9 ก.ค. ประชุมแมตช์ใหญ่ ขีดอนาคต 'ปชป. 2023'

 “....น่าแปลกใจที่ทั้งพรรคเต็มไปด้วยความเงียบงัน ไม่มีการเปิดตัวผู้อาสามาเป็นหัวหน้าพรรคหรือเลขาธิการพรรคคนใหม่ ไม่มีการรณรงค์หาเสียงเหมือนอดีตที่ผ่านมา ที่เราเคยเป็นต้นแบบระบบประชาธิปไตยภายในพรรค มีการแข่งขันกันอย่างเสรีเหมือนทุกครั้ง แต่กลับมีกระแสเล็ดลอดซุบซิบในวงแคบๆ ว่า มีการล็อกสเปกบุคคลที่จะมาเป็นหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ไว้แล้ว โดยกลุ่มอดีตผู้บริหารที่กุมเสียงว่าที่ ส.ส.ชุดปัจจุบันได้กว่า 17 คน ซึ่งตามข้อบังคับพรรคจะให้น้ำหนักโหวตถึง 70 เปอร์เซ็นต์ โดยมีเป้าต้องการที่จะร่วมรัฐบาล

ตนทราบมาว่าหลายคนอึดอัดกับท่าที ที่กำลังเป็นอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ เพราะทุกคนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงภายในพรรค เสมือนการปฏิรูปพรรคครั้งใหญ่ เป็นการถอยเพื่อถอดบทเรียน รับฟังเสียงจากสมาชิกส่วนใหญ่ให้มีส่วนร่วมด้วย ครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสุดท้ายที่ควรกระทำ เพราะถ้าหวังร่วมรัฐบาลเพียงอย่างเดียวโดยไม่สนใจรักษาจุดยืนของพรรค การเลือกตั้งครั้งต่อไปเราอาจจะไม่มีที่ยืนในสภาแม้แต่ที่เดียว…”

ตอนหนึ่งของจดหมายเปิดผนึกของ เชาว์ มีขวด สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตรองโฆษกพรรค ที่มีถึงผู้บริหารพรรคและสมาชิกพรรคทั่วประเทศ สะท้อนสถานการณ์ภายในพรรคที่เป็นสถาบันทางการเมืองในเวลานี้ได้ดี

ทั้ง ส.ส. อดีต ส.ส. ต่างยอมรับว่าการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและเลขาธิการพรรค ในวันที่ 9 ก.ค.นี้ ต้องยกให้เป็นการตัดสินใจของ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง เพราะที่ผ่านมาเขาคนนี้เป็นผู้อุปการคุณ ส.ส. ฉะนั้น เมื่อถึงเวลาก็ต้องตอบแทนบุญคุณ ผู้ใหญ่ว่าอย่างไร เด็กในสังกัดก็ต้องว่าตามนั้น จึงเป็นที่มาที่คนภายนอกเห็นว่านี่แหละ คือการล็อกโหวต

โดยเฉพาะ ส.ส.ชุดปัจจุบัน ปี 66 ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ว่านี้ ดูแลอย่างดี ไม่ขาดตกบกพร่อง และเป็นคนเบื้องหลังที่ทำให้หลายคนประสบความสำเร็จได้เป็นผู้แทนราษฎรเดินเข้าสู่สภา แต่การกระทำเช่นนี้ยอมมีเป้าหมาย โดยภายในพรรคพูดชัดเจนว่าผู้ใหญ่ที่มีอำนาจเต็มมือท่านนี้ มีเป้าหมาย อยากนำพาพรรคไปร่วมรัฐบาล โดยมีเงื่อนไขเพียงว่าไม่จับมือกับพรรคก้าวไกลเท่านั้น

หากก๊อกสอง พรรคเพื่อไทยได้จัดตั้งรัฐบาล “พรรคประชาธิปัตย์” ภายใต้เงามืดที่ชักใยอยู่ ก็พร้อมจะขอเข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลด้วย!!! เพราะติดใจการทำหน้าที่เป็นรัฐบาลมากกว่าการทำหน้าที่ฝ่ายค้านตรวจสอบฝ่ายบริหาร ไม่สนแม้แต่การต่อสู้ทางอุดมการณ์ในอดีตที่เคยรบกับพรรคเพื่อไทยมา

 หลายคนท้วงติงว่า อุดมการณ์ของประชาธิปัตย์เปลี่ยนไป ไม่เหมือน ประชาธิปัตย์ ยุคเก่า ที่เห็นแก่ประโยชน์ของบ้านเมืองมากกว่าปัจจุบันที่ยึดประโยชน์ของตนเป็นหลัก

นับจากนี้ อนาคตประชาธิปัตย์คงอยู่กับผู้มีอำนาจตัวจริงที่มีเสียง ส.ส.อยู่ในมือ จะมีวิสัยทัศน์ทำการเมืองอย่างไร จะหวังแค่น้ำบ่อนี้แล้วจบๆ กันไป ทิ้งพรรคไว้ลำพัง หรือจะทำให้ตนเองเติบโตควบคู่ไปกับพรรคที่เติบโตไปด้วย

อดีต ส.ส. สมาชิกพรรค แสดงความคิดเห็นกันหลากหลาย ประเมินกันว่าถ้าจะร่วมกับรัฐบาลนี้ก็มีแต่ เจ๊งกับเจ๊ง เพราะพรรคจะถูกลืมไปเรื่อยๆ ไม่มีวันกลับมายิ่งใหญ่ได้เหมือนเดิม จะมีแต่เล็กลงจนกลายเป็นพรรคขนาดเล็ก เว้นแต่ว่าจะไปลอกโมเดลของบางพรรคการเมืองที่ผงาดขึ้นมาได้ด้วยกระสุน

แล้วยิ่งหาก สงบปากสงบคำ เหมือนตอนเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ผ่านมาด้วยแล้ว ยิ่งจะทำให้ ประชาธิปัตย์ กลายเป็นพรรคจิ๋วแน่นอน

 เสียงเรียกร้องจากคนภายในพรรคส่วนหนึ่ง เชื่อว่าทางรอดทางออกเดียวของพรรค จะต้องเป็น ฝ่ายค้าน เท่านั้น เพราะอย่างน้อยที่สุด ด้วยบทบาทนี้จะอยู่ในสายตาของสังคม  ประชาชนจะคอยเงี่ยหูฟังตลอดว่าสิ่งที่รัฐบาลทำ ฝ่ายค้านเห็นอย่างไร

แต่กระนั้นก็ขึ้นอยู่กับบุคลากร โดยเฉพาะ 25 ส.ส.ของพรรคว่าจะทำงานจริงจัง ไม่เกี๊ยะเซียะกับใครเหมือนประชาธิปัตย์ยุคเก่าๆ หรือไม่ด้วย หรือจะทำตัวเป็นฝ่ายค้านเกียร์ว่าง พอถึงเวลาทำศึกซักฟอกก็ค้าข้อมูล เฉลยข้อสอบให้ฝ่ายตรงข้าม เหมือนที่พรรคอื่นเคยโดนซุบซิบมาแล้ว

เอาเป็นว่าอนาคตข้างหน้าของลูกแม่พระธรณีบีบมวยผม จะขึ้นหรือลงนั้น อยู่ที่ความคิดความอ่านของโหวตเตอร์  จะตัดสินใจกินอิ่มนอนอุ่นวันนี้ แล้วให้ประชาธิปัตย์ “จบที่รุ่นเรา”!! ก็แล้วแต่สะดวก

นับจากนี้ไปจนถึงวันที่ 9 ก.ค. ที่ประชาธิปัตย์นัดประชุมใหญ่วิสามัญ เพื่อออกแบบ ปชป. เวอร์ชัน 2023 เหลือเวลาอีกครึ่งเดือน คงได้เห็นความเคลื่อนไหวในรูปแบบต่างๆ สื่อสารไปยังผู้ใหญ่และ ส.ส.ในพรรคเพื่อพิจารณาต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยังไม่จบ ศึกชิงอำนาจสภาสูง แผนสองกินรวบ ปธ.กมธ.ทุกชุด!

วันอังคารนี้ 23 ก.ค. คาดว่าคงไม่เกินช่วงเที่ยงๆ ก็จะได้รู้กันแล้วว่า ผลการโหวตของสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เพื่อเลือก ประมุขสภาสูง-ประธานวุฒิสภา และ รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง-รองประธานวุฒิสภาคนที่สอง รวมสามเก้าอี้ใหญ่สภาสูงจะออกมาอย่างไร

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ปริศนา'เรือดำน้ำ' เปิด5ประเด็นสะดุด'ตอ'

ทริปเร่งด่วน ที่ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหม นำทีม พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ จักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสายตรงของ “นายกฯ" และ “ชินวัตร” บินไปจีนเมื่อช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่ ทร.ไทยจ้างบริษัทของจีนสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา

‘สภาสูง’ในเงื้อมมือค่ายน้ำเงิน ส่องภารกิจเลือก‘องค์กรอิสระ’

ภารกิจ 200 สว. แสดงตนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มารายงานตัวครบจบไม่ขาดไม่เกิน แต่สวนทางกับความอลหม่านที่กลุ่มต่างๆ ภายในสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ด้วยกันเอง