เลือกตั้งล่วงหน้าสารพัดปัญหา 14พฤษภาฯ กกต.อย่าให้ซ้ำรอย

การเลือกตั้งล่วงหน้าเมื่อวันที่ 7 พ.ค.ที่ผ่านมา เกิดดรามาสารพัดปัญหาเข้าถาโถมใส่ กกต.ทุกทิศทาง และแม้จะปิดหีบการเลือกตั้งล่วงหน้าของผู้มีสิทธิ์ 2 ล้านคน ตั้งแต่เวลา 17.00 น.ของวันเลือกตั้งดังกล่าว แต่จนถึงวันนี้ ชาวโซเชียลยังตั้งคำถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งล่วงหน้า ถึงขั้นทนไม่ไหวแห่กันลงแฮชแท็ก #กกต.ต้องติดคุก #กกต.มีไว้ทำไม ติดเทรนทวิตเตอร์ของไทย

โดยส่วนใหญ่ได้มีการโพสต์การทำงานที่ผิดพลาดของกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งในระหว่างการลงคะแนน พร้อมทั้งเปิดที่มาของ กกต.ทั้ง 7 คน นอกจากนี้ยังมีการลงชื่อถอดถอนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ผ่านเว็บไซต์ผ่าน Change.org โดยมีผู้เข้าลงชื่อถอดถอนทะลุ 1 ล้านคนภายใน 24 ชม.

สารพัดปัญหาที่ว่ามานั้นมีเข้ามามากมายนับไม่ถ้วน ยกตัวอย่าง เรื่องที่เอกสารพรรคการเมืองที่ติดหน้าหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่ จ.ชลบุรี ถูกคนมือบอนฉีกไปตั้งแต่ลำดับที่ 29 ขึ้นไป ซึ่งหน้าที่ถูกฉีกเป็นหน้าที่มีพรรคพรรคใหญ่ หรือพรรคที่มีชื่อชั้นอยู่ด้วยทั้งพรรคเพื่อไทย เบอร์ 29 พรรคก้าวไกล เบอร์ 31 พรรคไทยสร้างไทย เบอร์ 32 และพรรคพลังประชารัฐ เบอร์ 37

ประเด็นกระบวนการตรวจสอบคัดแยกบัตร กรณีกรรมการประจำหน่วย (กปน.) เขียนรหัสจังหวัด หรือเขตเลือกตั้งผิดพลาด เช่น กรณีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งเขียนเขตเลือกตั้งและจ่าหน้าซองผิด เช่น ที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ที่มีปัญหาถึง 148 ซอง คือการกรอกรหัสหน้าซองบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าผิด

ขณะที่ กกต.ชี้แจงว่า หลังปิดหีบจะมีการตรวจสอบว่าต้นขั้วที่ใช้ไป กับจำนวนบัตรที่ออกเสียงตรงกันหรือไม่ และกรรมการประจำหน่วยจะทำบัญชีมา เมื่อไปรษณีย์ได้รับถุงบัตรมาแล้ว ก็จะทำการตรวจเบื้องต้น เมื่อคัดแยกเสร็จก็จะดูว่าจำนวนซองที่คัดแยกกับยอดต้นขั้วตรงกันหรือไม่ ดังนั้นยอดจะกระทบกันโดยอัตโนมัติ

ถ้ากรณีมีการจ่าหน้าซอง ถ้าถูกต้องทั้ง 3 จุด ก็จะถูกแยกออกไปเลย หรือแม้ถ้ามีปัญหากรอกครบ แต่เขียนเขต หรือรหัสเลือกตั้งผิด จะยึดรหัสเขตเลือกตั้ง 3 ตัวท้าย ซึ่งอยู่ด้านล่างของซองเป็นหลัก แต่ถ้ากรอกไม่ครบ หรือไม่มีรายละเอียดใดๆ หรือไม่มีการกรอกอะไรเลย

ด้าน นายแสวง บุญมี  เลขาฯ กกต.มองว่า กรณีนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้น โดยกรณีดังกล่าวจะถูกส่งมาให้คณะกรรมการที่มีเจ้าหน้าที่ กกต. และไปรษณีย์วินิจฉัยว่าซองนี้จะไปลงเขตใด ซึ่งจะต้องไปสอบทานกับต้นขั้วก่อน ยอมรับว่าอาจจะยุ่งยากพอสมควร

นอกจากนี้ยังมีที่ จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี พบว่ามีการนำรถไปรับผู้สูงอายุมาเลือกตั้งล่วงหน้า และมีการเก็บบัตรประชาชน บางพื้นที่ถ่ายรูปบัตรในขณะเข้าคูหาเลือกตั้ง

กรณีเจ้าหน้าที่ประจำหน่วยเลือกตั้งในพื้นที่วัดหว่านบุญคลอง 6 จ.ปทุมธานี โดยผู้พิการทางสายตาระบุว่ามาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง แต่เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้กาบัตรเลือกตั้ง แต่เจ้าหน้าที่กาบัตรให้เอง และไม่ให้ผู้พิการทางสายตาตรวจสอบบัตรดังกล่าวมีอักษรเบรลล์หรือไม่

โดย กกต.ออกคำชี้แจงว่า มีการจัดทำ "คู่มืออักษรเบรลล์" รณรงค์การเลือกตั้ง ส.ส.จำนวน 1,000 เล่ม แจกจ่ายไปยังสำนักงาน กกต.เลือกตั้งประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร จำนวน 77 จังหวัด จังหวัดละ 3 เล่ม รวมจำนวน 231 เล่ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนผู้พิการทางการมองเห็นได้ทราบถึงกระบวนการ และขั้นตอนการเลือกตั้ง วันที่ 14 พ.ค.นี้

หรือแม้แต่ประเด็นหยุมหยิมอย่างกรณีกระดาษที่พิมพ์ชื่อ จังหวัดพะเยา เป็น พระเยา​ หรือ พเยาว์ ในการเลือกตั้งในล่วงหน้า​ ซึ่ง ผอ.กกต.พะเยา​ ชี้แจงว่า​ หลังจาก กกต.พะเยา ส่งรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ใน จ.พะเยา ให้แต่ละเขต เพื่อจัดการเลือกตั้งล่วงหน้า จากนั้นขั้นตอนการติดประกาศ แต่ละเขตจะดำเนินการเอง รวมถึงการพิมพ์ใบปะหน้าที่เขียนผิด ตรงนี้แต่ละเขตดำเนินการ ซึ่ง กกต.พะเยาไม่อาจรู้ได้ว่ามาจากเขตไหน เพราะถ่ายรูปที่เขียนผิดมาแค่นั้น

สำหรับความผิดพลาดครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก​ เพราะในกรณีการเลือกตั้งเมื่อปี​ 2562 ก็มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้น​ทั้งประเด็นที่ นายอิทธิพร​ บุญประคอง​ ประธาน กกต. ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิ์ผิด​65.96% ซึ่งในเอกสารระบุว่า​ 74.69% ประเด็นระหว่างนับ​ คะแนนของผู้สมัครบางคนถูกปรับลด​ และประเด็นสั่นสะเทือนต่อ กกต.มากที่สุดคือถุงเมล์ที่ใส่บัตรเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร​ที่​ประเทศนิวซีแลนด์​มาส่งถึง​ไทยในเช้าวันเลือกตั้ง แต่สำนักงาน กกต.กลับไม่ส่งไปยังภูมิลำเนาต่างๆ​ เพราะมองว่ายังไงก็ส่งไม่ทันก่อนปิดหีบในเวลา​ 17.00 น.

อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่างๆ ในการเลือกตั้งปี​ 2566 นี้​ ส่วนใหญ่เกิดจากกรรมการประจำหน่วยที่ทำงานผิดพลาด​ เนื่องจากคนที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าว​ ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านที่เข้ามาช่วย โดย กกต.เป็นผู้จัดอบรมเตรียมความพร้อมให้​ ซึ่งหน่วยเลือกตั้งทั้งหมดในวันที่​ 14 พ.ค.​ มีถึง​ 95,000 หน่วย​ กกต.คงไม่สามารถนำเจ้าหน้าที่ของตั​วเองไปอยู่ประจำหน่วยได้ทุกเขต​

โดย นายแสวง-เลขาฯ กกต. ย้ำว่า วันเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ค. จะไม่ให้มีสิ่งผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ เกิดขึ้นอีก และคาดว่าการเลือกตั้งในวันดังกล่าว การบริหารจัดการจะง่ายกว่านี้ เพราะไม่ต้องส่งไปรษณีย์ และบุคลากรที่จะทำงานมีมากกว่านี้ การลงคะแนนตรงตามหน่วยเลือกตั้งนั้นๆ ประชาชนจะไม่สับสน แต่คิดว่าเรื่องหีบไม่ใช่เรื่องสำคัญ ที่สำคัญคือปัญหาการจ่าหน้าซอง แต่ก็ยืนยันว่าเรามีกระบวนการตรวจสอบ ขอให้ผู้ใช้สิทธิ์มั่นใจว่าซองบรรจุบัตรเลือกตั้งจะถูกส่งไปยังหน่วยเลือกตั้งของผู้มีสิทธิ์

จากสารพัดปัญหาดังกล่าว  จึงเป็นที่จับตาในการทำงานของกกต.​และกรรมการประจำหน่วย​  ว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย​แค่ไหน ยิ่งวันที่​ 14 พ.ค.​เป็นวันที่ประชาชนมาใช้สิทธิ์มากที่สุด​ จึงต้องจับตาตั้งแต่การหย่อนไปจนถึงการนับคะแนน ที่อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นอีกก็เป็นไปได้?.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต. ประกาศวันรับสมัคร-เลือกตั้ง สมาชิกอบจ.-นายกอบจ.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่เอกสารประชาสัมพันธ์ ระบุว่าผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ประกาศ

ศึก 'นายก อบจ.เชียงราย' เดือด! ทักษิณไฟเขียวเปิดตัว 'เมียยงยุทธ' ชน 'วันไชยธนวงศ์'

ชิงเก้าอี้ 'นายก อบจ.เชียงราย' ระอุ! 'ยงยุทธ' นัดแถลงเปิดตัวส่งเมียลงสมัคร หลัง 'ทักษิณ' ไฟเขียว ชน 'อทิตาธร วันไชยธนวงศ์' ส่วนพรรคส้มยังเงียบ

ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง

เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว

'ทักษิณ'พังการเมืองท้องถิ่น กระหายอำนาจ ไม่สนขัดแย้ง

“นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เจ้าของพรรคเพื่อไทย ต้องการฟื้นคืนชีพระบอบทักษิณโดยไม่สนใจบทเรียนในอดีต จนตัวเองและน้องสาวต้องหนีออกนอกประเทศ รวมถึงบริวารต้องติดคุกแทน

ประธานกกต. เซ็นมตั้ง 415 ผู้ตรวจการเลือกตั้ง รับมือเลือกตั้งอบจ. 1 ก.พ.68 

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกกต.ลงนามในหนังสือคำสั่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ลงวันที่ 18 ธ.ค. 2568 เรื่องแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้งประจำจังหวัด สำหรับปฏิบัติหน้าที่ในการเลือกตั้งนายกองค์การ