เหลือเวลาอีกไม่ถึง 1 เดือนก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทั่วไป วันที่ประชาชนจะได้ใช้สิทธิ์หย่อนบัตรลงคะแนน เลือกผู้สมัคร และพรรคการเมืองที่ตนเองพอใจ ทำให้ช่วงเวลาที่เหลือ ทุกพรรคจึงลงพื้นที่หาเสียง ขายนโยบายที่นำเสนออย่างพุ่งเป้า เจาะฐานเสียงของตนเองด้วยการตอกย้ำนโยบายที่ตัวเองชูธงอย่างเข้มข้น
นโยบายประชานิยม การจัดสวัสดิการแห่งรัฐ ยังเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องมี แต่ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับอุดมการณ์ทางการเมือง ยังเป็นอีกปัจจัยที่มีส่วนตัดสินใจว่าใครจะเลือกพรรคหรือขั้วไหน แน่นอนว่าพรรคร่วมรัฐบาลเก่าไม่แตะเรื่องปฏิรูปกองทัพ ยกเลิกเกณฑ์ทหาร ตัดงบประมาณกองทัพ เอาทหารออกจากการเมือง ปิดสวิตช์ ส.ว. ต่างจากขั้วตรงข้ามที่ใช้เรื่องดังกล่าวเป็น “เข็มมุ่ง” ไปสู่เป้าหมายแห่งการเปลี่ยนแปลงในระดับที่อ่อน หรือเข้มไปจนแตะการแก้ไข ม.112
มีการชี้ให้เห็นข้อดีในการ “ขุดรากถอนโคนวัฒนธรรมเก่า-ทุบหม้อข้าวแดนสนธยา” จะส่งผลดีให้เกิดกับประชาชนได้อย่างไรบ้าง ในขณะที่แนวร่วมจากกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ แสดงออกในการสนับสนุน จัดกิจกรรมส่งเสริม ผนวกจนเป็นกระแสเดียวกัน ตอกย้ำมีความจำเป็นที่รัฐบาลใหม่ต้องกล้าแตะ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง
ในขณะที่กองทัพยังไม่ชี้แจงว่าการ “คงไว้” ในสิ่งที่เป็นอยู่มีผลดีมากกว่าผลเสียอย่างไร เพราะมองว่าเป็นช่วงของการหาเสียง ที่ใครจะพูด หรือทำอะไรก็ได้ แต่เมื่อเข้ามาบริหารประเทศก็ต้องเข้ามาฟังองค์กร หรือหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่ตาม รธน.ว่ามีเหตุผลอย่างไร พร้อมตอกย้ำบทบาทของ “ความเป็นกลาง” ไม่หนุนหลัง หรือช่วย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้บังคังบัญชา เปิดกว้างให้ทุกพรรคการเมืองเข้ามาหาเสียงได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยมี กกต.เข้ามาร่วมวางกติกา
แต่กองทัพยังถูก “จับตา-ตรวจสอบ” ไม่ให้ใช้กำลังพล เครื่องมือ วิชามาร เข้าไปเล่นเกมตุกติก ทั้งการออกมาตีกันเรื่องการให้ทหารเกณฑ์แสดงความประสงค์เลือกตั้งล่วงหน้า รวมไปถึงกรณีแชตไลน์กองทัพภาคที่ 4 หลุด มีข้อความห้ามผู้สมัครบางพรรคการเมืองเข้าไปหาเสียงในหน่วยตรวจเลือกฯ แต่ภายหลังก็มีการชี้แจงข้อเท็จจริงว่าเป็นการเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
รวมไปถึงการงัดข้อมูล “ไอโอ” ของกองทัพที่ยังมีการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการเกาะติดแกนนำกลุ่มต่างๆ ที่สนับสนุนการยกเลิก ม.112 หรือแม้กระทั่งกรณีที่มีอาจารย์รายหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊กการเปิดเอกสารการประชุมของหน่วยทหารหน่วยหนึ่งเมื่อช่วงต้นปี 2565 เป็นการประชุมคณะทำงานความมั่นคงพิเศษ มีการจัดทำบัญชีรายชื่อสถาบันการศึกษาระดับมัธยม อุดมศึกษา มีชื่อหน่วยขึ้นตรงเกาะติด ซึ่งเป็นช่วงที่มีกลุ่มม็อบที่ใช้แนวทางขัดขืน ปฏิเสธอำนาจรัฐ ด้วยการใช้ความรุนแรงเริ่มก่อตัวขึ้น โดยพ่วงกับการตั้งคำถาม “มีทหารไว้ทำไม”
ผสมผสานไปกับการเคลื่อนไหวของ “ทะลุวัง-ทะลุแก๊ส” ซึ่งมีผู้มีอิทธิพลทางความคิดของ “สายเหยี่ยว” ในหมู่นักเคลื่อนไหวปลุกให้สู้ด้วยวิถีทางการแสดงออกทางกายภาพ ทั้งการอดอาหาร “แบม-ตะวัน” และการรุกไปถามจุดยืนยกเลิก ม.112 ในเวทีหาเสียงของพรรคการเมือง เมื่อผนวกกับการต่อสู้ในสนามรบทางสื่อสังคมออนไลน์ เริ่มขยับตัวสอดรับกับกระแสการเมือง ก็ยิ่งส่อเค้าว่าจะเกิดเหตุการณ์ “เดินหน้าท้าชน”
หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์แฮกเกอร์ “9 near” ซึ่งมีชื่อล้อกับพรรคการเมืองหนึ่ง “ปิดจ๊อบ” ลงแบบแปลกแปร่ง หลังจาก “จ่าสิบโท” สังกัดกรมการขนส่งทหารบก ถูกส่งขึ้น “ศาลทหาร” หลังจากเข้ามอบตัวจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สารภาพซื้อข้อมูลมาจาก “ดาร์กเว็บ” เป็นการทำแบบส่วนตัว เพราะ อยากลองของ
น่าสนใจว่า การออกมาเปิดประเด็น "ตีกัน" ไม่ให้กองทัพขยับตัว เลยไปถึงเหตุการณ์ที่กำลังพลคิดการณ์ใหญ่ แต่ “มือลั่น” เป็นการสะท้อนให้เห็นว่าเป้าหมายหลักยังคงอยู่ที่ “สายเหยี่ยว” ในกองทัพที่ยังถูกหวาดระแวงว่าจะดำเนินยุทธวิธีในการต่อสู้กับอุดมการณ์ทางความคิดอีกขั้วหนึ่งในช่วงการเลือกตั้ง
แต่นั่นก็เป็นการเหวี่ยงแห “ปราม” และ “ตรึง” เหล่าทัพไว้ไม่ให้ “ขยับตัว” และขวางแนวคิด “ล้มกระดาน-ล้างไพ่” อย่างที่กังวลกันว่าจะเกิดหลังเลือกตั้ง “ซึ่งเป็นไปได้ยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้”
การเดินเกมรุกหนัก ตรวจสอบ “กองทัพ” แม้จะเป็นเพียงการเมืองเรื่องของการเลือกตั้ง แต่นัยในเชิงอุดมการณ์แล้ว ล้วนมีความหมายที่กว้างขวาง ซึ่งผู้นำเหล่าทัพต่างเฝ้ามองอยู่อย่างเงียบๆ
ยิ่งในเดือนกันยายนนี้ จะครบวาระเกษียณอายุราชการยกแผงทั้ง พล.อ.เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ.อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เดือนสิงหาคมจึงเป็นห้วงของการจัดทำบัญชีรายชื่อโยกย้ายทหาร ดังนั้น “โผทหาร” จึงอยู่ช่วงคาบเกี่ยวระหว่างรัฐบาลเก่ากับรัฐบาลใหม่ เพราะตามไทม์ไลน์การฟอร์มรัฐบาลน่าจะเสร็จสิ้นได้ในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคม
ภาพรวมของเหตุการณ์ทั้งหมดจึงขึ้นอยู่กับว่าผู้มีอำนาจในกองทัพ และผู้มีอิทธิพลทางความคิดของแกนนำนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่จะเลือกแนวทางไหนในการแก้ไขปัญหา
โดยคาดหวังว่าแนวทางนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าหรือความรุนแรงระลอกใหม่ขึ้นในสังคมเช่นที่เกิดขึ้นในอดีต.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลุ้นองค์คณะฯอ่านคำพิพากษา ดับฝัน 'โจ๊ก-แมว9ชีวิต' กลับตร.
เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ที่ผ่านมา "บิ๊กโจ๊ก" - พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด เพื่อตรวจสอบความชอบธรรมของคำสั่งให้ออกจากราชการ ซึ่งคดีนี้เป็นประเด็นสำคัญที่ได้รับความสนใจ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางปกครองในระดับสูงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
เพื่อไทยฉวยคดีเขากระโดง สบช่องเตะตัดขาภูมิใจไทย
ปมขัดแย้งกรณีที่ดินเขากระโดง แม้แกนนำรัฐบาลของทั้ง 2 พรรคคือ “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ และ รมว.กลาโหม แกนนำพรรคเพื่อไทย และ “อนุทิน ชาญวีรกูล” รองนายกฯ รมว.มหาดไทย
จับตา “พ่อใหญ่แม้ว” เยือนอุดรฯ เป่ากระหม่อม24พ.ย.สู้ศึกอบจ.
ในวันที่ 24 พ.ย.ที่จะถึงนี้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งก่อนหน้านี้มี “วิเชียร ขาวขำ” นั่งเป็นนายก อบจ.อุดรฯ แต่เจ้าตัวลาออกอ้างปัญหาสุขภาพ จึงต้องทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน และเป็นที่น่าจับตาว่า พรรคใหญ่ 2 พรรค ส่งคนสู้ศึกในครั้งนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ
ความจริงกำลังไล่ล่า2พ่อ-ลูก ยื้อเวลารอวันชี้ชะตาทั้งขบวนการ
มีความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่จะส่งผลต่อความอยู่รอดของรัฐบาลในระยะเวลาอันใกล้ กรณี นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
'ทรัมป์'เอฟเฟกต์'อิ๊งค์'เร่งกู้ชีพศก. ดึงทุกกลไก-อัดเม็ดเงินเข้าระบบ
หลังรัฐบาล “นายกฯ อิ๊งค์”-แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี บริหารประเทศเข้าสู่เดือนที่ 3 แล้ว ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายในการแก้ไขปัญหาของประเทศหลายด้าน ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ที่เป็นทั้งปัญหาเก่าสะสมมายาวนาน และปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นจากปัจจัยโลกหลายด้านที่ล้วนส่งผลกระทบต่อประเทศไทยให้นายกฯ อิ๊งค์ต้องรับมือ
ปชน.ตีเมืองหลวงเสื้อแดง แมตช์ใหญ่"ปักธงท้องถิ่น"
ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เห็นชอบร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 19 ธ.ค.67