“ระเบียบคุกใหม่” เส้นทางบรรจบ “ทักษิณ” ไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว

เป็นเวลากว่า 100 วันแล้วที่ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กลับมาผืนแผ่นดินมาตุภูมิ เมื่อวันที่ 22 ส.ค.2566 เพื่อมารับโทษ หลังจากหลบหนีอยู่ต่างแดนกว่า 15 ปี แต่สิ่งที่น่าสงสัยคือ ไม่เคยมีเคสไหนที่ผู้ต้องขังจะไม่ได้นอนอยู่ในเรือนจำเหมือนทักษิณ เพราะตั้งแต่วันแรกที่รับโทษเข้าเรือนจำพิเศษกรุงเทพเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก็มีอาการป่วยในหลายโรคจนเจ้าหน้าที่ต้องวินิจฉัยว่าให้ทักษิณเข้ารับการรักษาที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ 

ปัจจุบันทักษิณได้เข้ารับการรักษามานานกว่า 100 วันแล้ว ไม่มีทีท่าว่าจะกลับเข้าสู่เรือนจำ อีกทั้งไม่มีการแจงรายละเอียดจากแพทย์ผู้ดูแลการรักษา หรือเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ ถึงความคืบหน้าของอาการป่วยแม้แต่น้อย ทำให้สังคมส่วนใหญ่เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ กลับมองว่าทักษิณและรัฐบาลพยายามตบตาประชาชนว่ามีอาการป่วย แต่แท้ที่จริงแล้วไม่อยากกลับเข้าคุกจริงหรือไม่

จนกระทั่งเมื่อไม่นานมานี้ นายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ออกหนังสือที่ ยธ. 07047/51138 กรมราชทัณฑ์ เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.2566 เรื่อง ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 ออกตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560

จุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้เริ่มจาก สมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม สมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ ได้มีแนวคิดเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหานักโทษล้นคุก ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด เปลี่ยนผู้ต้องขังคดียาเสพติดเป็นผู้ป่วยต้องบำบัด รวมถึงแนวคิดแก้ไขกฎกระทรวงในการจัดหาสถานที่เพื่อใช้กักตัวหรือเป็นที่พักของผู้ต้องขัง ระหว่างที่ได้รับการประกันตัวหรือยังไม่เป็นผู้ต้องขังเด็ดขาด ที่เรียกว่า เฮาส์อาร์เรสท์ ในคดี ตะวัน-แบม จนเมื่อทักษิณกลับมาไทยจึงได้มีการออกระเบียบการคุมขังที่มิใช่ในเรือนจำออกมาในยุครัฐมนตรีคนปัจจุบัน ทวี สอดส่อง

สำหรับสาระสำคัญของหลักเกณฑ์ระบียบดังกล่าวนั้น นักโทษที่จะได้ย้ายออกจากเรือนจำไปอยู่ในสถานที่คุมขัง จะทำได้เฉพาะตามวัตถุประสงค์ โดยปฏิบัติตามระบบการจำแนกและการแยกคุมขังนั้น คุมขังในสถานที่สำหรับอยู่อาศัย, การดำเนินการตามระบบการพัฒนาพฤตินิสัย ต้องคุมขังในสถานที่ราชการ หรือสถานที่ที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐใช้ประโยชน์ในการจัดทำบริการสาธารณะ สถานศึกษา วัด มัสยิด สถานประกอบการของเอกชน มูลนิธิ สถานสงเคราะห์ หรือสถานที่ที่ใช้สำหรับการสังคมสงเคราะห์ทั้งของราชการและเอกชน ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด

การรักษาพยาบาลผู้ต้องขัง คุมขังในสถานพยาบาล ประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ทั้งนี้ สำหรับสถานที่คุมขัง ไม่ว่าจะเป็นบ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องมีทะเบียนบ้านและบ้านเลขที่ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร และสามารถกำหนดตำแหน่งหรือพิกัดเพื่อใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (กำไลอีเอ็ม) ได้

อธิบดีกรมราชทัณฑ์จะเป็นผู้กำหนดสถานที่คุมขัง โดยออกประกาศแจ้งว่า ให้ใช้สถานที่ใดเป็นสถานที่คุมขัง ด้วยวัตถุประสงค์ใด พร้อมระบุที่อยู่และเลขที่ตามทะเบียนบ้าน แผนที่แสดงอาณาเขตของสถานที่คุมขัง และชื่อ-นามสกุลของผู้ดูแลสถานที่คุมขัง โดยอธิบดีกรมราชทัณฑ์จะเป็นผู้กำหนดสถานที่คุมขัง จะออกประกาศแจ้งว่า ให้ใช้สถานที่ใดเป็นสถานที่คุมขัง ด้วยวัตถุประสงค์ใด พร้อมระบุที่อยู่และเลขที่ตามทะเบียนบ้าน แผนที่แสดงอาณาเขตของสถานที่คุมขัง และชื่อ-นามสกุลของผู้ดูแลสถานที่คุมขัง

ผู้ต้องขังที่จะได้รับการพิจารณาคัดเลือกให้ออกไปคุมขังนอกเรือนจำ ต้องมีคุณสมบัติครบ 3 ข้อ ได้แก่ เป็นผู้ต้องขังตามกฎหมายราชทัณฑ์ ต้องผ่านการจำแนกลักษณะผู้ต้องขังหรือทบทวนแผนการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังรายบุคคล และคณะทำงาน เพื่อจำแนกลักษณะของผู้ต้องขังประจำเรือนจำเห็นควรให้คุมขังผู้ต้องขังรายนั้นๆ ในสถานที่คุมขัง

โดยในการตรวจสอบคุณสมบัติ คณะทำงานจะพิจารณาข้อมูลการถูกดำเนินคดีอื่นๆ ในชั้นศาล, ประวัติและพฤติกรรมก่อนต้องโทษ, ประวัติการใช้ความรุนแรงหรือการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว, ประวัติการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด, ประวัติการกระทำผิดความผิดเกี่ยวกับเพศ, การเปลี่ยนหรือย้ายที่อยู่ และพฤติกรรมขณะต้องโทษ เพื่อเสนอให้ผู้บัญชาการเรือนจำและกรมราชทัณฑ์พิจารณาต่อไป ซึ่งจะต้องไม่มีคุณสมบัติเฉพาะและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กำหนดไว้ในประกาศกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ ลักษณะต้องห้าม และวิธีการคุมขังในสถานที่คุมขังสำหรับผู้ต้องขังแต่ละกลุ่ม

อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องขังที่มีคุณสมบัติครบ 3 ข้อ แต่ถ้าติด 2 เงื่อนไข ก็จะหมดสิทธิ์ได้รับการพิจารณาคัดเลือกไปคุมขังนอกเรือนจำ นั่นคือ 1.มีโทษกักขังแทนโทษจำคุก กักขังแทนค่าปรับ มีโทษปรับซึ่งยังไม่ได้ชำระค่าปรับ หรือต้องถูกกักกันตามคำสั่งศาลภายหลังพ้นโทษ ไม่ว่าจะในคดีนี้หรือคดีอื่น และ 2.อยู่ระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือถูกลงโทษทางวินัย

แน่นอนว่า เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของระเบียบดังกล่าว เหมือนกับออกมาเพื่อทักษิณโดยตรงเลยก็ว่าได้ เพราะการกำหนดเกี่ยวกับสถานที่คุมขัง ซึ่งมีทั้งในสถานที่ราชการ และสถานที่สำหรับที่อยู่อาศัย การคุมขังในสถานพยาบาล ประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน เมื่อพิจารณาจากระเบียบกรมราชทัณฑ์ดังกล่าว ทำให้มั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า อีกไม่กี่วันข้างหน้า นายทักษิณน่าจะได้รับการปล่อยตัว หรือวิธีที่เรียกว่า คุมขังนอกเรือนจำ ส่อถึงสัญญาณนับถอยหลังวันที่ทักษิณได้กลับ "บ้านจันทร์ส่องหล้า" ได้เลย

แต่ในทางสังคม-การเมือง ผลที่ตามมาเมื่อระเบียบตัวนี้ออก สิ่งแรกคือ การตั้งคำถามต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ว่าทำเพื่อนายใหญ่ของพรรคใช่หรือไม่ รวมถึงตั้งแต่ทักษิณป่วย ไม่มีการชี้แจงให้ข้อมูลจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาแม้แต่น้อย ไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ว่าทักษิณอยู่ที่โรงพยาบาลจริงหรือไม่ อาการเป็นอย่างไร แตกต่างกับจุดยืนของรัฐบาลก่อนหน้านี้ที่ตั้งใจจะปราบทุจริต ทุกอย่างสามารถตรวจสอบได้ 

ท้ายที่สุดจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของพรรคเพื่อไทย และอาจจะมีผลต่อคะแนนเสียงในอนาคต รวมถึงคนที่จะโดนโฟกัสมากที่สุดคือ ทวี สอดส่อง ในฐานะนายใหญ่ของกระทรวงยุติธรรม ที่จะโดนฝ่ายค้านนำเรื่องนี้ยื่น "อภิปรายไม่ไว้วางใจ" ในช่วงเดือน เม.ย.นี้ด้วย จึงต้องจับตาว่าคนคนเดียวจะสร้างเอฟเฟกต์การเมืองไทยหลังจากนี้มากน้อยขนาดไหน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พท.ผวา!ชนักติดหลัง‘ลุงชาญ’ เปิดทาง‘มีวันนี้เพราะพี่ให้’ผงาด

ชาวปทุมธานียังคงต้องรอกันต่อไปสำหรับตัวนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี (อบจ.ปทุมธานี) หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเห็นชอบคำสั่งให้ใบเหลือง

'จตุพร' ได้ยินมา 'ทักษิณ' ถูกล็อกเป้าจบในพ.ย.นี้ ส่วน'อุ๊งอิ๊ง' ไม่เกินตรุษจีน 68

นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า หลังจากนายกฯ คุณหนูอุ๊งอิ๊ง-แพทองธาร ชินวัตร นำ ครม

เลือกตั้งซ่อมพิษณุโลก เวทีทวงคืนพรรคส้ม หลังพ่ายศึก อบจ.ราชบุรี

เท้ง-ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน เปิดตัวเป็นผู้นำพรรคส้ม ลงสู้ศึกเลือกตั้งไม่สวยเท่าใดนัก หลังไม่สามารถนำทัพพรรคประชาชนปักธงเอาชนะใน ศึกเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

'อนาคตไกล' ชี้เปรี้ยงพรรคส้มแพ้เลือกตั้งนายกอบจ.ราชบุรี สะท้อน 'ยิ่งยุบยิ่งไม่โต'

'ภาณุวัฒน์-อนาคตไกล' ชี้ผลการเลือกตั้งนายกอบจ.ราชบุรี พรรคประชาชน แพ้ยับ สะท้อนก้าวไกลแปลงร่างทรงใหม่ 'ยิ่งยุบ ยิ่งไม่โต'