ปล่อย “ค่าไฟแพง” มหาโหด วิกฤตคะแนนนิยมพรรคการเมือง

ว่าด้วยเรื่องค่าไฟ เดือนนี้ประชาชนร้องระงม เสียงดังไปถึงรัฐบาล เมื่อวันที่ 18 เม.ย. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชี้แจงว่า การปรับลดราคาค่าไฟฟ้าตามต้นทุนราคาพลังงานต้องดูสาเหตุของปัญหาว่าทำไมถึงแพง และต้องดูต้นทุนการผลิตและการบริหาร มันมีอะไรที่ซับซ้อนอยู่ในนั้นหลายอย่าง หากมองว่าค่าไฟมันแพง ค่าแก๊สมันแพงแล้ว ให้ลดลงเท่านู้นเท่านี้ ต้องดูด้วยว่ามันทำได้หรือไม่ ยืนยันอะไรที่ทำได้ ไม่ต้องห่วง ทำให้หมด การบริหารมันมีหลายคณะทำงาน แล้วมันเป็นเรื่องของการประกอบการทางธุรกิจ มีสัญญาข้อผูกมัดหลายอย่าง ที่ต้องเป็นไปตามนั้น 

อย่างไรก็ตาม ค่าไฟเดือนนี้แค่ “เผาหลอก” แต่รอบบิลหน้า เดือน พ.ค. เผาจริง! “กรณ์ จาติกวณิช” หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า เผยว่า รัฐบาลประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยจะปรับขึ้นค่าไฟฟ้าภาคครัวเรือนจาก 4.72 บาท เป็น 4.77 บาท แต่ลดให้ภาคอุตสาหกรรมจาก 5.33 ลงมาเท่ากับภาคครัวเรือนคือ 4.77 บาท ดังนั้น เดือนพ.ค. จึงเป็นวันเผาจริงของประชาชน

หลังรื่นรมย์จากวันหยุดในเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนส่วนใหญ่ก็ได้รับบิลเรียกเก็บค่าไฟ ขณะเดียวกันก็เป็นจังหวะที่หลายพรรคการเมืองใช้โอกาสนี้เคลื่อนไหว และประกาศนโยบายหาเสียงกับชาวบ้าน

สรุปสั้นๆ ทั้งก่อนและหลังสงกรานต์ที่พรรคการเมืองเสนอเห็นตรงกันว่า มาจากการที่รัฐเซ็นสัญญาให้ภาคเอกชนตั้งโรงงานไฟฟ้า และผลิตสำรองไฟฟ้ามากเกินไป โดยข้อมูลตรงกันว่าอยู่ที่ 50 เปอร์เซ็นต์ จนทำให้ประชาชนต้องแบกภาระ โดยไม่อาจต่อรองกับใครได้

คำถามคือ พรรคการเมืองที่เสนอนโยบายหาเสียงอยู่ในตอนนี้ โดยเฉพาะพรรคในฝั่งรัฐบาล ทำไมที่ผ่านมาไม่ทำเลย แต่กลับมานั่งเสนอจะทำนั่นทำนี่ 

เริ่มที่ “พรรคพลังประชารัฐ” เสนอลดค่าผลิตไฟฟ้าเหลือ 1.27 และลดค่า FT 0.9827 บาทต่อหน่วย ทำให้ประชาชนจะได้ใช้ค่าไฟเหลือราคาใหม่ 2.5173 บาทต่อหน่วย

“พรรครวมไทยสร้างชาติ” เสนอหากได้เป็นรัฐบาลจะให้ค่าไฟอยู่ที่ยูนิตประมาณละ 3.90 บาท และมีแนวคิดจะให้นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปแบบเสรี

ในส่วนของ ประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา “เกียรติ สิทธีอมร” นำทีมเศรษฐกิจพรรค เสนอรื้อโครงสร้างราคาพลังงานทั้งหมด ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ไฟฟ้า หุงต้ม แอลเอ็นจี แอลพีจี สำหรับไฟฟ้า จะมีการปรับราคาก๊าซป้อนโรงไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงและเป็นธรรม กำหนดสัดส่วนกำลังการผลิตระหว่างรัฐกับเอกชนให้เหมาะสม ที่สำคัญ ทบทวนความจำเป็นการมีค่าความผันแปร หรือค่า FT เสนอยกเลิกโดยมีวิธีอื่นที่ดีกว่า

อีกฟากฝั่ง “พรรคเพื่อไทย” เสนอพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตสอดคล้องกับปริมาณไฟฟ้าสำรองที่สั่งซื้อจากเอกชนเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา เพื่อจะนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลล์ระดับครัวเรือน ให้ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ ลดต้นทุนการผลิต

ขณะที่ “ก้าวไกล” เสนอเป็นนโยบาย 5 ขั้น 1.เปลี่ยนนโยบายจัดสรรก๊าซธรรมชาติ จากเอื้อกลุ่มทุนเป็นเอื้อประชาชน เปลี่ยนได้เลยใน 100 วัน และเห็นผลในบิลค่าไฟ ลดได้ทันที 70 สตางค์ต่อหน่วยในปีแรก 2.เปลี่ยนแดดเป็นเงิน ด้วยการปลดล็อกระบบขายไฟมิเตอร์หมุนกลับจากหลังคาบ้านเรือน (Net Metering) เพื่อให้ทุกบ้านเรือนที่ต้องการติดโซลาร์เซลล์บนหลังคาบ้านสามารถทำได้อย่างถูกต้อง 3.เปิดเสรีธุรกิจไฟฟ้า ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าเลือกซื้อไฟฟ้าได้เอง ไม่ต้องถูกมัดมือชกซื้อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ยุติการรับประกันกำไรให้เจ้าสัวพลังงาน

4.ชนกับกลุ่มทุนใหญ่เสือนอนกิน เจรจาสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและสัมปทานกับกลุ่มทุนพลังงานใหม่ เพื่อลดต้นทุนที่เกิดขึ้นจาก ‘ค่าความพร้อมจ่าย’ ของโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้เดินเครื่อง และแก้ไขนโยบายเอื้อกลุ่มทุนพลังงานเพื่อลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนได้เพิ่ม และขั้นสุดท้าย เดินหน้าแผน PDP Net Zero ไม่เพิ่มโรงไฟฟ้าฟอสซิล ตั้งเป้าปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งหมดภายใน 2580 เพื่อให้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมดเป็นพลังงานสะอาดให้มากที่สุด

ทั้งหมดคือตัวอย่างพรรคการเมืองที่เสนอการแก้ไขปัญหาค่าไฟแพงมหาโหด ซึ่งมาปะทุในช่วงโค้งสุดท้ายทางการเมือง โดยพรรคฝ่ายรัฐบาลในตอนนี้ถือว่าเสียเปรียบคะแนนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ถ้าติดตามข่าวสารละเอียดจะพบทันทีฝ่ายใดผิดพลาด และเชื่อว่าหลายคนจะนำข้อมูลทั้งหลายไปประมวลเพื่อตัดสินใจในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้น ในวันที่ 14 พ.ค.นี้ด้วย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่

โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้

นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า

‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’

แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี