นโยบายหาเสียงเป็นหนึ่งในวิธีชูโรงของพรรคการเมืองให้ได้มาซึ่งความนิยม และคะแนนเสียง และยิ่งถึงช่วงเวลาเลือกตั้ง พรรคการเมืองใหญ่ต่างงัดนโยบายเด็ดๆ ออกมาสู้กัน
ทั้งนี้ ในกระบวนการการเลือกตั้งพรรคการเมือง ทุกพรรคจะต้องส่งรายละเอียดนโยบายหาเสียงต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามมาตรา 57 พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ที่ต้องระบุ 3 เรื่อง คือ 1.วงเงินที่ต้องใช้ 2.ที่มาของเงินที่จะใช้ดำเนินการ และ 3.ความคุ้มค่าประโยชน์ในการดำเนินการและความเสี่ยง
ล่าสุดพรรคการเมืองทั้งหมด 70 พรรค ได้ยื่นเข้ามาเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้ กกต.ได้เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์สู่สาธารณชนแล้ว โดยจะคัดนโยบายพรรคการเมืองใหญ่ๆ ว่าได้ลงรายละเอียดอะไรไว้บ้าง
เริ่มจาก พรรคเพื่อไทย เสนอมาทั้งหมด 70 นโยบาย โดยคัดนโยบายชูโรง อาทิ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน กระเป๋าเงินดิจิทัล โดยพรรคเพื่อไทยระบุวงเงินที่จะใช้ครั้งนี้ 5.6 แสนล้านบาท โดยที่มาของเงินที่ใช้ดำเนินการมีดังนี้ จากการบริหารระบบงบประมาณและระบบภาษี 1.ประมาณการรายได้รัฐที่เพิ่มขึ้นในปี 2567 จำนวน 2.6 แสนล้านบาท 2.ภาษีที่ได้มาจากผลคูณต่อเศรษฐกิจจากนโยบาย 1 แสนล้านบาท 3.การบริหารจัดการงบประมาณ 1.3 แสนล้านบาท 4.การบริหารงบประมาณด้านสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 9 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสมตามสถานการณ์ด้านการคลังของประเทศ
ส่วนนโยบายอื่นๆ อาทิ นโยบายเงินสมทบคนสร้างตัว วงเงินที่ต้องใช้ 9 หมื่นล้าน, นโยบายสวัสดิการผู้สูงอายุ 3 แสนล้านบาท, รถไฟฟ้า กทม. 20 บาทตลอดสาย 4 หมื่นล้าน 8 พันล้านต่อปี, นโยบายเชื่อมโยงรถไฟขนส่งสินค้าจากลาวเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง และสนามบินสุวรรณภูมิ 4.5 หมื่นล้าน, เชื่อมโครงข่ายรถไฟความเร็วสูง ทั่วประเทศ 8 หมื่นล้าน, นโยบายบริหารจัดการน้ำ ไม่ท่วม ไม่แล้ง เบื้องต้น 5 แสนล้านบาท, เงินเดือนคนจบปริญญาตรี 2.5 หมื่นบาท ใช้เงิน 4 หมื่นล้าน, สนับสนุนส่งเสริมเอสเอ็มอี 3 หมื่นล้าน, นโยบายยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค เพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ 3 พันล้านบาท รวมๆ แล้ว 70 นโยบายเป็นเงินที่จะใช้ 3 ล้านล้านบาท
สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ นโยบายที่น่าสนใจ อาทิ ลดต้นทุนเกษตรกร วงเงิน 6 พันล้านบาท, เพิ่มเงินสมทบของภาครัฐ เพื่อให้แรงงานในระบบประกันสังคม วงเงิน 2.9 หมื่นล้านบาท, 1 อำเภอ 100 ทุนการศึกษา ปีละ 1 พันล้านบาท, กองทุนฉุกเฉินประชาชน วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท, บัตรสวัสดิการพลัส วงเงิน 7.1 หมื่นล้าน, คนละครึ่งภาค 2 วงเงิน 4 หมื่นล้านบาท, เที่ยวด้วยกันเมืองรองภาค 2 วงเงิน 1.8 หมื่นล้านบาท, เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 4 หมื่นล้านบาท, ช่วยเหลือเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ปีละ 4 พันล้าน, กองทุนพ่อเลี้ยงเดี่ยวแม่เลี้ยงเดี่ยว ปีละ 1 พันล้านบาท, ค่าตอบแทน อปพร. วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท รวมวงเงินที่ใช้จ่ายประมาณ 2.5 แสนล้านบาท
ขณะที่ พรรคพลังประชารัฐ มีนโยบายที่น่าสนใจ อาทิ บัตรประชารัฐ 700 และฟรีประกันชีวิตประชารัฐ วงเงิน 1.28 แสนล้าน, แม่-บุตร-ธิดาประชารัฐ 1.74 แสนล้านบาท, เบี้ยผู้สูงอายุ 4.95 แสนล้านบาท, สุขภาพครบวงจร 5 พันล้านบาท, การบริหารจัดการน้ำ 1 หมื่นล้านบาท, บริหารที่ดิน 3 พันล้านบาท, กองทุนประชารัฐ วงเงินปีละ 1 แสนล้านบาท, ก๊าซประชาชน 2.4 หมื่นล้านบาท, เรียนฟรีถึงปริญญาตรี 5.2 หมื่นล้านบาท ฯลฯ รวมใช้จ่ายเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท
ด้าน พรรคภูมิใจไทย นโยบายชูโรง อาทิ ฟรีกองทุนประกันชีวิตผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป เสียชีวิตได้ 1 แสนบาท กู้ได้ 2 หมื่นบาท ใช้งบ 3.7 หมื่นล้านบาท, ฟรีน้ำดื่มสะอาด ติดตั้งเครื่องกรองน้ำทุกหมู่บ้าน ลดค่าใช้จ่ายทุกครัวเรือน โดยใช้วงเงิน 2 ส่วน ประกอบด้วย ค่าจัดซื้อและติดตั้งเครื่องกรองน้ำขนาด 6,000 ลิตรต่อวัน 3.9 4 พันล้านบาท และค่าปรับปรุงพื้นที่ เพื่อรองรับการติดตั้ง 2.25 พันล้าน, เงินกู้ฉุกเฉิน 5 หมื่นบาท ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ ไม่ต้องค้ำประกัน ผ่อนชำระวันละ 150 บาท 365 วัน โดยเป็นวงเงินมาจากสถาบันการเงิน ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐให้สินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 7 แสนล้านบาท, ส่งเสริมการใช้กัญชากัญชงเพื่อการแพทย์สุขภาพและเศรษฐกิจโดยไม่มีวงเงินต้องใช้
พรรคก้าวไกล นโยบายที่น่าสนใจ อาทิ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ วงเงินที่ต้องใช้ 3 พันล้านบาท, ปฏิรูปกองทัพ ใช้งบประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท, สร้างสังคมคนเท่ากัน 3.6 พันล้านบาท, สวัสดิการ "เกิด" 5 หมื่นล้านบาท, สวัสดิการ "เติบโต" 4.4 หมื่นล้านบาท, สวัสดิการ "ทำงาน" 5.6 หมื่นล้านบาท, สวัสดิการ "สูงอายุ" 5 แสนล้านบาท, สวัสดิการ "ทุกช่วงวัย" 9.8 หมื่นล้านบาท, เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด 3 พันล้านบาท, เพิ่มงบจังหวัดจัดการตนเอง 2 แสนล้านบาท, การศึกษาฟรีจริง 3.3 หมื่นล้านบาท, การศึกษาเท่าทันโลก 2 ร้อยล้านบาท, ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 1.7 หมื่นล้านบาท, ปฏิรูปที่ดินทั้งระบบ 1 หมื่นล้านบาท, ปลดหนี้เกษตรกร 5.2 หมื่นล้านบาท, ลดต้นทุนเกษตรกร 3 หมื่นล้านบาท, คืนชีวิตให้ชาวประมง 6 พันล้านบาท, เอาจริงกับโลกร้อน 1 หมื่นล้านบาท, ดูแลหมาแมวถ้วนหน้า 1 พันล้านบาท
และ พรรคประชาธิปัตย์ นโยบายที่น่าสนใจ อาทิ ประกันรายได้จ่ายเงินส่วนต่าง ข้าว มัน ปาล์ม ข้าวโพด 7 หมื่นล้านบาท, ชาวนารับ 3 หมื่นบาทต่อครัวเรือน 9.7 หมื่นล้านบาท, Startup sme 3 แสนล้านบาท, ธนาคารหมู่บ้านแห่งละ 2 ล้านบาท 1.6 แสนล้านบาท, Internet ฟรีทุกห้องเรียนทุกหมู่บ้าน 1 ล้านจุด 3.6 พันล้านบาท, ฟรีนมโรงเรียน 365 วัน 2 หมื่นล้านบาท
โดยหลังจากนี้สำนักงาน กกต.จะต้องศึกษาว่าทั้ง 70 พรรคที่เสนอมามีข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งกระบวนการจะต้องทำโดยเร็ว โดยในสัปดาห์หน้าจะนำเข้าสู่ที่ประชุม กกต.
ทั้งนี้ ตามมาตรา 57 ระบุว่า ถ้าหากเห็นว่าข้อมูลที่พรรคการเมืองส่งมายังไม่ครบถ้วน ก็จะให้โอกาสพรรคการเมืองส่งข้อมูลเพิ่มมาอีกครั้ง แต่หากส่งไม่ครบภายในระยะที่กำหนด จะปรับวันละ 10,000 บาท แต่ปรับไม่เกิน 500,000 บาท
แต่ถ้าผลออกมานโยบายหาเสียงไม่ถูกต้องก็ถือว่าเข้าข่ายความผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 73 (5) หลอกลวงให้เข้าใจผิดในคะแนนนิยมของผู้สมัครหรือพรรคการเมือง เป็นเหตุให้นำไปสู่การพิจารณายุบพรรคได้ตามกฎหมาย แต่ กกต.จะต้องพิสูจน์ให้ได้ก่อนว่านโยบายหาเสียงที่ใช้เข้าข่ายความผิดหรือไม่
ทั้งนี้ การพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำความผิด พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง และพรรคการเมือง กกต.สามารถตรวจสอบได้เลย เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่า กกต.พบความปรากฏ หรือจะรับเรื่องร้องเรียนก็ได้!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทพไทจวก ‘พรรคร่วม’ ทำตัวเป็นลูกไล่ทักษิณ
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊ก "เทพไท - คุยการเมือง"
อภิสิทธิ์-อดีตนายกรัฐมนตรี มอง 'จุดเสี่ยง' รัฐบาลเพื่อไทย ระเบิดการเมือง วางไว้เองหลายลูก
แม้ขณะนี้จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นทางด้านการเมือง
รัฐบาลลุยขายฝันหนีบ่วงการเมือง แกนนำม็อบขยับจัดทัพเดินหน้าไล่
การแถลงผลงานรัฐบาลในรอบ 3 เดือนของ อุ๊งอิ๊ง-น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้ชื่อ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” ที่สตูดิโอ 4 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT)
'ภูมิธรรม' ตีมึนไม่รู้ 'ทักษิณ' หมายถึงใคร
นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์กรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พูดบนเวทีสัมม
อดีตบิ๊กเพื่อไทย หวังจะไม่ใช่ขบวนรถไฟเที่ยวสุดท้าย!
นายสามารถ แก้วมีชัย อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่ิไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า “วันนี้ นายกฯ อดีตนายกฯ สส พรรคแกนนำรัฐบาล นั่งรถไฟ
'ทักษิณ' รับเคยคุย 'สจ.โต้ง' ส่งเมียชิงนายก อบจ. หนุน ตร. ล้างบางบ้านใหญ่ปราจีน
'ทักษิณ' รับเคยคุย 'สจ.โต้ง' ส่งเมียลงชิง 'นายก อบจ.ปราจีนฯ' ในนามเพื่อไทย ซัดเลวร้ายมาก ฆ่ากันเหตุฮั้วไม่ลงตัว ชมเปาะ ตร.ฟิตกวาดล้างผู้มีอิทธิพลเกลี้ยงแน่