อพยพคนไทยจาก“เรดโซน” บริหารข้อมูลในภาวะสงคราม

ย่างเข้าสู่วันที่ 4  นับแต่กลุ่มติดอาวุธฮามาสโจมตีอิสราเอล และอิสราเอลเปิดปฏิบัติการโจมตีโต้กลับ ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิตจำนวนมาก  หนึ่งในนั้นคือแรงงานไทยที่เข้าไปทำงานกระจายอยู่หลายพื้นที่ในอิสราเอล และตัวประกันที่ถูกจับไปพร้อมกับคนชาติอื่นซึ่งยังไม่รู้ชะตากรรมว่าเป็นอย่างไร

หลังเกิดเหตุการณ์ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ  ประชุม คณะทำงานศูนย์ประสานงานสถานการณ์ฉุกเฉิน Rapid Response Center -RRC เพื่อจัดเตรียมแผนสนับสนุนการช่วยเหลือและเคลื่อนย้ายคนไทยกลับประเทศ โดยมีกระทรวงการต่างประเทศ เป็นแกนหลัก ที่สำคัญคือการตั้งศูนย์แถลงข่าวความคืบหน้าของสถานการณ์ทุกด้านผ่านเฟสบุ้คของกระทรวงการต่างประเทศ 2 ช่วงเวลา คือ 10.00 น.และ 13.30 น. เพื่อให้สังคมได้รับรู้ข้อมูลที่ถูกต้อง และ รับทราบความคืบหน้าทุกเรื่อง

ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศ ระบุว่า กองทัพอิสราเอลได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อพยพพลเรือนและแรงงานไทยออกจากพื้นที่เสี่ยงภัยสูงสุดในรัศมี 4 กิโลเมตรรอบฉนวนกาซ่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคมช่วงกลางวันได้รับรายงานว่าสามารถช่วยได้ 76 คนแต่ต่อเนื่องในช่วงกลางคืนถึงเมื่อเช้าตอนนี้สามารถช่วยเหลือได้หลายร้อยคนแล้วออกมายังพื้นที่ปลอดภัย  โดยมีข้อมูลจากสถานทูตฝ่ายแรงงานที่กรุงเทอาวีฟ ได้แจ้งที่อยู่แจ้งที่อยู่ให้ทางการอิสราเอลทราบเป็นระยะ กำลังหลักในการปฏิบัติการคือทหารของกองทัพอิสราเอลที่เข้าไปช่วยเหลือ

จนกระทั่ง เย็นวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมาสถานทูตได้รับการติดต่อจากคนไทย และ แรงงานไทยได้มากกว่า 3 พันคน และแจ้งความประสงค์ในการเดินทางกลับประเทศจำนวน 3,862 คน  โดยการช่วยเหลือของทางการอิสราเอลจะแบ่งเป็น -3 โซน คือ แดง ส้ม เหลือง โดยจะเริ่มจากการอพยพผู้คนออกจากพื้นที่สีแดง หรือ เรดโซนซึ่งมีการสู้รบรุนแรงก่อน

ส่วนใหญ่คือแรงงานไทยที่ทำงานที่อยู่อาศัยบริเวณเมือง Netivot, Sderot, Ashkelo และพื้นที่ใกล้เคียง ติดๆ กับ “ฉนวนกาซา” ประมาณ 5,000 คน ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่กระทรวงต่างประเทศจะส่งกลับประเทศไทย โดยออกค่าใช้จ่ายการเดินทางให้ทั้งหมด  เบื้องต้นมีผู้ลงทะเบียนแล้ว  3,862 คน และไม่กลับ 52 คน  โดยสถานทูตไทยได้จัดเตรียมไว้  3 เที่ยวบิน ได้แก่

  1. 1. เที่ยวบินจากสนามบินเทอาวีฟคืนวันที่ 11 ตุลาคม ถึงประเทศไทยเวลา 10.35 น. วันที่ 12 ตุลาคม ลงที่สนามบินสุวรรณภูมิ จำนวน 15 คน

2.วันที่  15 ตุลาคม เครื่องบินแอร์บัส340 ของกองทัพอากาศ จำนวน 140 คน (กำลังประสานเรื่องการผ่านน่านฟ้าประเทศต่างๆ และ ไฟล์ทแพลน)

  1. 3. วันที่ 18 ตุลาคม ด้วยสายการบินพาณิชย์ จำนวน 80 คน

โดยไม่มีการตั้งเป็นจุดศูนย์รวมในการให้คนไทยมาพักคอยก่อน แต่จะเดินทางมาที่สนามบินก่อนเดินทางในวันนั้นๆ ซึ่งจะมีทางการอิสราเอล หรือ นายจ้างจัดรถในการขนส่งเข้ามา

นอกจากนี้ทาง RRC ได้หยิบยกแนวทางการอพยพทางเรือใช้เส้นทางทางทะเล โดยใช้ “โมเดลซูดาน”เป็นต้นแบบนั้น   ทางสถานทูตฯ ได้ประเมินจากหน้างานแล้ว ไม่แนะนำ เพราะเส้นทางรถยนต์ที่จะเดินทางไปท่าเรือนั้นยังมีการสู้รบ จึงยังไม่ปลอดภัย เช่นเดียวกับการเดินทางไปประเทศที่ติดกันเพื่อไปขึ้นเครื่องบินนั้นก็ยังไม่ปลอดภัยเช่นกัน

ขณะที่การอพยพของชาติอื่นพบว่าส่วนใหญ่เป็นประเทศในทวีปยุโรป  เช่น โปแลนด์ จะดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน 15 ตุลาคม  และที่ทยอยอพยพคือ  กรีซ โรมาเนีย ฮังการี เซอร์เบียร์เบา บัลเกเรีย อัลบาดนีย มาซิโดเนีย โคโซโว  นอกจากนั้นก็มี  บราซิล ชิลี

ทางด้าน คนไทยที่สูญหายติดต่อไม่ได้นั้น  มีความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในการตามหา โดยการร่วมมือระหว่างองค์กรเอกชน และตำรวจอิสราเอลไปสำรวจตรวจสอบ   โดยเจ้าหน้าที่ทางสถานทูตได้ให้ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่นำข้อมูลและใบหน้าของผู้ที่ญาติไม่สามารถติดต่อได้ส่งให้ทางอิสราเอลด้วย

ในส่วน การเคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิต 18 คน  จะต้องรอการยืนยันจากทางการอิสราเอลเป็นหลัก รวมถึงการพิสูจน์อัตลักษณ์ เพื่อรับสิทธิ์ในการเยียวยาให้ครอบครัว ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรก่อนที่จะลำเลียงศพกลับไทยได้  ระหว่างนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าศพอยู่ที่ใดบ้าง

ที่สำคัญคือตัวประกันทั้ง11คน ที่ถูกจับตัวไปร่วมกับตัวประกันชาติอีกอีก 100 กว่าคน ซึ่งทางการอิสราเอลยังไม่สามารถชี้ชัดว่าอยู่จุดไหนบ้าง  แต่กระทรวงการต่างประเทศได้ใช้ช่องทางการฑูตในการประสานความช่วย  โดยเอกอัครราชฑูตไทยในตะวันออกกลางก็ไปคุยกับมิตรประเทศ  โดยมีการประเมินว่าข่าวที่ออกมาเรื่องการสังหารตัวประกันหากมีการโจมตีฝ่ายฮามาสนั้น คงไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น เพราะเป้าหมายของกลุ่มดังกล่าวไม่ใช่ชาวต่างชาติ และคงไม่อยากขยายความขัดแย้งไปยังประเทศอื่น

แต่ที่สำคัญคือ “การข่าว”ที่อิสราเอลใช้วางแผน เพื่อจัดชุดเจ้าหน้าที่ในการติดตามช่วยเหลือตัวประกัน  รวมถึงการประสานงานระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของหลายประเทศ 

ขณะที่สถานการณ์ทั่วไป แม้กองทัพอิสราเอลประกาศว่าสามารถกระชับพื้นที่ในเมืองต่างๆได้สำเร็จสามารถอพยพคนออกจากเมืองรอบฉนวนกาซ่า 15 เมืองจากทั้งหมด 20 เมือง ซึ่งอาจจะมีผู้ก่อการร้ายอยู่ในพื้นที่บ้าง แต่ก็ได้ระดมกองกำลังที่เป็นกองหนุนมากกว่า 300,000 นายซึ่งถือเป็นการระดมพลครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ของอิสราเอลในการออกปฏิบัติการครั้งนี้

โดยจะต้องติดตามสถานการณ์เป็นระยะๆ ว่าการช่วยเหลือคนไทยในพื้นที่สงครามของชาติอื่นให้กลับสู่มาตุภูมิโดยเร็วนั้นจะราบรื่น หรือเจอโจทย์ปัญหาอื่นเข้ามาแทรกอีกหรือไม่ 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิถี ‘ผู้นำ’ ตระกูลชินวัตร คำร้องเยอะ ตรวจสอบเข้ม

หากถอดรหัสคำพูดของ "อุ๊งอิ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับกรณีที่ถูกร้องเรียนจาก "นักร้อง" เห็นชัดว่า หากเป็นไปได้ไม่อยากมีคดีติดตัว

แรงงานไทย เฮ "พิพัฒน์" บินด่วนอิสราเอล หารือรัฐมนตรีอิสราเอล โควต้าแรงงานเกษตร ปศุสัตว์ เพิ่ม นับ 13,000 คน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นางสาวพรรณนภา จันทรารมย์ เอกอัครราชทูต นายศักดินาถ

“กาสิโน”เผือกร้อน“กฤษฎีกา” สมดุลการเมือง-ผลกระทบสังคม

จับตาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายกาสิโนในมือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หลัง ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างกฎหมาย ว่าจะตรงปกและเป็นไปตามความต้องการของฝ่ายการเมืองหรือไม่ และอีกหนึ่งมติคือ ข้อห่วงใยผลกระทบทางสังคมและปัญหาอบายมุขตามมา

หวั่นเวชระเบียน'ทักษิณ'จุดชนวน รพ.ตำรวจอึมครึม คปท.ยกระดับ!

ขีดเส้น 15 ม.ค.นี้ คณะอนุกรรมการสอบสวนเฉพาะกิจ แพทยสภา ได้ส่งหนังสือถึง พล.ต.ท.นพ.นพศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ จัดส่งเอกสารทำคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เวชระเบียนการรักษาของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่เข้ารักษาตัวที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจ กระทั่งออกจาก รพ.ตำรวจ โดยมี นพ.อมร ลีลารัศมี อดีตกรรมการแพทยสภา เป็นประธานอนุกรรมการสอบ

'ภูมิธรรม' สั่ง ศปช. เร่งสำรวจความเสียหายจากอุทกภัยและคลื่นซัดฝั่งภาคใต้

“ภูมิธรรม” สั่ง ศปช. เร่งสำรวจความเสียหายจากฝนตก และคลื่นซัดฝั่งภาคใต้ พร้อมสั่งเตรียมรับมือฝนตกเพิ่มอีก 15 - 17 ม.ค. 68 ส่วนเหนือ - อีสาน อากาศหนาวยาวถึงปลายเดือนนี้