หลักเกณฑ์ ‘เบี้ยคนแก่’ ‘การบ้านล่วงหน้า’ รัฐบาลใหม่

เป็นประเด็นร้อนที่แทรกขึ้นระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล หลัง ราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 11 ส.ค. ได้มีการเผยแพร่ หลักเกณฑ์จ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฉบับใหม่ของกระทรวงมหาดไทย  

สาระสำคัญของหลักเกณฑ์ดังกล่าวที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมอย่างกว้างขวางคือ การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพว่า "เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติตามที่กฎหมายว่าด้วยผู้สูงอายุกำหนด" 

นักวิชาการบางคนถึงขั้นวิพากษ์แรงว่า เป็นทำให้สวัสดิการผู้สูงอายุในไทยถอยหลัง เพราะมองว่า หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ต่างอะไรกับการ ‘พิสูจน์ความจน’ ทั้งที่เรื่องเบี้ยผู้สูงอายุ หรือเบี้ยคนชรานี้ ต้องใช้แบบสวัสดิการ ‘ถ้วนหน้า’ 

ต่อมารัฐบาลพยายามชี้แจงดังกล่าว โดย น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาอธิบายว่า ในส่วนการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายเดิมยังได้อยู่ ส่วนเกณฑ์ใหม่นั้นต้องให้รอคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติเป็นผู้กำหนด  

ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย พยายามอธิบายหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยยกตัวอย่าง กรณีตัวเองที่เป็นข้าราชการบำนาญว่า สมควรจะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุหรือไม่ 

เช่นเดียวกับนายธนกร วังบุญคงชนะ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ยกตัวอย่างกรณีผู้บริหารห้างสรรพสินค้าชื่อดัง ที่มีอายุ 60 ปี สมควรได้รับหรือไม่ เพื่อทำให้สังคมเห็นภาพชัดว่า ทำไมจึงต้องกำหนดเรื่องผู้ไม่มีรายได้ หรือรายได้ไม่เพียงพอ  

แต่ดูเหมือนปฏิกิริยาของสังคมต่อคำชี้แจงจากภาครัฐ ไม่ได้ช่วยทำให้สถานการณ์ของรัฐดูดีขึ้น เพราะสังคมมีประเด็นโต้แย้งในเรื่องนี้เช่นกัน  เนื่องจากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่ซ้ำซ้อนกับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขณะเดียวกัน หากคนที่มีรายได้สูง มีฐานะ หรือไม่ประสงค์จะรับ ย่อมสามารถสละสิทธิ์นั้นได้ 

หลายภาคส่วนในสังคมขณะนี้คือ ไม่เห็นด้วยกับการวางหลักเกณฑ์นี้ 

เมื่อเสียงคัดค้านถาโถม ‘รัฐบาลรักษาการ’ ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่กำลังจะหมดอายุอีกในไม่กี่วัน จึงพยายามโยนไปให้ ‘รัฐบาลชุดหน้า’ เป็นผู้ตัดสิน  

โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ออกมายืนยันว่า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติชุดปัจจุบันยังไม่ได้มีการกำหนดนโยบายในเรื่องของการที่จะปรับลดเงินและจำนวนของเบี้ยผู้สูงอายุใดๆ ทั้งสิ้น พร้อมกับยืนยันว่า ใน ‘รัฐบาลรักษาการ’ นี้ ยังไม่มีนโยบายที่จะไปทำอย่างนั้น 

ฝั่งนายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ออกมาระบุว่า ต้องรอคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งตามมารยาทแล้วอยู่ที่ ‘รัฐบาลใหม่’ ว่าให้ทำอย่างไร  

ในส่วนนายปกรณ์ นิลประพันธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา อธิบายว่า ตามรัฐธรรมนูญที่กำหนดว่ารัฐบาลมีหน้าที่ดูแลคนอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ยากไร้ ส่วนที่จะมีเกณฑ์ที่ดูแลทุกคนหรือทุกกลุ่มถือว่าเป็นแนวนโยบายของแต่ละรัฐบาลที่จะทำเพิ่มขึ้น ซึ่งรัฐบาลจะดูในเรื่องของงบประมาณที่มีด้วย หากมีงบประมาณเพิ่มขึ้นก็อาจสามารถให้เพิ่มได้  

ฉะนั้น จึงอยู่ที่ ‘คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ’ ในรัฐบาลชุดหน้าว่า จะเอาอย่างไรกับหลักเกณฑ์นี้ 

เรื่องนี้นอกจากประเด็นทางสังคมแล้ว ยังถูกนำมาเป็นประเด็นทางการเมืองด้วย โดย ‘พรรคก้าวไกล’ นำโดยนายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พยายามชี้นำสังคมว่า รัฐบาลรักษาการกำลัง ‘ลักไก่’ และ ‘วางยา’ ทิ้งทวน พร้อมกับจับตาว่า รัฐบาลชุดใหม่จะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร  

แน่นอนว่า ความกดดันในเรื่องนี้จะตกไปอยู่กับ ‘รัฐบาลใหม่’ ทันที ตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มงาน โดยเฉพาะคนที่ต้องรับหน้าที่นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรีกำกับดูแลกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และรมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ คนต่อไป  

ถ้าเห็นพ้องกับหลักเกณฑ์นี้ รัฐบาลชุดหน้าที่ต้องเร่งสร้างผลงานเพื่อลดแรงกดดัน อาจจะเจอโจมตีอย่างหนัก โดยเฉพาะจาก ‘พรรคก้าวไกล’ ว่าที่ฝ่ายค้าน ที่เล่นกับเรื่องสวัสดิการ สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนได้อย่างมีพลัง 

หรือหากไม่เห็นด้วย จะจ่ายแบบถ้วนหน้า จะต้องใช้งบประมาณมหาศาล รัฐบาลชุดหน้าจะหาเงินมาจากไหน  

ขณะที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ อาจจะโดนโจมตีมาก แต่เมื่อยังไม่มีใครถูกตัดสิทธิ์ในตอนนี้ ผู้สูงอายุที่เคยได้ยังได้ปกติแบบ 100% ก็อาจจะโดนเบาหน่อย  

แต่เมื่อไม่เรียกประชุมคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งมีแนวโน้มสูงว่า จะยังไม่มีการประชุมในช่วงรัฐบาลรักษาการแล้ว แต่รอให้มีรัฐบาลชุดใหม่ก่อน  

เป็นการบ้านของรัฐบาลชุดใหม่ที่รัฐบาลรักษาการทิ้งไว้ให้ ‘ตัดสินใจ’ 

ส่วนจะเต็มใจรับหรือไม่เต็มใจรับการบ้านนี้ก็ต้องรับ ไม่มีทางเลือกอื่น 

หรือต่อจะให้มีการตั้งข้อสังเกตว่า หากวันนี้ไม่ได้เป็นรัฐบาลรักษาการ และพล.อ.ประยุทธ์ยังไม่ได้วางมือ หลักเกณฑ์ดังกล่าวจะไม่มีทางคลอดออกมาให้ถูกด่าแน่ หรือต่อให้คลอดออกมาแล้วถูกด่า พล.อ.ประยุทธ์ ย่อมถอยให้เพื่อฟังเสียงสังคมเหมือนกับหลายๆ ครั้ง ยิ่งผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญ และฐานเสียงสำคัญ พล.อ.ประยุทธ์ย่อมไม่มองผ่านแน่ก็ตาม. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่

โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้

นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า

‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’

แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี