วันเลือกตั้งใหญ่ยังไม่แน่ชัดว่าจะเกิดในปี 2565 จริงหรือไม่ แต่สำหรับการเตรียมพร้อมทางการเมืองในห้วงเวลานี้ ได้เห็นพรรคการเมือง นักการเมือง ขยับขับเคลื่อนงานการเมืองทำกิจกรรมอย่างคึกคัก วันเวลาการเลือกตั้งยังอีกยาวไกล แต่สำหรับกฎกติกาค่อนข้างแน่ชัด การเลือกตั้งครั้งหน้าจะเปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง จากบัตรเลือกตั้งใบเดียวเป็นบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และ ส.ส.จะหันกลับมายึดตามเดิม ส.ส.เขต 400 คน ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน
บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และ ส.ส.เขต 400 ปาร์ตี้ลิสต์อีก 100 พร้อมกับ การคิดคำนวณคะแนน ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ที่เป็นวิทยาศาสตร์ ใช้หลักคณิตศาสตร์ตำราเดียว เข้าใจตรงกันทุกพรรค ไม่เหมือนกับครั้งที่แล้วที่สร้างความฉงน งุนงงอยู่ไม่น้อยกับระบบคิดคำนวณ ส.ส.
สัญญาณการเมืองการเลือกตั้งชัดเจนในระดับหนึ่งว่า มีการเลือกตั้งแน่นอน ตลาดการเมืองช่วงนี้เลยได้เห็นการขยับสับเปลี่ยนย้ายขั้ว ย้ายข้างกันมากขึ้น สอดรับกับกฎกติกาใหม่ เรื่องราวที่เกิดมีทั้ง “เป็นข่าวไปแล้ว” กับ “สัญญาใจ” รอเพียงเข้าโหมดเลือกตั้งคงจะขยับเขยื้อนกันอีกระลอกใหญ่
ด้วยระบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ กับ ส.ส. 400 : 100 พรรคเพื่อไทย นาทีนี้คึกครื้นเป็นพิเศษ เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว นายประเสริฐ จันทรรวงทอง นายภูมิธรรม เวชยชัย นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี นายชัยเกษม นิติสิริ นายชูศักดิ์ ศิรินิล คณะกรรมการบริหารพรรคและผู้บริหารพรรคเพิ่งให้การต้อนรับสมาชิกหน้าเดิม แต่หวนกลับมาสมัครสมาชิกพรรคใหม่ (อีกครั้ง)
สหายสุภาพ-จาตุรนต์ ฉายแสง พร้อมกับน้องอีก 2 คน เจ๊เปิ้ล-นส.ฐิติมา ฉายแสง โก้-วุฒิพงษ์ ฉายแสง และกลุ่มคนสนิท เศกสิทธิ์ ไวยนิยมพงศ์ อดีตส.ส.ร้อยเอ็ด เพื่อไทย นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ อดีตผู้สมัคร ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังประชารัฐ ที่รู้จักกับเดอะอ๋อยมานานตั้งแต่ยุคพรรคความหวังใหม่ หวนกลับคืนสู่บ้านเก่าเพื่อไทย
แม้ครั้งหนึ่งด้วยยุทธศาสตร์แยกกันเดินออกไปทำงานการเมือง ในพรรคไทยรักษาชาติ แต่เกิดอุบัติเหตุการเมือง ถูกยุบพรรคก่อนที่จะถึงวันเลือกตั้ง 24 มีนาคม 2562 จากนั้น ก๊วนไทยรักษาชาติ ในส่วนกรรมการบริหารพรรคถูกคาดโทษ เว้นวรรคทางการเมือง 10 ปี ส่วนพวกที่ยังเคลื่อนไหวได้ก็หายหน้าหายตาไปจากงานการเมืองพักหนึ่ง
จวบจนคณะของจาตุรนต์และผองเพื่อนก่อตั้ง “พรรคเส้นทางใหม่” ในขณะนั้นที่ยังเชื่อมั่นกันว่า รัฐธรรมนูญ กฎหมายลูก ที่เกี่ยวกับ บัตรเลือกตั้ง จำนวน ส.ส.ทั้งเขต บัญชีรายชื่อ และระบบคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ จะไม่ถูกแก้ไข แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์พลิกผัน มีการแก้กฎกติกา ทำให้พรรคที่ตั้งขึ้นใหม่หลายพรรค และพวกที่ย้ายบ้านไป เริ่มคิดคำนวณถึงความเป็นไปได้ โอกาสที่จะเข้าวินเหมือนกฎกติกาเดิมคงเป็นไปได้ยาก
เป็นที่มาของการหวนคืนบ้านเก่าทั้งของคณะจาตุรนต์ และ นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองประธานสภาฯ และอดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ที่เคยทิ้งเพื่อไทยไปร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ของเจ๊หน่อย-คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นแกนนำ เมื่อลองคำนวณความเป็นไปได้จากระบบเลือกตั้ง การนับคะแนน รวมทั้งชื่อชั้น เพื่อไทยยังพอขายได้ในเมืองเหนือ น่าจะมีภาษีดีกว่า เป็นอีกหนึ่งคนที่ขอหวนกลับคืนรังเก่าเพื่อไทย
การมาของสหายสุภาพ-จาตุรนต์ หน้าฉากได้รับการต้อนรับจากพรรคพวกเพื่อนฝูงคนคุ้นเคยจากกลุ่มคนเดือนตุลา และผู้บริหารพรรค (บางส่วน)
ขณะเดียวกันเกิดคำถามจากสมาชิกเพื่อไทย หัวหน้าครอบครัว ใจถึงพึ่งได้ “วัน อยู่บำรุง” ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กเป็นปริศนา แม้จะไม่ระบุถึงเรื่องราวที่มาที่ไป เอ่ยชื่อถึงใคร แต่ก็ทำให้น่าคิดเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อวันที่ 9 ธ.ค. “ไอ้พวกที่เหิมเกริมออกจากบ้าน แต่ไปไม่รอดจนต้องซมซานกลับมา...มรึงควรไปต่อท้ายแถวนะ!!!!”
เมื่อวันที่ 14 ธ.ค. "ยืนยันคำเดิมนะ..ไปต่อท้ายแถว พรรษาขาด ต้องนับหนึ่งใหม่!!!!"
นอกจากนี้ คณะกลุ่มคนรุ่นใหม่จากพรรคไทยรักษาชาติ ที่เข้ามาช่วยงานเพื่อไทย ไม่ค่อยจะแฮปปี้กับการมาของสหายสุภาพ เนื่องจากมีปมค้างคาใจกันมาสมัยร่วมงานไทยรักษาชาติ และถูกตั้งข้อหา ไม่ยอมร่วมหัวจมท้ายให้สุดซอย หลังจากเกิดกรณีรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ บิ๊กเซอร์ไพรส์ในพรรค
การหวนคืนบ้านเก่า เพื่อไทยของจาตุรนต์ จะถูกต่อต้านมากกว่านี้ถ้ามากันเพียงเฉพาะกลุ่มเพื่อนจาตุรนต์ แต่ว่ากันว่า ด้วยสายสัมพันธ์ที่แนบแน่น มีสัญญาใจระหว่างจาตุรนต์กับ เต้น-นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำเสื้อแดง และแกนนำเครือข่ายขับไล่ประยุทธ์ (อ.ห.ต.) ที่พร้อมใจแท็กทีมงานอดีต ส.ส.เสื้อแดง จากคณะไทยรักษาชาติ ที่จะตามมาในภายหลัง เลยทำให้แรงปะทะไม่ขยายวงกว้างไปมากกว่านี้
แม้กลุ่มคนรุ่นใหม่ทีม ทษช.ในเพื่อไทย จะไม่ค่อยลงรอยทางความคิดกับจาตุรนต์ แต่ไม่ได้มีปัญหากับ ทีมงานเสื้อแดง โดยเฉพาะณัฐวุฒิที่คนในพรรคต่างเฝ้ารอการหวนคืนบ้านเก่าของคณะณัฐวุฒิ
ณัฐวุฒิกับทีมงานเสื้อแดงบางคน แม้จะอยู่ในสถานะห้ามลงเล่นการเมือง สมัคร ส.ส. แต่อาจจะใช้ช่องว่างทางกฎเกณฑ์ปรับบทบาท “ผู้ช่วยหาเสียง” ที่จะเป็นประโยชน์ระยะยาวกับทางพรรค ในช่วงลุยหาเสียงเลือกตั้ง
แม้ตัวจาตุรนต์จะถูกตั้งคำถาม ถูกมองด้วยความเคลือบแคลงในเรื่องของ “ใจ” และทิศทางการต่อสู้อย่างสุดซอย จะส่งผลกระทบต่อการขับเคลื่อน ทิศทางเพื่อไทยในระยะยาวหรือไม่ คงต้องติดตามกันต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
แม้วเดินสายโชว์บารมี อิ๊งค์ปราศรัยนครพนม
"ทักษิณ" ลุยหาเสียงผู้สมัครนายก อบจ. จ่อขึ้นเวทีเชียงราย 3 เวที "เทิง-เชียงของ-แม่จัน" ปราศรัยช่วย "สลักจฤฎดิ์-เมียยงยุทธ" ก่อนเดินสายลำปาง-นครพนม-บึงกาฬ-หนองคาย-มหาสารคาม-ศรีสะเกษ
‘พ่อ-ลูก’ แห่ช่วยหาเสียง หลายพื้นที่สอย ‘ผู้สมัคร’
“แพทองธาร” ลุยช่วยหาเสียง อบจ.นครพนม 12 ม.ค.นี้ ส่วนพ่อนายกฯ ลงซ้ำ 18 ม.ค.นี้ “อนุทิน” ไม่หวั่น ขอแค่ส่งใจช่วยเครือข่ายสีน้ำเงินรักษาเก้าอี้ภาคอีสาน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
'ชัยเกษม' ลั่นใครไม่หวังดีต่อประเทศชาติ ต้องมีอันเป็นไป
นายชัยเกษม นิติสิริ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า หากมีเรื่องร้อนเข้ามาถ้าเราไม่ร้อนกลับไปมันก็ไม่แรง