอกสารแทน

โดยผู้ที่ถูกวางไว้เป็นแม่ทัพสำคัญให้เป็นผู้ดำเนินการเปิดฉาก ชำแหละงบประมาณ ในครั้งนี้คือ ผู้นำฝ่ายค้านป้ายแดง อย่าง นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล

พ่วงด้วย น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล บุคคลที่ให้ความเห็นและติดตามเรื่องการใช้งบมาโดยตลอด

ในธีม วิกฤตแบบใด? ทำไมจัดงบแบบนี้ แตกต่างจากในครั้งก่อนๆ สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ที่มีการวางงบเหมือนเดิมทุกปี จึงเป็นการอภิปรายแบบเจาะลงไปเป็นรายกระทรวง

งบฯ 67 ถูกเริ่มจัดสรรตั้งแต่รัฐบาลประยุทธ์ จำนวน 3.35 ล้านล้านบาท แต่ในรัฐบาลเศรษฐามีการวางกรอบที่เริ่มต้นใหม่ตั้งแต่ศูนย์ เป็นจำนวน 3.48 ล้านล้านบาท

ทำให้หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า งบประมาณที่เพิ่มขึ้นนั้นจะถูกนำไปใช้ในส่วนใด เพราะเนื้อหาภายในแทบไม่ต่างจากเดิมเลย ในรายละเอียดคำของบประมาณเองก็ไม่ค่อยมีโครงการใหม่ ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ทำมาอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว น้อยกว่าที่รัฐบาลใหม่ในรอบ 9 ปี ควรจะเป็น

ยกตัวอย่างโครงการใหม่ในงบฯ 67 ที่ น.ส.ศิริกัญญา เคยหยิบยกมาพูดถึง อาทิ กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ที่เพิ่มขึ้นถึง 1.5 หมื่นล้านบาท ก็ดูจะไม่ค่อยตรงปกกับที่รัฐบาลเคยแถลงข่าวว่าจะให้เพิ่มแค่แสนล้านบาท

สำหรับกองทุนส่งเสริม SME เอง ได้เพิ่มถึง 10 เท่า คือ 5 พันล้านบาท ถือว่ารัฐบาลให้ความสำคัญ เพราะเป็นการเพิ่มการเข้าถึงแหล่งทุน matching fund กับ start up แต่ก็อาจจะทำให้ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ ส่วนกองทุนหมู่บ้านก็เพิ่ม 10 เท่าเช่นเดียวกัน เป็นจำนวน 1.5 พันล้านบาท ในการใช้เพื่อติดโซลาร์เซลล์และทำน้ำประปาสำหรับหมู่บ้าน และยังมีกรมสรรพสามิตที่ได้งบเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะถูกนำไปใช้ในเรื่องรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV

แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ งบก้อนใหญ่ที่ถูกกันไว้เพื่อหักลบกลบหนี้หลากหลายรายการจากสิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ทิ้งไว้ให้

หนำซ้ำรัฐบาลเศรษฐายังต้องคอยระวังความผิดพลาดซ้ำซ้อนจากการที่สำนักงบประมาณอาจตัดงบบุคลากรต่ำกว่าความเป็นจริง เหมือนที่เคยเป็นมาทุกปี ทำให้ต้องมาชดใช้กันในภายหลังอีก

ไม่นับรวมการกรณีหากดันร่าง พ.ร.บ.เงินกู้ ผ่านสภาไม่ได้ ก็จะหมดหนทางทำโครงการ "ดิจิทัลวอลเล็ต" หรือโครงการซอฟต์พาวเวอร์ ที่ก็น่าจะทำไม่ทัน ต้องขยับไปเริ่มในงบฯ 68 ซึ่งอาจต้องใช้งบกลางแทน สะท้อนให้เห็นถึงการไม่เตรียมความพร้อมของรัฐบาลเศรษฐา

ยังมีนโยบายจิปาถะอื่นๆ อีก ทั้งนโยบายท่องเที่ยว ที่ ททท.ได้งบเพิ่มพันล้านบาท, งบแท็บเล็ตสำหรับเด็กก็ยังไม่มา, งบกลาโหมที่เคยหาเสียงเอาไว้ว่าจะตัดลบ 10% แต่ปีนี้งบเพิ่มเกือบ 4 พันล้านบาท ซึ่งถูกนำไปใช้ในการเพิ่มเงินเดือนมากกว่าครึ่ง, โครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ก็ต้องใช้เงินอุดหนุนแทน ไม่ได้เพิ่มงบ เนื่องจากไม่ถูกบรรจุอยู่ในโครงการ หรือกรณีที่เคยมีการเสนอให้เก็บภาษีน้ำมันเบนซิน

ข้อกังวลในสัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิของรัฐบาล ที่ลดลงเหลือเพียง 29.1 เป็นปีแรกในประวัติศาสตร์ เพราะที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณต่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ทั้งที่เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง

หรือโครงการ 30 บาทพลัส ที่ถูกรัฐบาลตัดงบออกถึง 5 พันล้านบาท ซึ่งแม้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว เจ้ากระทรวงสาธารณสุข จะออกมาพูดเอง แต่ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และสำนักงบฯ ก็ไม่สนใจ       

กลับกันกระทรวงมหาดไทยดันได้งบเพิ่มเป็นอันดับ 1 แซงหน้ากระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขึ้นเงินเดือนให้กำนัน, ผู้ใหญ่บ้าน ตามที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ทำไว้ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง

อีกทั้งภาพรวมของการที่อยากจะทำให้ได้ GDP เฉลี่ย 5% ใน 4 ปีแรก ก็ยังไม่ปรากฏมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะมาเสริมพลังให้กับโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ทำเหมือนหวังน้ำบ่อเดียว สภาพงบประมาณก็ไม่เหมือนอยู่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจตามที่เคยกล่าวอ้าง และไม่มีโครงการเฉพาะเจาะจงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจริงๆ เลย

หากคิดตามข้ออ้างของรัฐบาลที่บอกว่า การจัดสรรงบฯ 67 มีความฉุกละหุก ทำไม่ทัน แต่อย่าลืมมองในระยะยาว เช่น เรื่องค่าไฟฟ้า ถ้ายังไม่มีการปรับโครงสร้างก็อาจทำให้ กฟผ.ต้องกู้เพิ่มเพื่อตรึงราคา แล้วให้รัฐบาลช่วยออกค่าดอกเบี้ยไปก่อน

และ “ตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง กำหนดให้รัฐบาลทำงบประมาณในระยะปานกลาง คือไปข้างหน้าในระยะเวลาประมาณ 5 ปี แต่ตอนนี้รัฐบาลเหมือนทำแก้บน ตามที่ พ.ร.บ.บอกให้ทำ คือเพิ่งทำกรอบระยะปานกลางไป พอจัดงบจริงก็ไม่ได้ตามกรอบที่วางเอาไว้” ที่ น.ส.ศิริกัญญา เคยกล่าวไว้

น.ส.ศิริกัญญา ยังให้ความเห็นว่า “การแถลงนโยบายของรัฐบาลก็เหมือนใส่แว่นคนเบลอ เห็นภาพไกล แต่รางๆ ขอบไม่คมเท่าไหร่”

ในฐานะประชาชน คงต้องเฝ้าจับตาดูศึกในครั้งนี้ให้ดี เพราะการอภิปราย "งบฯ 67" ไม่ใช่แค่เกมระหว่าง "ฝ่ายค้าน" และ "ฝ่ายรัฐบาล" ที่เข้าห้ำหั่นกันเท่านั้น แต่เป็นการจัดสรรเงินภาษีที่มาจากน้ำพักน้ำแรงของคนทำงาน เกี่ยวพันไปถึงการกำหนดทิศทางประเทศ และผลประโยชน์ที่เราควรได้รับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เวทีทวงคืนพรรคส้ม หลังพ่ายศึก อบจ.ราชบุรี

เท้ง-ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน เปิดตัวเป็นผู้นำพรรคส้ม ลงสู้ศึกเลือกตั้งไม่สวยเท่าใดนัก หลังไม่สามารถนำทัพพรรคประชาชนปักธงเอาชนะใน ศึกเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

สืบสันดาน'ระบอบทักษิณ' การเมืองวิปริต รอวันวิบัติ

การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ที่มี อุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นการผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทรยศหักหลัง สางแค้นคู่ปรับทางการเมือง โดยไม่สนใจมารยาทและจริยธรรมทางการเมืองแต่อย่างใด

“โผทหาร”ทบ.ร้อนระอุ ทิ้งไพ่ชิงขุมกำลังปฏิวัติ

เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า เหล่าทัพได้ส่ง “โผทหาร” ไปที่สำนักงานปลัดกกระทรวงกลาโหมเกือบครบหมดแล้ว เพราะเวลาที่บีบรัดเข้ามา จากกรอบเวลาที่ควรจะทำโผให้เสร็จสิ้นในช่วงกลางเดือน ก.ย. เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ทาง รมว.กลาโหม รักษาการ ในฐานะของประธานคณะกรรมการปรับย้ายนายทหารชั้นนายพล จึงเรียกประชุมบอร์ดโยกย้ายในวัน 3 ก.ย.นี้

ปิดป่าฯ-สลาย“ปชป.” กฐินร้อนจ่อสอย“อิ๊งค์”

เป็นไปตามคาด เมื่อ “สรวงศ์ เทียนทอง” เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค พท. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา ว่า สส.ไม่สบายใจที่จะร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ เพราะพฤติกรรมแทงข้างหลังและไม่ยอมรับนายกฯ คนที่ 31 ของ “บิ๊กป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค

ทักษิณ-พท.ตั้งการ์ดรับมือ ร้องยุบพรรค-ตัดสิทธิเลือกตั้ง พลิกแฟ้มคดี ถูกร้องอื้อแต่เงียบ

ทักษิณ ชินวัตร เดินจังหวะการเมืองรัดกุมขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน เมื่อวันจันทร์ที่ 26 ส.ค. ทั้งก่อนและหลังเดินขึ้นตึกชินวัตร 3 ที่ปัจจุบันคือ ที่ทำการพรรคเพื่อไทยชั่วคราว และยังเป็นสถานที่วางแผนจัดตั้งรัฐบาล-ฟอร์ม ครม. รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร