ก่อนหน้านี้ถ้ายังจำกันได้ พรรคประชาธิปัตย์ มีดรามาเรื่องการจัดลำดับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ โดยเฉพาะผู้สมัคร ส.ส.ในโควตาสตรี แย่งกันอยู่ในลำดับที่10 ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นโซนที่ปลอดภัยที่จะได้เป็น ส.ส. ขณะเดียวกันผู้สมัคร ส.ส.แต่ละคนลุ้นตัวโก่งว่าจะได้อยู่ลำดับที่เท่าไหร่
ล่าสุด เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดให้เป็นวันรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อเป็นวันแรก พรรคน้อยใหญ่ตบเท้าไปยื่นสมัครอย่างคึกคัก เพื่อแย่งกันจับหมายเลขบัญชีปาร์ตี้ลิสต์ พรรคไหนได้หมายเลขอะไรก็มีรายงานไปเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว ซึ่งพรรคในกระแสส่วนใหญ่ได้เบอร์เยอะๆ ทั้งนั้น
ต้องยอมรับว่า รายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ ของประชาธิปัตย์เที่ยวนี้ลับสุดยอด เพราะอำนาจสิทธิ์ขาดอยู่ที่ จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรค และ เฉลิมชัย ศรีอ่อน เลขาธิการพรรคเท่านั้น แต่อย่างว่าเมื่อถึงเวลาก็ต้องเปิดเผยอยู่ดี
ปรากฏว่า อันดับที่ 10 ตกเป็นของ จิตภัสร์ ตั๊น กฤดากร ส่วนรองลงมา อันดับที่ 11 จึงค่อยเป็น มาดามเดียร์-วทันยา บุนนาค!!! ถือว่าอยู่ในลำดับที่สามารถลุ้นเข้าวินด้วยกันทั้งคู่
สาเหตุที่ว่าเช่นนี้ เพราะมาจากกติกา ถ้าเลือกตั้งปี 66 ยังคงใช้บัตรใบเดียวพรรคก็คงเสียเปรียบเหมือนเดิม แต่เที่ยวนี้กลายเป็นใช้ บัตรสองใบ จึงมีลุ้นจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อพอสมควร เผลอๆ เซฟโซนอาจขยับจากอันดับที่ 10 ไปอันดับที่ 15 เลยก็ได้
เลือกตั้งเมื่อปี 54 เป็นการเลือกตั้งแบบบัตรสองใบ ผลคะแนนเฉพาะ พรรคประชาธิปัตย์ ในส่วนบัญชีรายชื่อได้มาถึง 11.4 ล้านเสียง ด้าน เพื่อไทย ได้ 15.7 ล้านเสียง ซึ่งขณะนั้นคนจำนวนไม่น้อยมีแนวคิดว่าบัตรสองใบต้องเลือกพรรคการเมืองต่างขั้วกัน เพื่อให้เขาไปตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจกันในสภา
อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านการคำนวณ ดีดลูกคิดแล้วสรุปว่า การเลือกตั้ง 66 ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 1 คน ต้องใช้เสียง 3.5 แสนคะแนนโดยประมาณ เมื่อบวกลบคูณหารกับคะแนนนิยมพรรคเมื่อปี 54 ก็พบว่า ประชาธิปัตย์จะได้ ส.ส.บัญชีรายชื่ออยู่ประมาณ 30 คน
ทว่า เที่ยวนี้ผลลัพธ์คงไม่ใช่แบบข้างต้น เนื่องจากยังต้องเทียบเคียงกับผลการเลือกตั้งเมื่อปี 62 ด้วย แม้เป็นการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียวมัดมือชก แต่ก็ฟ้องอะไรหลายอย่าง อย่างน้อยที่สุด เมื่อปี 54 พรรคใหญ่ เพื่อไทยกับประชาธิปัตย์แข่งกันอยู่สองพรรค แต่ตั้งแต่ปี 62 เป็นต้นมา สองพรรคดังกล่าวมีคู่แข่งที่น่ากลัว
ในฝั่งเพื่อไทยมี พรรคก้าวไกล เป็นหนามยอกอก ส่วน ประชาธิปัตย์ ต้องบอกว่าศึกรอบด้าน มีทั้งรวมไทยสร้างชาติ พลังประชารัฐ ภูมิใจไทย ค่อยตัดคะแนนจากฐานเสียงเดียวกัน
ผลการเลือกตั้งปี 62 พบว่า เพื่อไทยได้ 7.8 ล้านเสียง อนาคตใหม่ 6.3 ล้านเสียง ถ้ายังไม่ลืมในครั้งนั้น พรรคไทยรักษาชาติ พรรคสาขาของเพื่อไทยโดนยุบ คะแนนเหล่านั้นจึงไหลไปที่อนาคตใหม่แทน ขณะที่อีกฝั่งหนึ่ง ได้แก่ ประชาธิปัตย์ได้ 3.9 ล้านเสียง พลังประชารัฐ 8.4 ล้านเสียง และภูมิใจไทย 3.7 ล้านเสียง
นั่นหมายความว่า พรรคประชาธิปัตย์ตีเป็นตัวเลขกลมๆ มีในมือประมาณ 4 ล้านเสียง อย่างไรก็ตาม มีการวิเคราะห์กันว่าคะแนนส่วนนี้ บางส่วนจะเสียให้กับทางก้าวไกล แต่สิ่งที่พอจะทดแทนกันได้คือ คะแนนจาก ภูมิใจไทย ที่พักหลังโดนโจมตีหนักในเรื่องนโยบายกัญชา และที่ผ่านมาก็ต้องบอกว่า ประชาธิปัตย์ ตอกย้ำจุดยืนหนักแน่น ไม่เอากัญชาเสรี ผิดกับท่าทีของพรรคอื่นในโทนเดียวกัน ทั้งพลังประชารัฐ รวมไทยสร้างชาติที่ไม่ชัดเจนเท่า
อีกปัจจัยที่พอจะเติมคะแนนให้ ประชาธิปัตย์ ได้ นั่นคือเทกแอคชันกับการจัดการปัญหาฝุ่นจิ๋ว PM2.5 และชูเรื่องปัญหาน้ำท่วม ส่วนที่หวังจะให้คะแนน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไหลกลับมานั้นคงยากหน่อย เพราะกลายเป็นแฟนคลับกลุ่มเฉพาะไปแล้ว อีกทั้งประชาชนยังติดใจโครงการคนละครึ่ง บัตรคนจนด้วย
ที่เหลือคงต้องดูสถานการณ์ ส.ส.แบบแบ่งเขต ได้ยินมาว่า พลังประชารัฐ และบางส่วนที่ย้ายไป รวมไทยสร้างชาติ เมื่อได้เป็น ส.ส.แล้ว ทิ้งขว้างราษฎรไร้การเหลียวแล พรรคประชาธิปัตย์จึงมีสิทธิ์ลุ้น ส.ส.แบ่งเขตเหมือนกัน
ท้ายสุด ปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ก็เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในการเมืองไทย ทั้งเก็บบัตรประชาชน ซื้อเสียง ขายเสียง บ้างคนว่านอนมา
แต่พอถึงโค้งสุดท้าย เจอกระสุน จบเห่ซะงั้น!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว
สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์
โค่นแชมป์เก่า! 'วาริน' คว้าชัย 'นายก อบจ.เมืองคอน' ทิ้งห่าง 'กนกพร'
ผลการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครศรีธรรมราช อย่างเป็นทางการ ประกาศว่า นางสาววาริน ชิณวงศ์ ผู้สมัครหมายเลข 2 จากทีมนครเข้มแข็ง
ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"
แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย