‘นายกฯ-บัวแก้ว’ พลั้งจนพลาด! รีบยั้งท่าทีศึกอิสราเอล-ปาเลสไตน์

ปฏิกิริยาแรกของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อเหตุโจมตีอิสราเอล จนมีผู้บาดเจ็บ เสียชีวิต และถูกจับเป็นตัวประกัน โดยมีคนไทยในจำนวนนั้นด้วย คือ การทวิตเตอร์ประณาม 

คืนวันที่ 7 ตุลาคม นายเศรษฐา ทวิตเตอร์ประณามการโจมตีดังกล่าวว่า “เป็นการโจมตีที่ไร้มนุษยธรรมที่ทำให้ผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บ และขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อรัฐบาลและประชาชนอิสราเอล เหตุการณ์นี้ไม่สมควรเกิดขึ้น และขอร่วมกับประชาคมโลกประณามการกระทำดังกล่าว” 

จากนั้นไม่นานมีปฏิกิริยาจากองคาพยพของรัฐบาลต่อเหตุการณ์นี้ต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น ‘กระทรวงการต่างประเทศ’ ออกแถลงการณ์ของไทย ระบุตอนหนึ่งว่า “รัฐบาลไทยขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่จะสร้างความตึงเครียดเพิ่มขึ้น และขอร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศ ในการประณามการใช้ความรุนแรงและการโจมตีในครั้งนี้ รวมทั้งขอแสดงความหวังให้รัฐบาลอิสราเอลสามารถควบคุมสถานการณ์ให้กลับคืนสู่ปกติโดยเร็ว” 

เช่นเดียวกับเจ้ากระทรวงบัวแก้ว นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทวีตในลักษณะคล้ายกันว่า “ผมขอประณามการโจมตีที่ไร้มนุษยธรรมที่ส่งผลให้ผู้บริสุทธิ์ต้องสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บในครั้งนี้ และขอให้พี่น้องคนไทยในอิสราเอลทุกท่านปลอดภัย พร้อมแสดงความเสียใจต่อรัฐบาลและประชาชนอิสราเอล และขอเป็นกำลังใจให้ก้าวผ่านวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ไปได้”
ท่าทีของผู้นำไทย เป็นท่าทีที่ฉับไว รวดเร็ว เกิดขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์ไม่นานนัก แสดงถึงความใส่ใจ เพราะมีคนไทยอยู่ในนั้น 

แต่อย่างไรก็ดี ในอีกมุมหนึ่งกลับมองว่า เป็นท่าทีที่ใจร้อนเกินไป จนขาดความรอบคอบ เพราะเป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศของอิสราเอลและปาเลสไตน์ มีความละเอียดอ่อนอย่างมาก ท่าทีใดๆ ของผู้นำไทยย่อมมีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่ยังมีคนไทยบาดเจ็บ เสียชีวิต และถูกจับเป็นตัวประกันอยู่ มันอาจทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลง 

โดย นายนันทิวัฒน์ สามารถ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความเห็นตอนหนึ่งว่า อิสราเอลประกาศเข้าสู่ภาวะสงคราม state of war ปาเลสไตน์จะได้รับบทเรียนที่ไม่เคยได้รับมาก่อน งานนี้อิสราเอลเสียหน้า ต้องเอาคืน ประมาณว่าเท่าไหร่เท่ากัน การตอบโต้ด้วยจรวด มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก รัฐบาลอาหรับและอิหร่าน ชาติที่นับถืออิสลาม ประกาศสนับสนุนปาเลสไตน์ ตะวันตกประกาศสนับสนุนอิสราเอล ส่วนที่เหลือยังไม่แสดงท่าที 

“แต่นายกฯ เศรษฐาใจร้อนไปมั้ย ประกาศประณามปาเลสไตน์เร็วเกินไปไหม ท่าทีนี้ได้หารือกับกระทรวงการต่างประเทศ? ไทยเคยแสดงท่าทีประณามอิสราเอลในที่ประชุมยูเอ็น ไทยมีผลประโยชน์มหาศาลกับกลุ่มรัฐอาหรับ ไทยควรเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น หาทางเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้ง ไม่ใช้ความรุนแรงเข้าหากัน น่าเป็นห่วงสถานการณ์จะลุกลามเพียงใด” 

และดูเหมือนรัฐบาลนายเศรษฐาจะรับรู้ถึงอีกมุมหนึ่งที่มีการแสดงความเป็นห่วง และรับรู้ว่าท่าทีที่กระทำลงมือในค่ำคืนวันที่ 7 ตุลาคม ค่อนข้างผลีผลามเกินไป  

วันต่อมา 8 ตุลาคม นายปานปรีย์ออกมาชี้แจงถึงท่าทีของไทย กรณีของการประณามผู้ที่โจมตีอิสราเอล ที่หลายคนเป็นห่วงเรื่องกระทบความสัมพันธ์ว่า เป็นการประณามความรุนแรง ไม่ได้ประณามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะไม่ทราบข้อเท็จจริง แต่การทำให้คนไทยเสียชีวิต เราไม่สามารถรับได้ 

นอกจากนี้ รมว.ต่างประเทศของไทยยังทวิตเตอร์ย้ำอีกว่า “ตอนนี้เรายังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าทางการเมืองระหว่างประเทศเกิดอะไรขึ้น และเราไม่ได้ประณามฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพียงแค่ประณามเรื่องการใช้ความรุนแรง โดยสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวไทยที่เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่เราไม่สามารถที่จะรับได้” 

หลังจากนั้นท่าทีของรัฐบาลไทยยังลดโทนจากวันแรกไปเยอะหลังถูกเตือนและติง โดยในการชี้แจงกระทู้ในสภาของนายจักรพงษ์ แสงมณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึงนโยบายต่างประเทศว่า วางตัวเป็นกลางในปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์มาโดยตลอด และได้สนับสนุนแนวทาง 2 รัฐ คือแนวทางรัฐอิสราเอลและปาเลสไตน์อยู่เคียงคู่กัน โดยเป็นไปตามความตกลงระหว่างประเทศและยูเอ็นเอสซี  

“รัฐบาลไทยขอให้รัฐบาลอิสราเอลและปาเลสไตน์ รวมถึงทุกส่วนที่เกี่ยวข้องดูแลสันติภาพ ความปลอดภัยและอำนวยความสะดวก ปล่อยตัวคนไทยให้ออกกมาอย่างปลอดภัย”  

เรื่องนี้ยังถือว่าโชคดีที่ทางการไทยไหวตัวทัน และรับฟังเสียงท้วงติง เพราะเรื่องการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ที่ไทยค่อนข้างให้ความระมัดระวังมาตลอด 

ไม่เว้นแม้แต่รัฐบาลก่อน ที่มีเรื่องความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน หรือในละแวกอาเซียนอย่างเมียนมา กระทรวงการต่างประเทศจะค่อนข้างระวังเป็นพิเศษในการแสดงท่าทีอะไรออกไป เพราะการกระทำใดๆ ของผู้นำและรัฐบาล ย่อมส่งผลต่อประเทศและคนในประเทศ  

 เรามักจะไม่เลือกข้าง วางตัวเป็นกลาง และเรียกร้องการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีสันติมากกว่าจะไปประณามหรือด่าใคร.    

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!

คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด

‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ

นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2

ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว

'ทักษิณ'พังการเมืองท้องถิ่น กระหายอำนาจ ไม่สนขัดแย้ง

“นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เจ้าของพรรคเพื่อไทย ต้องการฟื้นคืนชีพระบอบทักษิณโดยไม่สนใจบทเรียนในอดีต จนตัวเองและน้องสาวต้องหนีออกนอกประเทศ รวมถึงบริวารต้องติดคุกแทน

คดีป่วยทิพย์ชั้น14ในมือ‘ป.ป.ช.’ ‘รอด-ร่วง’สะเทือนการเมือง

เป็นอีกหนึ่งคดีที่ท้าทายสำหรับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หลังมีมติแต่งตั้ง องค์คณะไต่สวน ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ ป.ป.ช.ทุกคน เพื่อตรวจสอบกรณีกล่าวหานายสหการณ์