ข้อครหา "พิธา" ปธ.สภาฯ กล้าเสี่ยงไหม

มีเสียงเตือนจากมือกฎหมายของรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ เกี่ยวกับประเด็นนักการเมืองที่มีข้อครหาในคดีอาญา และคุณสมบัติส่อขัดรัฐธรรมนูญ ว่าสมควรจะมีการโหวตเป็นนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่ 

ภาระเผือกร้อนนี้ถูกส่งมาที่ ประธานสภาฯ คนใหม่ ว่าจะกล้าเสี่ยงบรรจุวาระการประชุมให้มีการลงมติ นายกฯ จะกล้านำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายหรือไม่ เพราะสิ่งที่เสนอต้องตรวจสอบความเรียบร้อย และหากมีอะไรผิดพลาด จำต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย ในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ตามหลักการรับสนองพระบรมราชโองการ ที่ถูกกำหนดให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้” 

ดังนั้นรัฐธรรมนูญในมาตรา 182 จึงกำหนดให้การกระทำของพระมหากษัตริย์ในกรณี “บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดินต้องมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญ” 

กล่าวคือ เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงทำตามคำแนะนำของผู้รับสนองพระบรมราชโองการแล้ว หากจะพึงมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นไม่ว่าในเรื่องใดๆ บุคคลที่จะต้องรับผิดชอบในทุกทางก็คือ ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการนั่นเอง และหลักการ "The King can do no wrong" 

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวเกิดขึ้นจากกรณี นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะว่าที่ ส.ส.และแคนดิเดตนายกฯ กำลังถูกร้องเรียนว่า ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ที่ห้ามให้ผู้สมัคร ส.ส.และแคนดิเดตนายกฯ เป็นเจ้าของหรือถือหุ้นสื่อ  

หลัง นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ ตรวจสอบพบว่า นายพิธามีหุ้นสื่อไอทีวี จำนวน 42,000 หุ้น ก่อนอ้างว่าสละมรดก และโอนไปให้น้องชายแล้ว โดยไม่ได้ระบุว่าในฐานะผู้จัดการมรดกแต่อย่างใด

ยังมีหลักฐานใหม่ว่า บริษัทไอทีวี แม้ไม่ประกอบการสื่อโทรทัศน์ แต่กำลังดำเนินการลงทุน ธุรกิจด้านสื่ออื่นๆ อยู่ ตอกย้ำว่า นายพิธา คุณสมบัติมีปัญหาใช่หรือไม่  

เบื้องต้น กกต.ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบปมหุ้นของนายพิธาแล้ว และเตรียมดำเนินการดำเนินคดีอาญา ผ่าน พ.ร.ป.ว่าการด้วยเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 151 ที่รู้อยู่แล้วไม่มีสิทธิ์ แต่ไปสมัครรับเลือกตั้ง มีโทษทั้งโทษจำคุก 1-10 ปี, ปรับ 2 หมื่นถึง 2 แสนบาท และตัดสิทธิ์การเมือง 20 ปี  

ด้านหนึ่งมองว่า กกต.ใช้ช่องทาง พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 151 ใช้เวลานาน ต้องการหนีรถทัวร์ ไม่อยากเป็นจำเลยของบรรดาด้อมส้ม 14 ล้านเสียงที่เลือกพรรคก้าวไกลมาเป็นอันดับ 1 และสุดท้ายเชื่อว่าก็จะพ้นความผิด เช่นเดียวกับการทำสำนวนฟ้อง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ กรณีถือหุ้นสื่อวีลัค มีเดีย หลังศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าขาดคุณสมบัติ แต่เมื่อฟ้องอาญาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วย ส.ส. มาตรา 151 อัยการกลับสั่งยกฟ้อง 

ขณะที่อีกด้านหนึ่งมองว่า กกต.มีแผนเด็ด และมีหลักฐานชัดเจนถึงการกระทำ จึงกล้าตั้งเรื่องฟ้องอาญาตามมาตรา 151 ได้ ซึ่งยังไม่ทราบจะแจ้งดำเนินคดีเมื่อใด แต่อย่างน้อยก็มีหลักฐานเพียงพอ ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญตัดสินได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 82 วรรคท้าย หลังจากรับรองนายพิธาให้เป็น ส.ส.แล้ว ก็สามารถยื่นเรื่องได้ 

เช่นเดียวกับ ส.ส.ในสภาฯ หาก กกต.รับรอง และได้รับการถวายสัตย์ปฏิญาณตน ประกอบกับมีการแต่งตั้งประธานสภาฯ เป็นที่เรียบร้อย ก็สามารถใช้เสียง จำนวน 1 ใน 10 หรือ 50 คน ยื่นประธานสภาฯ เพื่อให้ ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบคุณสมบัติ ส.ส.ของนายพิธาเรื่องหุ้นสื่อไอทีวี ที่ผูกโยงไปถึงคุณสมบัติแคนดิเดตนายกฯ ได้เช่นกัน  

หากฉากทัศน์เป็นดังที่ตั้งโจทย์ไว้ มีความเป็นไปได้ว่า ช่วงที่กำลังโหวตนายกฯ ศาลอาจรับพิจารณาเรื่องคุณสมบัติ ส.ส.ของนายพิธา พร้อมสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ แม้ไม่มีกฎหมายปิดช่องมิให้มีการโหวตนายกฯ    

แต่สถานภาพของนายพิธาที่มีข้อครหา ขณะที่ผู้จะมาเป็นนายกรัฐมนตรี ความเป็นแคนดิเดต นายกฯ จะต้องสมบูรณ์ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญด้วย   

ประกอบด้วย มาตรา 158 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี โดยแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งสภาผู้แทนราษฎร และให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี

มาตรา 159 ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีจากบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 160 และเป็นผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองแจ้งไว้ตามมาตรา 88   

ที่สำคัญต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 (3) บุคคลผู้มีลักษณะดังต่อไปนี้เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (3) เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ

ฉะนั้น ในเมื่อ "นายพิธายังมีข้อครหายังไม่ยุติ คำถามที่ตามมา ประธานสภาฯ จะกล้าบรรจุวาระการโหวตนายกฯ หรือไม่ ส.ส.และ ส.ว.จะกล้าโหวตหรือไม่ และประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นผู้ทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อนายกฯ จะกล้ารับผิดชอบหรือไม่ เพราะต้องรับผิดชอบในฐานะผู้รับสนองพระบรมราชโองการ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หวั่นเวชระเบียน'ทักษิณ'จุดชนวน รพ.ตำรวจอึมครึม คปท.ยกระดับ!

ขีดเส้น 15 ม.ค.นี้ คณะอนุกรรมการสอบสวนเฉพาะกิจ แพทยสภา ได้ส่งหนังสือถึง พล.ต.ท.นพ.นพศิลป์ เวชวิทารณ์ นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ จัดส่งเอกสารทำคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เวชระเบียนการรักษาของ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่เข้ารักษาตัวที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจ กระทั่งออกจาก รพ.ตำรวจ โดยมี นพ.อมร ลีลารัศมี อดีตกรรมการแพทยสภา เป็นประธานอนุกรรมการสอบ

ลุยเปิดกาสิโนส่อสะดุด กฤษฎีกาโดดขวางเต็มสูบ

แนวคิดการทำให้ พนันออนไลน์ ขึ้นมาอยู่บนดิน ตามที่ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาลเพื่อไทยตัวจริงส่งสัญญาณมา หลายคนยังมองโมเดลนี้ไม่ออกว่าจะทำได้อย่างไร เพราะน่าจะติดล็อกข้อกฎหมายหลายอย่าง รวมถึงต้องเจอแรงต้านในส่วนของภาคประชาสังคม

1ประเทศ2นายกฯ ระวังจบซ้ำรอยเดิม?

มีหลายส่วนในสังคม คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่พ้นโทษออกมาโดยไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว แต่ทำตัวเปรียบเหมือนเป็นเจ้าของรัฐบาล

'พิธา' ให้สัมภาษณ์งานแต่งข้ามขั้ว ครม.ครอบครัวสำคัญที่สุดในชีวิต

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินทางเข้าร่วมงานพิธีสมรสระหว่างนายธนาธร โล่ห์สุนทร สส.ลำปางพรรคเพื่อไทย และนางสาวรภัสสรณ์ นิยะโมสถ สส.ลำปาง พรรคประชาชน

ชื่นมื่น! 'ทักษิณ-พิธา' ร่วมงานแต่ง สส.ลำปาง เพื่อไทย-ประชาชน

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เดินทางมาร่วมพิธีฉลองมงคลสมรสระหว่างนายธนาธร โล่ห์สุนทร

เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง

การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด