เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีประเด็นใหญ่ที่ถูกตีพิมพ์ทุกหน้าสื่อคือ การลาออกจากหัวหน้าพรรคก้าวไกลของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ สส.และผู้นำฝ่ายค้านได้ หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้พิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์รับคำร้องคดีพิธาถือหุ้นไอทีวีไว้พิจารณา ดังนั้นจึงเปิดทางให้พรรคเลือก สส.ที่สามารถทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน
โดยหลังการลาออกของพิธา ทำให้หลังจากนี้ทางพรรคก้าวไกลจะต้องเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ ซึ่งหลายฝ่ายก็มีการคาดการณ์คนที่จะขึ้นมานั่งเป็นแม่ทัพคนใหม่ของพรรคก้าวไกลมีอยู่ 4 รายชื่อตัวเต็งที่มีโอกาสสูงในการเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่
1.ชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล บุรุษที่มีบุคลิกเงียบๆ เป็นคนเรียบๆ เฉยๆ ทว่า สุขุมนุ่มลึก และทำงานด้วยข้อมูลเหมือนนักบริหารรุ่นใหม่ ก่อนหน้านี้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ ต่อมาพรรคถูกยุบ จึงย้ายไปร่วมงานกับพรรคก้าวไกล และทำหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรค โดยในสมัยที่อยู่พรรคอนาคตใหม่ นายชัยธวัชถูกมองว่าเป็นเหมือนกุนซือ ผู้ทำงานอยู่เบื้องหลัง และเมื่อมาอยู่พรรคก้าวไกล ก็ถูกขนานนามว่าเป็น "คีย์แมนสำคัญ" ที่นำพาพรรคก้าวไกลประสบความสำเร็จในการเลือกตั้ง 2566
นอกจากนี้หลังจากเลือกตั้ง และความสำเร็จที่เกิดขึ้น ชัยธวัชยังเป็นสายประสานประจำพรรค เดินหน้าทำงานให้กับพรรคก้าวไกล โดยเฉพาะในช่วงที่ก้าวไกลได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลชัยธวัช เป็นคนเดินสายดีลพรรคการเมืองให้เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาล อีกทั้งยกหูขอเสียงสนับสนุนจาก สว.ในการโหวตนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีด้วย
2.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล และหัวหน้าทีมเศรษฐกิจของพรรค เป็นผู้ที่มีบทบาทในการทำหน้าที่ในสภาเป็นอย่างมาก ทั้งการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ตรวจสอบการใช้งบประมาณในภาครัฐ โดยขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ จากที่เคยทำงานอยู่เบื้องหลังได้ออกมาเบื้องหน้ามากขึ้น ด้วยหลักคิด คนออกแบบนโยบายควรได้รับผิดรับชอบจากผลของนโยบาย ได้เห็นว่านโยบาย ใครเป็นคนคิด หากคิดหรือทำอะไรผิด เราเป็นผู้รับผิดชอบผ่านกลไกพรรคการเมือง
3.นายณัฐวุฒิ บัวประทุม รองหัวหน้าพรรคก้าวไกลฝ่ายกฎหมาย คือหนึ่งในผู้คุมกฎของพรรค ในฐานะคณะกรรมการวินัย และจรรณยาบรรณสมาชิกพรรคก้าวไกล และก่อนหน้านี้นายณัฐวุฒิยังเคยเป็นหนึ่งในตัวเต็งที่มีกระแสข่าวว่าจะได้ตำแหน่งเก้าอี้ประธานสภา
4.วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อดีตดาวสภา และอดีตผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ที่เปรียบเสมือนรถถังประจำพรรค เห็นได้จากการอภิปรายต่างๆ ในสภา หรือแม้กระทั่งในเวทีดีเบตที่พร้อมเป็นตัวชน เป็นตัวปะทะประจำพรรค จากการอภิปรายด้วยวาทศิลป์ที่เผ็ดมัน ที่ทำให้คนดูทางบ้านไม่ง่วงนอน และสนุกกับการดูเจ้าตัวอภิปรายทุกครั้ง นอกจากนี้วิโรจน์ยังเป็นผู้เปิดโปงประเด็นส่วยสติกเกอร์ (ส่วยรถบรรทุกตรวจจับน้ำหนัก) หรือแม้ว่าส่วยรีดไถ่โกดังพลุระเบิดที่ ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
สำหรับคุณสมบัติจากคำพูดของผู้บริหารระดับสูงของพรรค ระบุว่า หัวหน้าพรรคคนใหม่ที่ต้องรับหน้าที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านจะต้องมีความคล่องในงานสภา เพราะจะต้องได้รับความร่วมมือจากพรรคฝ่ายค้านทั้งหมดในการดำเนินกิจการต่างๆ เพราะที่ผ่านมาเราเห็นการใช้บทบาทของผู้นำฝ่ายค้านไม่มากนัก มีเพียงแค่การลงพื้นที่พบปะประชาชน ถ้าเป็นผู้นำฝ่ายค้านที่มาจากพรรคก้าวไกลจะต้องมีแนวทางที่สร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
แต่ไม่นานมานี้มีข่าวหลุดออกจากวงที่ประชุมพรรคก้าวไกลที่เตรียมจะเสนอให้ชัยธวัชเป็นหัวหน้าพรรคคนใหม่ โดยการทำงานในพรรคทั้งนโยบาย การบริหารจัดการภายในพรรคไม่ได้เป็นที่กังขาแต่อย่างใด แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ จะสร้างผลงานให้เทียบเคียงกับพิธาได้หรือไม่ เพราะด้วยจากกระแสของพิธา ตั้งแต่เริ่มรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคก้าวไกลเพียงไม่กี่ปี สามารถเพิ่มฐานเสียงทั่วทุกประเทศได้อย่างล้นหลาม จากการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค.66 ที่ผ่านมา ที่ชนะการเลือกตั้งด้วยการเป็นพรรคที่รับคะแนนอันดับ 1 ด้วยคะแนนเสียงกว่า 14 ล้านเสียง นอกจากนี้ยังเป็นภาพลักษณ์ประจำพรรคก้าวไกล ถ้าถามประชาชนว่านึกถึงพรรคก้าวไกลให้นึกถึงใคร ผลร้อยเปอร์เซ็นต์ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่านึกถึงพิธา ด้วยความที่มีออร่าประหนึ่งดาราดัง ที่ไม่ว่าจะไปไหนทั้งเด็กทั้งผู้หญิงก็มักจะขอถ่ายรูปด้วย
นอกจากนี้ภาพลักษณ์การทำงานของพิธามักจะเป็นตัวของตัวเอง จนคนเลิกคิดว่าพรรคก้าวไกลมีธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นเจ้าของพรรค "แม้ในเบื้องลึกพิธาก็ยังคงขอคำแนะนำในด้านการเมืองกับธนาธร" อีกทั้งยังเคยเกิดวิวาทะกับปิยบุตร แสงกนกกุล ก่อนการเลือกตั้ง คนภายนอกจึงมองว่าการทำงานของพิธาไม่ได้ขึ้นตรงกับใคร แต่อุดมการณ์การเมืองยังคงเป็นเหมือนเดิม
ซึ่งถ้าหัวหน้าพรรคคนใหม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพรรคนี้ไม่ได้เป็นพรรคของธนาธร ก็จะสามารถพูดได้เต็มปากว่าเป็นพรรคเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง สามารถออกแบบนโยบายได้อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งการกำหนดทิศทางของคนนอกพรรค ก็จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สนับสนุนได้
ส่วนการเลือกหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคก้าวไกลชุดใหม่จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั้น คงต้องรอลุ้นผลวันที่ 23 ก.ย.นี้ จะมีการประชุมวิสามัญของพรรค โดยวาระสำคัญจะเป็นการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ ส่วนการเลือกหัวหน้าพรรคคนใหม่ก็คงต้องรอผลสรุปในที่ประชุมวิสามัญ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้นองค์คณะฯอ่านคำพิพากษา ดับฝัน 'โจ๊ก-แมว9ชีวิต' กลับตร.
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา "บิ๊กโจ๊ก" - พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อตรวจสอบความชอบธรรมของคำสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งคดีนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางปกครองในระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพื่อไทยฉวยคดีเขากระโดง สบช่องเตะตัดขาภูมิใจไทย
ปมขัดแย้งกรณีที่ดินเขากระโดง แม้แกนนำรัฐบาลของทั้ง 2 พรรคคือ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม แกนนำพรรคเพื่อไทย และ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ รมว.มหาดไทย
จับตา “พ่อใหญ่แม้ว” เยือนอุดรฯ เป่ากระหม่อม24พ.ย.สู้ศึกอบจ.
ในวันที่ 24 พ.ย.ที่จะถึงนี้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งก่อนหน้านี้มี “วิเชียร ขาวขำ” นั่งเป็นนายก อบจ.อุดรฯ แต่เจ้าตัวลาออกอ้างปัญหาสุขภาพ จึงต้องทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน และเป็นที่น่าจับตาว่า พรรคใหญ่ 2 พรรค ส่งคนสู้ศึกในครั้งนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ
ความจริงกำลังไล่ล่า2พ่อ-ลูก ยื้อเวลารอวันชี้ชะตาทั้งขบวนการ
มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดของรัฐบาลในระยะเวลาอันใกล้ กรณี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
'ทรัมป์'เอฟเฟกต์'อิ๊งค์'เร่งกู้ชีพศก. ดึงทุกกลไก-อัดเม็ดเงินเข้าระบบ
หลังรัฐบาล “นายกฯ อิ๊งค์”-แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเข้าสู่เดือนที่ 3 แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการแก้ไขปัญหาของประเทศหลายด้าน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่เป็นทั้งปัญหาเก่าสะสมมายาวนาน และปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยโลกหลายด้านที่ล้วนส่งผลกระทบต่อประเทศไทยให้นายกฯ อิ๊งค์ต้องรับมือ
ปชน.ตีเมืองหลวงเสื้อแดง แมตช์ใหญ่"ปักธงท้องถิ่น"
ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 ธ.ค.67