ในเงาชินวัตรของ"บิ๊กทิน" 2 ป.รักษาดุลอำนาจกองทัพ

การเข้าทำงานในกระทรวงกลาโหมวันแรกของ นายสุทิน คลังแสง พลเรือนที่ไม่ได้ควบตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถูกมองเป็นเรื่องสีสันทางการเมืองที่มีความแปลกใหม่ และยังมีข้อสงสัยอีกหลายประการว่า “สุทิน” มีความอิสระในการบริหารราชการกระทรวงที่เกี่ยวกับความมั่นคงนี้หรือไม่ เพราะจากภาพที่เข้ามาราวกับว่า พรรคเพื่อไทยไม่ได้ให้ความสำคัญ และลำดับกระทรวงกลาโหมเป็นกระทรวงเกรดเอเหมือนเมื่อก่อนแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะปล่อยมือจากทหาร

หากย้อนกลับไปแต่ต้นมีข่าวว่า ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็น โควตากลาง แต่เมื่อมีการจัดสรรเก้าอี้ไม่ลงตัว เลยโยนมาให้กับพรรคพลังประชารัฐ ถึงขนาดที่มีชื่อของ พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ มานั่งในตำแหน่งนี้จนเกิดมีแรงต้านเล็กๆ แต่ในที่สุด พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ส่ง พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ น้องรักเข้ามาเป็นตัวเลือก แต่ก็ถูก "ตีกัน" จากการปล่อยข่าวเรื่องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการปราบปรามเสื้อแดง

สรุปสุดท้าย เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจึงตกเป็นของพรรคเพื่อไทยไปแบบไม่มีแรงต้านใดๆ ด้วยปัญหาของคนในฝั่ง 2 ป.เอง ราวกับว่ามีการเขียนบทตั้งแต่ต้นจนจบไว้แล้ว และชื่อที่ออกมาก็กลายเป็น “สุทิน” ที่อยู่ในโผแรกตั้งแต่มีการจัดคณะรัฐมนตรี โดยมีสารพัดคณะทำงาน กุนซือ ฝ่ายเสนาธิการ ที่เข้ามาหมุนรอบตัว “สุทิน” โดยไม่ใช่ระดับ “บิ๊กเนม” อย่างที่คาดการณ์กัน

หากพิจารณาดูจะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ทหารแก่ที่เคยอยู่กับระบอบทักษิณ เครือข่ายเตรียมทหารรุ่น 10 และที่สำคัญคือ กลุ่มที่ 3 เป็นมือทำงานในช่วงที่พลเอกประยุทธ์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ไม่ว่าจะเป็นพลเอกณัฐพล และพลเอกสมศักดิ์ รุ่งศิตา อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติทั้งคู่ โดยเฉพาะ "บิ๊กอั๋น" พลเอกสมศักดิ์ ถือเป็นทหารระดับหัวกะทิ ที่เคยทำงานให้กับ พลเอกชัยชาญ ช้างมงคล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมมาก่อน โดยมี พลเอกสนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม น้องรัก “ลุงป้อม” ที่คอยทำหน้าที่ตามกรอบงาน เปรียบเหมือนฝ่ายเลขาฯ ของกระทรวงประกบคู่ไปด้วย

หากดูตามนี้แล้ว นายสุทินก็เหมือน “โดดเดี่ยว” หรือถูกปล่อยให้มาอยู่ในกลางวงทหาร จะมีคนในครอบครัวคือ “รัฐ คลังแสง” สส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย พี่ชายและหลานชาย มาร่วมเป็นเกียรติในพิธีเท่านั้น แต่ก็มีการวิเคราะห์ว่า การส่งนายสุทินมาแบบนี้ก็เพื่อ “พราง” และแสดงความจริงใจว่าพรรคเพื่อไทยไม่ได้หวาดระแวงทหารอีกต่อไป มุ่งเน้นแต่เรื่องปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น ที่สำคัญคือ “ซูเปอร์ดีล” ทะลุไปถึงผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจ จึงไม่ต้องนั่งระวังหลังเหล่าทัพ

แต่ปรากฏการณ์ที่แฝงไปด้วยนัยของการวางตำแหน่งการเมืองในวงทหารนั้นมีแนวโน้มว่า “ชินวัตร” ไม่ได้วางใจมากนัก แต่พยายามจะบริหารระยะห่างไม่ให้ใกล้ หรือไกลกันมากเกินไป ข่าวที่มีเอกสารหลุดที่มีชื่อ "พายัพ ชินวัตร" เป็นประธานที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม และมีชื่อ “พอพงษ์ ชินวัตร“ บุตรชายนายพายัพเป็นเลขานุการประจำตัว รมว.กลาโหมนั้น สะท้อนให้เห็นว่ามีความพยายามที่จะสื่อสารให้เห็นเป้าหมายของผู้มีอำนาจตัวจริงของพรรคเพื่อไทยว่าต้องการอะไร

และยิ่ง “เศรษฐา ทวีสิน” ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นนายกฯ ที่เป็นตัวแทนของตระกูลชินวัตร ลงมาพบ ผบ.เหล่าทัพด้วยตัวเอง โดยคุมความมั่นคงและกระทรวงกลาโหมเอง นั่นแสดงว่ารัฐบาลเข้าใจถึงสายสัมพันธ์และโครงสร้างอำนาจระหว่างการเมืองกับการทหารอย่างดียิ่ง แถมยังหนีบพลเอกทรงวิทย์ หนุนภักดี ผบ.ทหารสูงสุด ซึ่งใกล้ชิดกับพลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ เดินทางไปยูเอ็นด้วยนั้น นอกจากเป็นกรอบหน้าที่ของกองทัพไทยที่มีงานในเรื่องของกองกำลังรักษาสันติภาพแล้ว ยังรู้ด้วยว่าคีย์แมนคนไหนมีบทบาทสำคัญที่จะเชื่อมต่อประสานงานได้

แต่ที่ต้องโฟกัสเป็นพิเศษคือ การเลื่อนยศ ปลด ย้าย ที่ถือเป็น “หัวใจ” ของกองทัพ และเป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองตั้งแต่ไหนแต่ไร หลายปีที่ผ่านมาบริบทของการขึ้นเป็น ผบ.เหล่าทัพ ในส่วนของทหารบก เปลี่ยนจาก “วงษ์เทวัญ” กับ “บูรพาพยัคฆ์” มาเป็นทหารคอเขียว-คอแดง โดย “ทหารคอแดง” กลายเป็นสัญลักษณ์โดดเด่นที่ไม่มีการเมืองเข้ามาแตะ โดยเฉพาะกองทัพบก ที่ผู้บัญชาการทหารบกต้องทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904 ด้วย เช่นเดียวกับกองทัพไทย ที่พลเอกอภิรัชต์ส่ง “บิ๊กแก้ว “พลเอกเฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ เข้ามาจ่อเป็น ผบ.ทหารสูงสุด

จะมีก็แต่สำนักงานปลัด กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และบางตำแหน่งในกองทัพบกและกองทัพไทย ที่อาจจะการดึง “การเมือง” เข้ามาล้วงลูกโยกย้ายมากขึ้น จากรายงานข่าวก่อนหน้านี้ในที่ประชุมเหล่าทัพ ที่พลเอกเฉลิมพลได้ทำนายว่า ในอนาคตข้างหน้าอาจจะเห็นทหารวิ่งหาการเมืองเหมือนที่เคยเกิดขึ้นมาในอดีต

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการปรับย้ายทหารชั้นนายพล มีพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม ที่มีคณะกรรมการ 7 เสือ ซึ่งเป็นระดับท็อปไฟว์ของกองทัพเข้ามานั่งอยู่ด้วย ยกเว้นมีใครในสายเพื่อไทยเสนอให้มีการปรับแก้ไขลดอำนาจบอร์ด หรือแก้ไขกฎหมายดังกล่าวขึ้นมา ซึ่งจะกระทบต่ออำนาจในกองทัพเป็นลูกระนาด

จึงไม่แปลกว่าทำไม พลเอกประยุทธ์ต้องฝาก “บิ๊กเล็ก-บิ๊กอั๋น” เข้ามาประกบอยู่ข้างกาย “สุทิน” เพื่อให้ชุดข้อมูลที่ “บาลานซ์” มากขึ้น และให้มีส่วนในการตัดสินใจเลือกหัวหน้าสำนักงาน ที่ปรึกษา รวมไปถึงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และ เมื่อเห็นหน้าตาเหล่าบรรดาทหารตัวจริงที่จะเข้าไปทำหน้าที่ ก็จะรู้ว่าผู้ที่มีอิทธิพลตัวจริงคือ “ชินวัตร” หรือ 2 ป.

แต่ก็ใช่ว่าทั้ง 2 บิ๊กที่ส่งเข้าไปประกบ จะมีข้อมูลของทหาร “เจอเนอเรชั่น” ของ ผบ.เหล่าทัพ ซึ่งเป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 23 และ 24 เพียงแต่ทำอย่างไรไม่ให้มี “ทหาร” ไปวิ่งอ้อมหลังใช้การเมืองมาแทรกโผทหารในอนาคตเป็นผลสำเร็จ เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้นได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูต่อไปว่าการเข้ามานั่งเก้าอี้ รมว.กลาโหมของ “สุทิน” เพื่อพรางครั้งนี้จะสอบผ่านมาตรฐานชินวัตรหรือไม่

 จะถูกทหารกลืนเหมือน พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่หลุดเก้าอี้ไปเป็นรัฐมนตรีช่วย หรือจะหลุดเก้าอี้ไปเพราะเดินหน้าชน ด้วยสูตร “อย่าไปกลัว” อย่าง พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต จน “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” ต้องควบกลาโหมเอง และถูกรัฐประหารในที่สุด.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!

คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด

‘แม้ว’ ไล่ทุบ- ‘ภูมิใจไทย’ ไม่หมู ‘แดง-น้ำเงิน’ ทนอยู่แบบตบจูบ

นาทีนี้ศึกฝ่ายค้าน-รัฐบาลยังไม่เดือดเท่ากับศึกรัฐบาลด้วยกันเอง แรงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับการขบเหลี่ยมของพรรคอันดับ 1 และพรรคอันดับ 2

ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว

'ทักษิณ'พังการเมืองท้องถิ่น กระหายอำนาจ ไม่สนขัดแย้ง

“นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เจ้าของพรรคเพื่อไทย ต้องการฟื้นคืนชีพระบอบทักษิณโดยไม่สนใจบทเรียนในอดีต จนตัวเองและน้องสาวต้องหนีออกนอกประเทศ รวมถึงบริวารต้องติดคุกแทน

คดีป่วยทิพย์ชั้น14ในมือ‘ป.ป.ช.’ ‘รอด-ร่วง’สะเทือนการเมือง

เป็นอีกหนึ่งคดีที่ท้าทายสำหรับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หลังมีมติแต่งตั้ง องค์คณะไต่สวน ซึ่งประกอบด้วยกรรมการ ป.ป.ช.ทุกคน เพื่อตรวจสอบกรณีกล่าวหานายสหการณ์