เบื้องลึก "ทร." เดินเครื่อง "เรือดำน้ำ"

คำถามที่กองทัพเรือส่งไปทางสำนักงานอัยการสูงสุด 3 ประเด็น ได้แก่ 1.การปรับแก้เครื่องยนต์เป็นสาระสำคัญหรือไม่ 2.การจะเปลี่ยนเรือดำน้ำมีขั้นตอนอย่างไร 3.การอนุมัติให้แก้ไขเครื่องยนต์ อำนาจอยู่ที่ใครนั้น นั่นเป็นเพราะกองทัพเรือ ต้องการให้เกิดความกระจ่าง และรัดกุมมากขึ้นในเรื่องขั้นตอนกฎหมาย ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี

เพราะเริ่มต้นโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะมนตรี 2 ข้อ คือรับทราบผลการจ้างสร้างเรือดำน้ำโดยบริษัท CSOC และอนุมัติให้ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนลงนามในสัญญาจ้างสร้างเรือดำน้ำแบบ จีทูจี

ดังนั้นหากมีการแก้ไขที่เป็นสาระสำคัญก็ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่งกองทัพเรือมีการวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงเครื่องยนต์ จาก MTU 396 เป็น CHD 620 ซึ่งเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า อยู่ในขอบข่ายที่ถือเป็น "สาระสำคัญ" เพราะมีผลต่อขีดความสามารถของเรือในการซ่อนพราง  ป้องกันการถูกตรวจจับ และรายละเอียดเรื่องเสียงระหว่างการปฏิบัติการ ต่างจากเงื่อนไขก่อนหน้านี้ในการขยายเวลาของโครงการทั้ง 2 ครั้ง เนื่องจากสถานการณ์โควิด-1 เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย ซึ่งผู้แทนรัฐบาลนั่นก็คือกองทัพเรือ สามารถดำเนินการไปแก้ไขเรื่องระยะเวลาดำเนินการเองได้

สืบเนื่องไปถึงข้อที่ 3 อำนาจของการอนุมัติ ถ้าในที่สุดอัยการสูงสุดเห็นว่าเป็นสาระสำคัญเช่นกัน ก็ต้องให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนไปลงนามแก้ไขข้อตกลงด้วยวิธีจีทูจี

ส่วนข้อที่ 2 การเปลี่ยนจากเรือดำน้ำไปเป็นเรือประเภทอื่นมีขั้นตอนอย่างไรนั้น อาจจะมีประเด็นเรื่องข้อกฎหมายในกรณีของการยกเลิกสัญญากับ CSOC มาเกี่ยวข้อง ที่อาจต้องเจรจาเรื่องค่าปรับ การชดเชย เลยไปถึงการฟ้องร้อง ซึ่งต้องผ่านอีกหลายขั้นตอน

อย่างไรก็ตาม การให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารเรือมีความชัดเจนว่ากองทัพเรือต้องการเดินหน้า โครงการเรือดำน้ำ ไปให้สุดทาง เพราะปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ที่กังวลกันว่าถ้าเป็น ของคุณภาพจีน จะส่งผลต่อเรื่องของประสิทธิภาพและความปลอดภัยของกำลังพลที่ต้องปฏิบัติการใต้น้ำ มีการได้รับข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น และเป็นเรื่องที่เปิดเผยได้หลังจากที่จีนอนุมัติให้เปิดเผยสัญญา

กล่าวคือ มีความชัดเจนเรื่องของคุณภาพของเครื่องยนต์มากขึ้น โดยขั้นตอนของการลงนามใน TOR พูดไว้กว้างๆ ในเรื่องเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าที่ต้องมีสเปกอย่างไร แต่ไม่ได้มีการลงลึกถึงรุ่นและซีรีส์นัมเบอร์ แต่ไปกำหนดไว้ใน PMR : Program Management Review ซึ่งเป็นบันทึกการประชุมของคณะทำงานติดตามการจ้างสร้างเรือดำน้ำ ที่ไปตรวจความคืบหน้าแต่ละงวดงานที่เมืองอู่ฮั่น ซึ่งตอนนั้นจีนได้ลิขสิทธิ์ในการผลิต MTU396 ให้ทางเยอรมันและกองทัพเรือจีน แต่สถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคของโลกเปลี่ยนแปลงไป สหภาพยุโรปมีมติห้ามนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนกรณีเทียนอันเหมิน ทำให้ข้อเจรจาระหว่างคณะทำงานติดตามความคืบหน้าโครงการกับ CSOC ในการติดตั้งเครื่องยนต์กำเนิดไฟฟ้าเยอรมันกลายเป็นหมัน

แต่ในฐานะที่บริษัทจีนเคยผลิตเครื่องยนต์ดังกล่าวอยู่แล้ว ก็ไม่ยากที่จะเริ่มผลิตเครื่องยนต์ของตนเองขึ้นมาในยี่ห้อใหม่ ทำให้กองทัพเรือไทยส่งคณะทำงานไปทดลองประสิทธิภาพการใช้งาน จนมั่นใจว่าไม่กระทบด้านยุทธการ จึงได้เสนอรัฐบาลในการใช้เครื่องยนต์จีนทดแทนในช่วงที่ พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทร.

เมื่อข้อสรุปออกมา ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเป็นขั้นตอนสุดท้าย และโครงการจะเดินหน้าต่อไปได้ก็ต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเห็นชอบในการขยายระยะเวลาดำเนินการสิ้นสุดโครงการ จากเดิมขยายไว้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม ก็ต้องคำนวณการใช้เวลาติดตั้งเครื่องยนต์ ซึ่งคาดว่าจะประมาณ 36-40 เดือน คือแล้วเสร็จในปี 2570 ทั้งนี้ เพื่อจัดตั้งเป็นรายการงบประมาณปี 2567-2570  

และอาจจะกระทบต่อโครงการจัดหาเรือฟริเกตลำใหม่ในงบปี 67 ที่ต้องปรับรายการงบมาเดินหน้าโครงการเรือดำน้ำให้จบ ซึ่งนี่อาจเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดประเด็นทางเลือก เรือผิวน้ำ ขึ้นมา ด้วย 2 เงื่อนไข คือ กองทัพเรือต้องรักษางบประมาณส่วนนี้ไว้ ในกรณีที่ไม่ได้เรือดำน้ำ และปัจจัยภายนอกจากตัวแทนวงการค้าอาวุธที่ได้รับอานิสงส์จากการริเริ่มโครงการใหม่

และที่สำคัญคือ เรือดำน้ำเป็นอาวุธเชิงยุทธศาสตร์ เมื่อไทยจัดซื้อกับจีน ก็จะกลายเป็นภาพพันธมิตรทางทหารที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่ามหาอำนาจตะวันตกก็คงไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น อีกทั้งไทยตั้งอยู่ในจุดภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ ซึ่งมีผลต่อนโยบายการเมืองระหว่างประเทศ กว่าที่ “เรือดำน้ำ” จะเป็นจริงได้ จึงต้องผ่านด่านหินมหาโหดจนเข้าสู่ปีที่ 7.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คดีฉ้อโกงพุ่งรายวัน จนท.รัฐอืด! เปิดหลุมเหลือบเรียกรับผลประโยชน์

หนึ่งในนโยบายเร่งด่วนรัฐบาลคือ “เร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม อาชญากรรมออนไลน์ มิจฉาชีพ และอาชญากรรมข้ามชาติ ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน เพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามแก๊งคอลเซ็นเตอร์รับมือกับอาชญากรรมออนไลน์อย่างรวดเร็ว

ปักหมุด‘ครม.สัญจร’เชียงใหม่ กู้ศก.-ฟื้นท่องเที่ยวหลังภัยพิบัติ

ประเดิมนัดแรก “ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่” หรือ “ครม.สัญจร” ของรัฐบาล “นายกฯ อิ๊งค์” แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่จังหวัดเชียงใหม่ บ้านเกิดตระกูลชินวัตร

ตั้งแท่นงบฯเรือฟริเกตทร. จับตาเกมเตะถ่วง"เรือดำน้ำ"

แม้กระแสข่าวเล็กๆ ที่สร้างความชุ่มชื่นหัวใจให้กับกองทัพเรือ (ทร.) ว่ารัฐบาลอาจจะไฟเขียวเดินหน้า “เรือดำน้ำจีน” ต่อไป หลังจาก “อ้วน” ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม

ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์

ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49