นับตั้งแต่ “ปดิพัทธ์ สันติภาดา” สส.พิษณุโลก พรรคก้าวไกล ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ก็มีรถทัวร์มาลงจอดให้เป็นประเด็นทางการเมืองอยู่เป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการโพสต์ภาพคราฟต์เบียร์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นถึงฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย แต่กลับมาทำฝ่าฝืนกฎหมายเสียเอง ก่อนที่ตัวเองจะต้องเสียค่าปรับตามกฎหมายในเวลาต่อมา
กระทั่งมาถึงกรณีล่าสุดที่ได้เบิกเงินจากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นเงินประมาณ 1.3 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับการเดินทางไปดูงานด้านฝ่ายนิติบัญญัติที่ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 21-25 กันยายน พร้อมกับ สส.พรรคก้าวและพรรคเพื่อไทยส่วนหนึ่ง
เรื่องนี้ดันมาเป็นเรื่องตรงที่การถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของการเดินทางไปดูงานดังกล่าว แม้ว่า “หมออ๋อง” จะชี้แจงว่ามีวัตถุประสงค์ที่ต้องการศึกษาการเพิ่มสมรรถนะในการทำงานของรัฐสภาสิงคโปร์ เพื่อนำมาปรับใช้กับระบบงานนิติบัญญัติของไทย แต่อีกด้านหนึ่งก็ถูกเพ่งเล็งว่ามีความจำเป็นหรือไม่ ท่ามกลางสภาพปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ
ไม่เพียงแต่เรื่องความเหมาะสมที่ยังตอบไม่ชัด ยังมีรายละเอียดที่น่าจะเป็นข้อท้วงติงเช่นกัน โดยเฉพาะเหตุใดถึงต้องเดินทางโดยเครื่องบินสายการบินไทยในชั้นธุรกิจ ทั้งๆ ที่ถ้าเลือกสายการบินเพื่อเดินทางด้วยชั้นธุรกิจเหมือนกันก็น่าจะมีราคาถูกมากกว่า
อีกทั้งมีความจำเป็นประการใดที่จะต้องมี สส.อีก 6 คนติดตามไปด้วย เพราะจากรายชื่อ สส.ที่เดินทางไปด้วยในครั้งนี้น่าจะเพียงเฉพาะนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เท่านั้นที่น่าจะเหมาะกับการเดินทางไปกับรองประธานสภาฯ ในฐานะเป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนคนที่เหลือนั้นจะต้องไปตอบสังคมต่อไปถึงความเหมาะสมต่อการเดินทางในครั้งนี้
โชคยังดีที่นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ออกมายืนยันว่าเงินที่รองประธานสภาฯ เบิกไปนั้นเป็นไปตามกฎหมาย เพราะหมออ๋องมีหน้าที่กำกับดูแลงานด้านสารสนเทศของสภา การเดินทางไปสิงคโปร์จึงยังพอฟังขึ้นได้บ้าง ในทางกลับกันถ้าประธานสภาฯ ไม่ออกมารับหน้าเสื่อให้ แน่นอนว่าพรรคก้าวไกลอาจทัวร์ลงหนักกว่าเดิมเป็นแน่
พรรคก้าวไกลเป็นพรรคการเมืองที่พยายามเซตมาตรฐานทางการเมืองใหม่ เพื่อยกระดับการเมืองไทยให้สูงขึ้น เห็นได้จากกรณีการลาออกของ สส.หลายคนของพรรคทันที ที่มีปัญหาเรื่องความไม่ชอบธรรม ซึ่งด้านหนึ่งแน่นอนว่านอกจากเป็นการแสดงความรับผิดชอบในทางการเมืองแล้ว ยังเป็นการตัดตอนปัญหาเพื่อยุติเสียงวิจารณ์ให้จบลงเร็วที่สุดด้วย
อย่างไรก็ตาม ณ เวลานี้มาตรฐานที่พรรคก้าวไกลวางไว้กำลังย้อนกลับมาท้าทายพรรคก้าวไกลเอง โดยเฉพาะกรณีล่าสุดซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณของแผ่นดิน เพราะบทบาทที่ผ่านมาพยายามลุกเกี่ยวกับการตรวจสอบงบประมาณของผู้มีอำนาจมาโดยตลอด และพยายามใช้วาทกรรม “คนเท่ากัน” กล่อมคนในสังคม
แต่บัดนี้ “ปดิพัทธ์” เลือดแท้ก้าวไกลก้าวเข้ามาลิ้มรสอำนาจเหมือนจะออกอาการเป๋ๆ ตั้งงบบินดูงานสิงคโปร์ สส.ผู้ทรงเกียรติร่วมทริปนั่งชั้นธุรกิจ ส่วนคนอื่นนั่งเก้าอี้ชั้นประหยัด แต่ปากยังท่องว่า “คนเท่ากัน” สังคมก็ลองไตร่ตรองดูเอาว่าความจริงนั้นคืออะไร และอย่างที่ทราบดีว่า การใช้งบประมาณของฝ่ายนิติบัญญัติไปกับภารกิจด้านการต่างประเทศนั้นไม่ต่างอะไรกับการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
เงิน 1.3 ล้านบาทนี่ก็เช่นกัน พรรคก้าวไกลจะกล้าการันตีหรือไม่ว่า เมื่อไปดูงานกลับมาแล้วจะทำให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะมิเช่นนั้นพรรคก้าวไกลจะกลายเป็นพวกว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้นองค์คณะฯอ่านคำพิพากษา ดับฝัน 'โจ๊ก-แมว9ชีวิต' กลับตร.
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา "บิ๊กโจ๊ก" - พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อตรวจสอบความชอบธรรมของคำสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งคดีนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางปกครองในระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพื่อไทยฉวยคดีเขากระโดง สบช่องเตะตัดขาภูมิใจไทย
ปมขัดแย้งกรณีที่ดินเขากระโดง แม้แกนนำรัฐบาลของทั้ง 2 พรรคคือ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม แกนนำพรรคเพื่อไทย และ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ รมว.มหาดไทย
จับตา “พ่อใหญ่แม้ว” เยือนอุดรฯ เป่ากระหม่อม24พ.ย.สู้ศึกอบจ.
ในวันที่ 24 พ.ย.ที่จะถึงนี้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งก่อนหน้านี้มี “วิเชียร ขาวขำ” นั่งเป็นนายก อบจ.อุดรฯ แต่เจ้าตัวลาออกอ้างปัญหาสุขภาพ จึงต้องทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน และเป็นที่น่าจับตาว่า พรรคใหญ่ 2 พรรค ส่งคนสู้ศึกในครั้งนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ
ความจริงกำลังไล่ล่า2พ่อ-ลูก ยื้อเวลารอวันชี้ชะตาทั้งขบวนการ
มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดของรัฐบาลในระยะเวลาอันใกล้ กรณี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
'ทรัมป์'เอฟเฟกต์'อิ๊งค์'เร่งกู้ชีพศก. ดึงทุกกลไก-อัดเม็ดเงินเข้าระบบ
หลังรัฐบาล “นายกฯ อิ๊งค์”-แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเข้าสู่เดือนที่ 3 แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการแก้ไขปัญหาของประเทศหลายด้าน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่เป็นทั้งปัญหาเก่าสะสมมายาวนาน และปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยโลกหลายด้านที่ล้วนส่งผลกระทบต่อประเทศไทยให้นายกฯ อิ๊งค์ต้องรับมือ
ปชน.ตีเมืองหลวงเสื้อแดง แมตช์ใหญ่"ปักธงท้องถิ่น"
ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 ธ.ค.67