สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ “โอไมครอน” กำลังสร้างแรงกดดันให้รัฐบาลหลายประเทศทบทวนมาตรการเปิดประเทศกันอย่างจริงจัง โดยเพิ่มความเข้มข้นในกระบวนการคัดกรองบุคคลที่เดินทางเข้าประเทศ เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19
แต่ด้วยสถานการณ์ของเชื้อกลายพันธุ์ และยังไม่มีการเปิดด่านชายแดนให้คนเดินทางเข้า-ออกอย่างเสรี ยกเว้นการขนส่งสินค้า ทำให้มีผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิด กม. ลักลอบเข้ามาทำงานในพื้นที่ชั้นในจำนวนมาก เพราะยังมีออเดอร์จากผู้ประกอบการ และภาคบริการที่ต้องการลูกจ้างมาช่วยทำงานในช่วงนี้
ทำให้รัฐบาลกังวลเรื่องการเคลื่อนไหวของแรงงานต่างด้าวที่ไม่ได้ผ่านการตรวจคัดกรอง โดยหลบหนีเข้ามาทางชายแดนในช่องทางธรรมชาติ จึงได้สั่งการให้หน่วยงานความมั่นคง โดยเฉพาะ กองทัพบก และ กอ.รมน. ตรึงกำลัง ตั้งจุดตรวจ ลาดตระเวนเพื่อสกัดกั้นการนำพาแรงงานเถื่อนเหล่านี้เข้ามาในประเทศ
โดยเฉพาะชายแดนตะวันตกด้านล่าง ที่มีสถิติการจับกุมได้หลายร้อยคน ภายใต้การดูแลพื้นที่ของกองกำลังสุรสีห์ ที่จัด 3 หน่วยเฉพาะกิจวางกำลังบริเวณตามแนวชายแดน ได้แก่ ฉก.ลาดหญ้า ฉก.ทัพพระยาเสือ และ ฉก.จงอางศึก โดยห้วง 2 เดือนที่ผ่านมา มีสถิติการจับกุมผู้ลักลอบเข้ามาทางแนวชายแดนได้จำนวนมาก
เมื่อหันมาดูสภาพพื้นที่ซึ่งเป็นป่า ภูเขา มีหมู่บ้านชายแดนตั้งขนานกันเป็นจุดๆ ระหว่างไทยกับเมียนมาตลอดแนว ทำให้การปฏิบัติของกองกำลังป้องกันชายแดนต้องปรับยุทธวิธีให้ทันกับการวางแผนของขบวนการลักลอบขนแรงงาน ที่เฝ้าติดตามการทำงานของเจ้าหน้าที่ในการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด เลยไปถึงการลาดตระเวน เหมือนเป็นการ “อ่านใจฝ่ายรัฐ” พร้อมกับหาข่าวการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่ในการออกปฏิบัติงานทุกวัน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นจังหวัดที่มีชายแดนทั้งทางบก-ทางน้ำที่ติดกับประเทศเมียนมาระยะทางค่อนข้างยาว กองกำลังสุรสีห์จึงมอบหมายให้ ฉก.จงอางศึก ดูแลชายแดนทางบก ระยะทาง 283 กม. พร้อมจัดวางแนวทางสกัดกั้นการกระทำผิดกฎหมายตามที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กำหนดไว้ 3 แนวทาง ได้แก่ พื้นที่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ ร่วมกับตำรวจตระเวณชายแดน (ตชด.) เป็นผู้รับผิดชอบพื้นที่ต้นน้ำ แต่จะบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานอื่น อาทิ ฝ่ายปกครอง ผู้นำชุมชน และชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
เมื่อต้องเจอกับ การวางหมาก ของขบวนการนำพาแรงงานต่างด้าวที่ใช้วิธีหนีการตั้งจุดตรวจ เดินเท้าอ้อมพื้นที่การทำงานของเจ้าหน้าที่ ไปพักคอยรอเวลาไปยังจุดนัดหมายเพื่อขึ้นรถไปยังพื้นที่ชั้นในส่งต่อไปยังผู้ประกอบการ
ทำให้ทางหน่วยนำแนวคิด สนามรบด้านการข่าว มากำหนดการปฏิบัติตั้งจุดตรวจแบบไม่ประจำที่ หรือ POP UP และทำการลาดตระเวนจรยุทธ์ ซุ่มเฝ้าตรวจ (พักค้างแรม) ในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเป็นการแสดงกำลัง และบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ของผู้กระทำผิดให้เข้าสู่พื้นที่เป้าหมายสนใจ
ตามนโยบายข้อเน้นย้ำของผู้บัญชาการกองกำลังสุรสีห์ ในการมุ่งเน้นการปฏิบัติงาน เฝ้าตรวจระวังแบบ dynamic มากกว่าแบบ static ที่เป็นเป้านิ่ง โดยมีการปรับแผนการปฏิบัติในแต่ละวันเพื่อ ย้อนเกร็ด ขบวนการที่มักได้รับข่าวสารวงใน เพราะมี "เกลือเป็นหนอน" จากฝ่ายไทยเองปูดข่าวความเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่
จากนั้นใช้ชุดข่าวที่หน่วยได้จัดตั้งไว้เข้าสังเกตการณ์ในพื้นที่เป้าหมาย กรณีตรวจพบผู้หลบหนีเข้าเมือง ชุดข่าวจะทำการแจ้งให้ชุดเคลื่อนที่เร็วที่จัดเตรียมไว้เข้ามาดำเนินการจับกุม
ในปัจจุบัน ฉก.จงอางศึก จัดตั้งจุดตรวจแบบประจำที่ ตลอด 24 ชั่วโมง 15 จุด และจุดเฝ้าตรวจแบบไม่ประจำที่ตลอด 24 ชั่วโมง ตามแผนที่มอบหมายให้ในแต่ละวัน นอกจากนั้นยังวางเครื่องกีดขวางปิดกั้น เช่น รั้วลวดหนาม, ประตูเหล็ก, ไม้ไผ่ (ขวาก) ทั้งในช่องทางหลัก 34 ช่องทาง และช่องทางธรรมชาติ 8 ช่องทาง ที่ได้ร่วมบูรณาการจัดสร้างขึ้น ตั้งแต่เมื่อปี 2563
อีกทั้งเสริมยุทโธปกรณ์พิเศษ เช่น อากาศยานไร้คนขับ (dji PHANTOM 4 Pro), กล้องตรวจการณ์กลางคืน ชนิดตาเดียว รุ่น PVS-14, รั้วไร้สาย แบบสายดัก, เครื่อง GPS แบบพกพา ยี่ห้อ Garmin รุ่น eTrex 30, กล้องวงจรปิดไร้สาย แบบซิมการ์ด (เคลื่อนที่) ยี่ห้อ EZVIZ รุ่น CS-C3A, กล้องวงจรปิดไร้สาย แบบซิมการ์ด 4 ตัว แบบไม่มีซิมการ์ด 4 ตัว (ประจำที่) , ไฟส่องสว่าง สปอตไลท์ โซลาร์เซลล์
และจัดกำลังจากหน่วยพร้อมรบเคลื่อนที่เร็ว หรือ อาร์ดีเอฟ จาก ร.19 พัน.3 จำนวน 2 หมวดชุดปฏิบัติการ และอีก 1 หมวดป้องกันชายแดนจาก กกล.สุรสีห์เพิ่มเติม ซึ่ง พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก อนุมัติตามที่ พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด อนุมัติเพิ่มกำลัง 4 กองร้อยในการซีลชายแดนตั้ง
ส่งผลให้ช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน 2564 เพียงไม่ถึงสองเดือน มีการจับกุมผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายเพิ่มมากขึ้น โดยในห้วงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 จนถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา 2 เดือน มีการจับกุมทั้งสิ้น 36 ครั้ง จำนวน 933 คน เฉพาะเดือน พ.ย.จับกุมได้ 600 กว่าคน
จากข้อมูลพบว่า ในช่วง 2 เดือนดังกล่าวมีแรงงานต่างด้าวทะลักเข้ามามาก เนื่องจากมติ ครม.ที่เปิดโอกาสให้แรงงานที่มีนายจ้างมาต่อเล่มทะเบียน สบช่องให้ต่างด้าวลักลอบเข้ามาทางชายแดน ทะลุทะลวงเข้ามาถึงมือผู้ประกอบการ เป็นการฟอกตัวเข้าสู่ในระบบ ซึ่งห้วงเวลาที่เปิดให้ลงทะเบียน คือ วันที่ 1 พ.ย.-30 พ.ย. (ขยายเวลาถึง 7 ธ.ค.64) และขั้นตอนต่อไป แรงงานกลุ่มนี้จะมีการจัดทำเอกสารพาสปอร์ตขึ้นทะเบียนที่ one stop service ในช่วงวันที่ 25-26 ธ.ค.นี้ผ่านขั้นตอนต่างๆ กลายเป็นแรงงานถูก กม.ทันที
ทำให้ทุกคนที่อยู่ในขบวนการทั้งหมดยอมเสี่ยง ทั้งตัวแรงงานต่างด้าวเอง ขบวนการนำพา โบรกเกอร์ นายหน้า เพราะจากต้นทางถึงปลายทาง ต่างเต็มไปด้วยผลประโยชน์ ภายใต้การหลิ่วตาของเจ้าหน้าที่บางคน ในหน่วยงานรัฐให้มีการขึ้นทะเบียนจำนวนแรงงานในสถานประกอบการไว้มากกว่าจำนวนที่มีอยู่จริงแล้วไปหาคนมาเติม ซึ่งส่วนนี้ก็คือภาพต่างด้าวที่ทะลักเข้าไทยนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแรงงานที่นำเข้ามาตามเอ็มโอยู จะมีการตั้งศูนย์กักตัวที่จังหวัดตาก สระแก้ว หนองคาย ที่จะเปิดขึ้นในต้นปีหน้า ส่งผลให้ปริมาณแรงงานในระบบเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในภาพรวมจึงคาดว่าสถานการณ์ลักลอบเข้าเมืองโดยผิด กม.จะลดน้อยลง เนื่องจากจำนวนแรงงานเพียงพอกับความต้องการในช่วงเปิดประเทศ
ได้แต่ลุ้นว่ากลุ่มที่เล็ดลอดเข้ามาฟอกขาวเหล่านี้จะไม่เป็นจุดแพร่กระจายเชื้อไวรัสเข้ามาในประเทศ!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567
ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!
แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่
โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้
นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า
‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’
แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี