"ทักษิณ" หวังขออภัยโทษ จับตามวลชนลุกฮือต้าน!

หลังการกลับมาประเทศไทยของ น.ช.ทักษิณ ชินวัตร   อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี ในวันเดียวกับที่ประชุมรัฐสภาลงมติเห็นชอบนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่พรรคเพื่อไทยเสนอชื่อ นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี

สิ่งที่น่าแปลกใจคือ น.ช.ทักษิณ เมื่อมาถึงสนามบินดอนเมืองได้ยอมให้เจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไปศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อรับทราบข้อหาทั้งหมด และนำตัวเข้าสู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ชนิดที่ว่ากล้ายอมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมไทยแต่โดยดี

ในช่วงบ่ายในวันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา ทักษิณเข้าสู่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดย นายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้แถลงว่า "ทักษิณอยู่ในกลุ่มเปราะบาง มีอายุเกิน 70 ปี ดูจากประวัติการรักษาพบว่ามีโรคประจำตัวต้องเฝ้าระวังและรักษาอย่างต่อเนื่อง และเบื้องต้นได้แยกขังเดี่ยวอยู่ในแดน 7 ซึ่งเป็นสถานพยาบาล จากการตรวจสุขภาพพบประวัติ 4 โรค 1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2.โรคปอด ซึ่งพบว่าเคยเป็นโรคหัวใจอักเสบรุนแรงจากการเคยเป็นโรคโควิด 2.โรคปอด ซึ่งพบว่าเคยเป็นโรคหัวใจอักเสบรุนแรงจากการเคยเป็นโรคโควิด-19 3.ความดันโลหิตสูง 4.โรคภาวะเสื่อมตามอายุ"

แต่แล้วเริ่มมีพิรุธ เมื่อในเวลาเที่ยงคืนครึ่งของวันที่ 23 ส.ค. เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้นำตัวทักษิณออกจากนอกเรือนจำเพื่อไปรักษาตัวด่วนที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยโฆษกกรมราชทัณฑ์ระบุว่า ทักษิณมีอาการนอนไม่หลับ แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูง ระดับออกซิเจนปลายนิ้วต่ำ โดยทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ยังขาดเครื่องมือทางการแพทย์ที่มีศักยภาพ จึงเห็นควรส่งตัวไปที่โรงพยาบาลตำรวจที่มีความพร้อมกว่า

หลังจากที่ข่าวนี้เผยแพร่สู่สาธารณชน ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงการนำตัวออกจากเรือนจำในช่วงกลางดึก ทั้งที่ ทักษิณ อยู่ในเรือนจำยังไม่ครบ 24 ชม. โดยพาตัวออกไปรักษาที่โรงพยาบาลตำรวจ เข้าพักห้องวีไอพี พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า "ถ้าเป็นผู้ต้องขังรายอื่น จะได้สิทธิพิเศษแบบนี้หรือไม่"

ถ้าสังเกตการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัศดีในเรือนจำ เมื่อนำตัวผู้ต้องขังเข้าสู่เรือนจำ จะต้องอยู่ในแดนกักโรค ถ้าผู้ต้องขังเกิดอาการป่วย ทางพัศดีจะพิจารณาส่งตัวไปรักษาที่ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ ในช่วงเวลากลางวันเท่านั้น ตกช่วงกลางคืนจะไม่สามารถนำตัวไปรักษาได้ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกตื่นกับผู้ต้องขังรายอื่น และลดการก่อการจลาจล เว้นแต่ผู้ต้องขังรายนั้นจะถึงขั้นวิกฤตจำเป็นที่จะต้องรักษาในห้องไอซียู

และล่าสุดทางกรมราชทัณฑ์จะเปิดให้บุคคลใกล้ชิด ทนายความ หรือญาติ ที่ลงชื่อไว้ทั้งหมด จำนวน 10 คน เข้าเยี่ยม นายทักษิณ ชินวัตร ตั้งแต่เวลา 08.30-15.00 น. ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป โดย น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร และคนในครอบครัวเข้าเยี่ยมแล้ว

ส่วนการ ขอพระราชทานอภัยโทษ ทำได้ทันที และกรมราชทัณฑ์ก็มีความพร้อม ซึ่งตามขั้นตอน เมื่อญาติยื่นเอกสารแล้ว คณะกรรมการของกรมราชทัณฑ์ก็พิจารณาเสนอกระทรวงยุติธรรม และเสนอนายกรัฐมนตรี ซึ่งการพระราชทานอภัยโทษถือเป็นพระราชอำนาจ มี 2 ประเภท คือ เป็นการทั่วไป กับเป็นการเฉพาะราย

กรณีของทักษิณหากจะยื่นเฉพาะราย คาดว่ากระบวนการแล้วเสร็จ ไม่เกิน 1-2 เดือน ที่จะพิจารณาและมีผล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเอกสาร และขึ้นอยู่กับ "พระราชอำนาจ"

ส่วนกระบวนการลดโทษของกรมราชทัณฑ์คือ ตามระเบียบจะต้องรับโทษมาแล้ว 2 ใน 3 ของการกำหนดโทษ แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป จะต้องจำคุกมาแล้ว 1 ใน 3 ซึ่งนายทักษิณเป็นผู้สูงอายุ มีอาการป่วย และหากผ่านการอบรมต่างๆ ของเรือนจำ และชั้นของนักโทษ ซึ่งหากถึงเวลาหนึ่งในชั้นนักโทษก็คงมีการขยับแล้ว การขอพระราชทานอภัยโทษ กับการลดโทษ เป็นคนละเรื่องกัน จึงต้องแยกกัน

ทั้งนี้ ในกรณีการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการทั่วไปกับผู้ต้องขังในคดีทุจริต หรือคดียาเสพติด จะได้รับการลดโทษตามสัดส่วน ซึ่งน้อยกว่าความผิดอื่น

แต่ที่น่าจับตาคือ กลุ่มมวลชนเสื้อเหลืองที่เคยชุมนุมต่อต้านระบอบทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เริ่มออกมาเคลื่อนไหวคัดค้านทันที โดย นายพิชิต ไชยมงคล พร้อมนายนัสเซอร์ ยีหมะ แกนนำกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) และสมาชิกยื่นหนังสือถึงนายสหการณ์ เพ็ชรนรินทร์ รองปลัดกระทรวงยุติธรรม กรณีการเลือกปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษแก่นายทักษิณที่ถูกย้ายตัวออกมารักษาที่ รพ.ตำรวจ

ขณะที่ นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสี ยื่นหนังสือถึงนายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ ถึงการรับตัวนายทักษิณ ผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพเข้ารักษาตัวที่ รพ.ตำรวจ ได้รับสิทธิ์รักษาห้องพิเศษเหนือผู้ต้องขังทั่วไป โดย นพ.ตุลย์ได้สวมชุดดำไว้อาลัยให้กรมราชทัณฑ์และหน่วยงานผู้เกี่ยวข้องด้วย

ล่าสุด นายอนันต์ สาครเจริญ เหรัญญิกพรรคไทยภักดี พร้อมสมาชิกพรรค ยื่นหนังสือต่อนายอายุตม์ สินธพพันธุ์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เพื่อขอคัดค้านการขอพระราชทานอภัยโทษเป็นการพิเศษเฉพาะรายของ น.ช.ทักษิณ เนื่องจากเป็นคดีทุจริตคอร์รัปชัน สร้างความเสียหายร้ายแรง หลบหนีการลงโทษ ไม่ยอมรับคำพิพากษา จะเป็นการระคายเคืองเบื้องะระยุคลบาท ทำลายหลักนิติรัฐ นิติธรรม สร้างความเหลื่อมล้ำ พร้อมกับขุดคดีกองทัพแจ้งความ 112 จี้ อสส.เร่งเครื่องทำงาน

ความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้บรรยากาศการต่อต้าน พ.ร.ก.นิรโทษกรรมสุดซอย ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์หวนกลับมาอีกครั้่ง

จึงต้องจับตาว่า น.ช.ทักษิณ จะเดินเกมซ้ำรอยประวัติศาสตร์หรือไม่?. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯ เผยหลังลงพื้นที่นราธิวาส-มาเลเซีย กระชับความสัมพันธ์ทุกระดับ

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังลงพื้นที่ด่านสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส และเมืองรันเตาปันจัง รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย ว่า สืบเนื่องจากการพบนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา และการลงพื้นที่ของตนที่มาดูเรื่องเศรษฐกิจ 3 วัน 2 คืน

'เศรษฐา' สยบข่าวนายกฯสำรอง ย้ำ 314 เสียงมั่นคงแล้ว

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่มีชื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยเป็นนายกฯ สำรอง โดยนายอนุทินที่นั่งอยู่ข้างๆ หัวเราะ ก่อนนายอนุทินจะกล่าวว่า นั่งตัวลีบอยู่อย่างนี้ ขณะที่นายกฯ

นายกฯ สั่งตรวจสอบ TEMU อีคอมเมิร์ซจีนตีตลาดไทย ยันต้องเสียภาษี

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังลงพื้นที่จ.นราธิวาส ถึงกรณีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ Temu ของจีนเข้ามาตีตลาดไทย รวมถึงตลาดอื่นทั่วโลก จึงกังวลว่าเงินจะถูกส่งกลับจีน โดยไม่ได้มีการจ่ายภาษีให้กับประเทศไทยว่

'ศิริกัญญา' เอาใจช่วย 'เศรษฐา' ไม่หลุดนายกฯ หวัง 'ก้าวไกล' รอดยุบพรรค

'ศิริกัญญา' เชียร์ 'เศรษฐา' รอดคดี ไม่เห็นด้วยองค์การอิสระแทรกแซง ยังหวังก้าวไกลไม่ถูกยุบ ขอรอผล 7 ส.ค. ก่อน รับคุยหลายพรรคไม่ใช่แค่ถิ่นกาขาวฯ

เปิดผลสอบ 'กสม.' ชี้ชัด 'ทักษิณ' อภิสิทธิ์ชน ยื่น ป.ป.ช. ฟัน 'เรือนจำ-รพ.ตำรวจ'

กสม. สอบร้องเรียนปม 'ทักษิณ' ได้รับสิทธิรักษาพยาบาลดีกว่าผู้ต้องขังรายอื่น ชี้ชัด 'เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ-รพ.ตำรวจ' เลือกปฏิบัติละเมิดสิทธิ ยื่น ป.ป.ช.ฟัน