9 ธ.ค.เลือกแม่ทัพปชป. ยุค“สิงห์เหนือ-เสือใต้”

ต้นเดือนธันวาคม พรรคประชาธิปัตย์จะมีหัวหน้าพรรคคนใหม่แล้ว ปิดช่องโหวตไม่ให้พรรคฝ่ายตรงข้ามหยิบประเด็นเลือกหัวหน้าพรรคมาตอบโต้ได้อีก

แม้ “ราเมศ รัตนะเชวง” โฆษกพรรค จะยังสงวนท่าทีกำหนดวันประชุมใหญ่วิสามัญพรรค “ภายในวันที่ 9 ธ.ค.” แต่รายงานคอนเฟิร์มแล้ว ฤกษ์ดี วันเสาร์ที่ 9 ธ.ค. ได้แน่นอน

ไล่เลียงไทม์ไลน์เลือกหัวหน้าพรรค เริ่มต้นที่ 14 พ.ค. จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประกาศลาออกจากหัวหน้าพรรค จากนั้น 9 ก.ค. การประชุมใหญ่วิสามัญล่มครั้งที่ 1 เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ

6 ส.ค. ล่มครั้งที่2 องค์ประชุมไม่ครบเช่นกัน กระทั่งมาถึงเมื่อวันที่ 14 พ.ย.ที่ผ่านมา เกิดจุดเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการนัดประชุมคณะกรรมการบริหารพรรค(กก.บห.) เพื่อพิจารณาจัดประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 3

อย่างไรก็ตาม ก่อนประชุมคณะกก.บห. จุรินทร์ ประกาศลาออกจาก “รักษาการหัวหน้าพรรค

เท่ากับว่าในการประชุมคณะกก.บห.ที่เพิ่งผ่านมา มีวาระเพิ่มเติมคือพิจารณาเลือก “รักษาการหัวหน้าพรรค” แทน “จุรินทร์” ซึ่งที่ประชุมโหวตให้ “เฉลิมชัย ศรีอ่อน” เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค แทน โดยมี “ชนินทร์ รุ่งแสง” ผู้ช่วยเลขาธิการและกก.บห. เสนอชื่อ

เมื่อฟัง “โฆษกพรรค” แถลงชี้แจงถึงสาเหตุที่ “จุรินทร์” ลาออกนั้น หลายฝ่ายอาจรู้สึกตงิดใจสงสัยว่า แม้พรรคยืนยันกับทางกกต. ว่าขณะนั้น “จุรินทร์” รักษาการหัวหน้าพรรค ไม่ใช่ “นราพัฒน์ แก้วทอง” ตามที่กกต. เข้าใจ ซึ่งที่สุด กกต. ก็เข้าใจในสิ่งที่พรรคชี้แจงแล้ว แต่เหตุใด “จุรินทร์” ยังต้องลาออก?

ว่ากันว่าสาเหตุมาจาก เมื่อวันที่ 11 ต.ค. “เดชอิศม์ ขาวทอง” กับพวก ทำหนังสือสอบถามไปยัง “กกต.”เกี่ยวกับการรักษาการในตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ตามข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ.2566 ต่อมา 13 พ.ย. แสวง บุญมี เลขาธิการกกต. และนายทะเบียนพรรคการเมือง ทำหนังสือตอบกลับว่า

กรณีดังกล่าวเป็นประเด็นการตีความข้อบังคับพรรคฯ ดังนั้น การตีความข้อบังคับพรรคจึงเป็นอำนาจของคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์หรือที่ประชุมใหญ่ พรรคประชาธิปัตย์ ตามข้อ 137 ของข้อบังคับพรรคประชาธิปัตย์ พ.ศ.2566

ทั้งนี้ ที่ประชุมกก.บห. ก็เคยมีความเห็นเรื่องนี้แล้วเช่นกันว่า “จุรินทร์” เป็นรักษาการหัวหน้าพรรค ตามข้อบังคับพรรคได้ โดย “ราเมศ” แถลงข่าวไว้ว่า

“ผมเชื่อว่าคงเป็นความคลาดเคลื่อน ไม่อยากไปพูดว่ามีความผิดพลาดตรงไหน และเชื่อว่าทุกคนไม่ได้มีเจตนาร้าย ฉะนั้น เป็นหน้าที่ของพรรคที่เราจะต้องมาพูดคุยกันในส่วนของข้อบังคับพรรค ว่าเรื่องนี้ระบุอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดข้อถกเถียงขึ้น แต่เคยมีการประชุม กก.บห.พรรคเมื่อวันที่ 21 มิ.ย.66 ได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวมาเพื่อพูดคุยกัน และที่ประชุมมีมติให้นายจุรินทร์ยังคงดำรงตำแหน่งรักษาการหัวหน้าพรรค”

จะเห็นว่าหนังสือที่กกต. ส่งมาเป็นคุณต่อ “จุรินทร์” แต่ทำไมจึงยังลาออก หรืออาจเป็นเพราะฝ่าย “อดีตหัวหน้าพรรค” ยอมถอยให้ “กลุ่มเพื่อนเฉลิมชัย” แล้วหรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีข้อน่าสังเกตเพิ่มเติม เมื่อการประชุมคณะกก.บห. วันที่ 14 พ.ย. มีการพิจารณาเรื่ององค์ประชุมในวันประชุมใหญ่ด้วย ซึ่งมีมติยอมให้เพิ่มองค์ประชุมในวันดังกล่าวได้ เพื่อป้องกันไม่ให้องค์ประชุมล่มเหมือน 2 ครั้งที่ผ่านมา

                    เท่ากับว่าเกมองค์ประชุมล่มของฝ่ายอาวุโสเป็นอันจบไป แต่จะมีกลเกมอื่นอีกหรือไม่ยากหยั่งถึง

ทว่าหลายคนในพรรคมั่นใจ 9 ธ.ค.นี้ ได้ “หัวหน้าพรรคคนใหม่”แน่!!! จับกระแสตอนนี้ ขีดเส้นใต้คำว่า “ตอนนี้” ยังคงเป็นชื่อ “นราพัฒน์ แก้วทอง” นำทัพประชาธิปัตย์คนต่อไป และมี “เดชอิศม์ ขาวทอง” สส.สงขลา และรองหัวหน้าพรรค เป็นเลขาธิการพรรค โดยมีคอนเซ็ปต์ตามที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่ต้นว่า “สิงห์เหนือ เสือใต้”

                    ส่วนเลือดใหม่ทั้ง “มาดามเดียร์” วทันยา บุนนาคดร.เอ๋” สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์

ณ เวลานี้    มีชื่อเป็นรองหัวหน้าพรรค เป็นการปรับทัพนำเลือดใหม่สู้กับพรรคการเมืองต่างๆที่ได้ปรับตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว

 อย่างไรก็ตาม มีข่าวเป็นระยะว่า “มาดามเดียร์” ภรรยาเจ้าของสื่อใหญ่แห่งค่ายบางนา จะมาเป็นหัวหน้าพรรค แต่หนทางไม่ง่ายนัก เพราะยังเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบตามที่ข้อบังคับกำหนดไว้จะได้เป็นหัวหน้าพรรค ฉะนั้น ถ้าจะมาเป็นจริงๆ ต้องมีการยกเว้นข้อบังคับข้อดังกล่าว โดยใช้เสียงในที่ประชุม 2 ใน 3 เสียงทั้งหมดขององค์ประชุม

เหตุการณ์ในพรรควันนี้เป็นแบบนี้ แต่เหลือเวลาอีกตั้ง 3 สัปดาห์ อาณัติสัญญาณต่างๆอาจเปลี่ยนแปลง เพราะภายในประชาธิปัตย์อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ!!

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ปริศนา'เรือดำน้ำ' เปิด5ประเด็นสะดุด'ตอ'

ทริปเร่งด่วน ที่ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหม นำทีม พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ จักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสายตรงของ “นายกฯ" และ “ชินวัตร” บินไปจีนเมื่อช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่ ทร.ไทยจ้างบริษัทของจีนสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา

‘สภาสูง’ในเงื้อมมือค่ายน้ำเงิน ส่องภารกิจเลือก‘องค์กรอิสระ’

ภารกิจ 200 สว. แสดงตนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มารายงานตัวครบจบไม่ขาดไม่เกิน แต่สวนทางกับความอลหม่านที่กลุ่มต่างๆ ภายในสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ด้วยกันเอง

ดรามา วุฒิการศึกษา 'หมอเกศ' เปิดข้อกม.เอาผิด-พ้นสภาพสว.?

นับตั้งแต่กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อปลายเดือนมิ.ย. สิ้นสุดลง หัวกระไดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ไม่แห้งอีกเลย เพราะหลังจากนั้นมีกลุ่มคนเข้ามายื่นหนังสือ เพื่อตรวจสอบกระบวนการเลือกที่ไม่สุจริต และเที่ยงธรรม รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเลือกบุคคลที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือเรียกว่า ฮั้ว หรือการตรวจคุณสมบัติสว.