รัฐธรรมนูญหมื่นล้าน อ้างปชต.เพื่อซื้อเวลา

นับหนึ่งนโยบายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ เพื่อแก้ปัญหาความเห็นต่างและความขัดแย้ง เพื่อเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น   

ภายหลังแถลงนโยบายเร่งด่วนต่อรัฐสภา ล่าสุด นายกฯ ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 จำนวน 35 คน โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ เป็นประธาน และประกอบไปด้วยฝ่ายการเมือง ผู้ทรงคุณวุฒิภาคส่วนต่างๆ ในสังคม อาทิ นักวิชาการ ข้าราชการ ตำรวจ ทหาร โดยมีเงื่อนไขไม่แก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 และมาตราที่เกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์

โดยเริ่มประชุมนัดแรกในวันที่ 10 ต.ค. เพื่อหาแนวทางการตั้งคำถามทำประชามติ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ ส่วนขั้นตอนการทำประชามติจะเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2567 และคาดว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และกฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้งภายในระยะเวลา 4 ปีเท่ากับอายุรัฐบาลนี้  

แต่กระบวนการรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็ถูกด้อยค่าทางการเมือง สะท้อนได้จากพรรคก้าวไกลไม่ลงมาเข้าร่วมคณะกรรมการชุดนี้ ด้วยเหตุผลหลักคือ เพราะพรรคเพื่อไทยยังไม่ได้รับความชัดเจนจากรัฐบาลเกี่ยวกับเป้าหมายหรือกรอบในภาพใหญ่ของการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่คณะกรรมการชุดนี้จะยึดถือ

โดยเฉพาะจุดยืนในการสนับสนุนคือ การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ และการจัดทำโดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนทั้งหมด และอยากให้เปิดกว้างไม่ถูกจำกัดในเรื่องการแก้ไขหมวด 1 และ หมวด 2 และอำนาจของพระมหากษัตริย์ 

โดยพรรคก้าวไกลเสนอว่า กระบวนการดังกล่าวควรเริ่มต้นจากการจัดประชามติ เพื่อสอบถามประชาชนด้วยคำถามว่า

 “ท่านเห็นชอบหรือไม่ ว่าประเทศไทยควรมีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ แทนที่รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 ฉบับปัจจุบัน โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนทั้งหมด โดยไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ”

เช่นเดียวกับ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย กล่าวถึงการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล โดยเรียกร้องให้มีความจริงใจ อย่าไปซื้อเวลาด้วยการตั้งคณะกรรมการ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรเลย มีแต่จะทำให้เสียเงิน และยิ่งสร้างความขัดแย้ง

การไม่เข้าร่วมของพรรคฝ่ายค้าน ทางพรรคเพื่อไทยมองว่าไม่มีปัญหา เพราะเปิดพื้นที่ในเวทีอื่นๆ เพื่อแสดงความคิดเห็น โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับหมวดเรื่องเกี่ยวกับพระมหากษัติย์ เพราะไม่ต้องการเปิดประเด็นความขัดแย้งรอบใหม่  

เพราะสุดท้ายการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะสำเร็จหรือไม่ นอกจากความจริงใจของผู้ริเริ่มแก้ไขแล้ว ต้องอยู่ที่การยอมรับของประชาชนผ่านการทำประชามติ และกระบวนการแก้ไขในรัฐสภา ประกอบไปด้วย สส.และ สว. โดยมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ตรวจสอบในท้ายที่สุด มิใช่พรรคก้าวไกลเป็นผู้ชี้เป็นชี้ตาย 

โดยประเด็นแรกที่เป็นตัวชี้ขาดว่าจะแก้ไขทั้งฉบับสำเร็จหรือไม่ คือคำถามประชามติต้องทำให้ตรงกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 “วินิจฉัยว่า รัฐสภามีหน้าที่และอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ โดยต้องให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่า ประชาชนประสงค์จะให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จแล้ว ต้องให้ประชาชนลงประชามติเห็นชอบหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อีกครั้งหนึ่ง

ฉะนั้น หากผลักดันตามที่ พรรคก้าวไกลต้องการ โดยมีข้อความว่า...โดย ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงของประชาชนทั้งหมด...ลงไปในคำถามประชามติ  

อาจมีสุ้มเสียงมีผู้ร้องศาลรัฐธรรมนูญว่าการทำประชามติไม่ชอบ เพราะเกินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 4/2564 เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากต้องการจะมี ส.ส.ร.หรือไม่ และจะเป็นแบบใด เป็นอีกขั้นตอนที่จะต้องพิจารณาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256

นอกจากนี้ยังมีความกังวลเรื่องจำนวนครั้งการทำประชามติ จากเดิมเคยมีการประเมินว่าต้องทำถึง 3 ครั้ง และเลือกตั้ง ส.ส.ร.อีก 1 ครั้ง รวม 4 ครั้ง โดยการทำแต่ละครั้งต้องใช้งบ 3-4 พันล้านบาท กว่าจะเสร็จสิ้นหมดเงินไป 1.6 หมื่นล้านล้านบาท ซึ่ง นายภูมิธรรม ก็อยากจะลดขั้นตอนตรงนี้ ให้เหลือการทำประชามติเพียง 2 ครั้ง เพื่อลดเวลาและงบประมาณของประชาชน แต่ก็ไม่ทราบจะได้หรือไม่  

หรือจะเลือกใช้แนวทางประหยัดงบลง โดยมีการเสนอว่า แก้ไขมาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้แก้รัฐธรรมนูญง่ายขึ้น ไม่ต้องผ่านเงื่อนไข สว. 1 ใน 3 และฝ่ายค้านร้อยละ 20 จากนั้นจึงแก้รายมาตรา แล้วก็ลงประชามติเพียงครั้งเดียว โดยไม่ต้องไปแตะเรื่องที่มาและขอบเขตอำนาจขององค์กรอิสระที่ต้องทำประชามติ     

ยิ่งหากแก้ไขในช่วงวุฒิสภาเก่าจะหมดวาระในวันที่ 11 พ.ค.67 ไปแล้ว และรอให้ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ก็อาจจะง่ายขึ้น เพราะไม่ได้แต่งตั้งจาก คสช.และขวางการแก้ไขอย่างที่ผ่านมา อีกทั้งสถานการณ์การเมืองและยุทธศาสตร์ของประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปหมดแล้ว หลัง ทักษิณ ชินวัตร กลับบ้านมาเป็นกำลังหลักในการทำสงครามกับพรรคก้าวไกลเพื่อการเลือกตั้งครั้งหน้า   

ฉะนั้นหากรัฐบาลมีความจริงใจ และต้องการประหยัดงบประมาณลง ก็อาจเลือกแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา หรือไม่ก็แก้ไขรัฐธรรมนูญแบบไม่ต้องมี ส.ส.ร.

ส่วนที่อ้างว่ารัฐธรรมนูญ 60 ไม่เป็นประชาธิปไตย บัดนี้เงื่อนไขต่างๆ ก็ค่อยๆ สลายไปตามอายุของบทเฉพาะกาล โดยเฉพาะการให้อำนาจ สว.เลือกนายกฯ ตามมาตรา 272 ที่เป็นความขัดแย้งใหญ่ ที่สุดก็จะสิ้นสุดกลางปี 67 ส่วนคำสั่ง คสช.ที่ยังค้างอยู่ ล่าสุด รัฐบาลก็เตรียมการยกเลิกด้วยการออก พ.ร.บ.  

เว้นแต่ฝ่ายการเมืองนำโดยพรรคเพื่อไทย ต้องการผลาญงบชาติบ้านเมือง ซื้อเวลาผ่านกระบวนการมากมายในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้เป็นข้ออ้างให้รัฐบาลบริหารประเทศ 4 ปี หรือหวังฉวยโอกาสหมกเม็ด ทลายกำแพงของรัฐธรรมนูญปราบโกง ที่เป็นอุปสรรคของนักการเมือง อาทิ แก้ไขหรือยกเลิกบทลงโทษมาตรฐานจริยธรรม รวมถึงมาตรา 144 ที่ห้ามไม่ให้ฝ่ายนิติบัญญัติลงไปเกี่ยวข้องกับงบประมาณแผ่นดิน ฯลฯ ใช่หรือไม่. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิถี ‘ผู้นำ’ ตระกูลชินวัตร คำร้องเยอะ ตรวจสอบเข้ม

หากถอดรหัสคำพูดของ "อุ๊งอิ๊ง" แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับกรณีที่ถูกร้องเรียนจาก "นักร้อง" เห็นชัดว่า หากเป็นไปได้ไม่อยากมีคดีติดตัว

“กาสิโน”เผือกร้อน“กฤษฎีกา” สมดุลการเมือง-ผลกระทบสังคม

จับตาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจสถานบันเทิงครบวงจร พ.ศ. .... หรือร่างกฎหมายกาสิโนในมือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หลัง ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอร่างกฎหมาย ว่าจะตรงปกและเป็นไปตามความต้องการของฝ่ายการเมืองหรือไม่ และอีกหนึ่งมติคือ ข้อห่วงใยผลกระทบทางสังคมและปัญหาอบายมุขตามมา

แล้วกัน 'บิ๊กอ้วน' รับเดินตามเกมกลุ่มก่อความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้!

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงเหตุระเบิดที่ ต.อาเนาะรู อ.เมือง จ.ปัตตานี และเหตุระเบิดล่าสุดที่ อ

หวั่นเวชระเบียน'ทักษิณ'จุดชนวน รพ.ตำรวจอึมครึม คปท.ยกระดับ!

ขีดเส้น 15 ม.ค.นี้ คณะอนุกรรมการสอบสวนเฉพาะกิจ แพทยสภา ได้ส่งหนังสือถึง พล.ต.ท.นพ.นพศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ จัดส่งเอกสารทำคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เวชระเบียนการรักษาของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่เข้ารักษาตัวที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจ กระทั่งออกจาก รพ.ตำรวจ โดยมี นพ.อมร ลีลารัศมี อดีตกรรมการแพทยสภา เป็นประธานอนุกรรมการสอบ

ลุยเปิดกาสิโนส่อสะดุด กฤษฎีกาโดดขวางเต็มสูบ

แนวคิดการทำให้ พนันออนไลน์ ขึ้นมาอยู่บนดิน ตามที่ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาลเพื่อไทยตัวจริงส่งสัญญาณมา หลายคนยังมองโมเดลนี้ไม่ออกว่าจะทำได้อย่างไร เพราะน่าจะติดล็อกข้อกฎหมายหลายอย่าง รวมถึงต้องเจอแรงต้านในส่วนของภาคประชาสังคม

ภูมิธรรมตัดไฟปมวิโรจน์โดนขู่ฆ่า อย่าแปลเป็นการเมือง

"ภูมิธรรม" ชี้ ตำรวจมีมาตรการดูแลปม "วิโรจน์"โดนขู่ฆ่า ขณะหาเสียงเลือกนายกอบจ.จันทบุรี วอนอย่าแปลเรื่องการเมือง หากมีเหตุขัดกัน อาชญากรรมเกิดได้ตลอด