อีกประมาณเดือนเศษก็จะถึงวันเลือกตั้งทั่วไปที่คนไทยทั่วประเทศต่างตั้งตารอมากว่า 4 ปี สำหรับการเตรียมความพร้อม ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ดำเนินการอย่างเต็มที่ตั้งแต่การเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง วันที่ 3-7 เม.ย.2566 รับสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4-7 เม.ย. และพรรคการเมืองแจ้งรายชื่อบุคคลที่จะแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และวันกาบัตรเลือกตั้ง 14 พ.ค.
พอเห็นไทม์ไลน์แล้ว หลายคนอาจจะมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไปด้วยความราบรื่น แต่การเลือกตั้งครั้งนี้มีความวุ่นวายมาตลอด โดยเฉพาะการแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่นับราษฎรต่างด้าวรวมเข้ากับการแบ่งเขต จนเรื่องต้องถึงศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยทำให้เกิดการแบ่งเขตใหม่อีกครั้ง และแม้ กกต.จะแบ่งเขตใหม่แล้วก็มิวายจะเกิดปัญหาเพิ่มขึ้น
ล่าสุดมีการยื่นร้องต่อศาลปกครอง ที่มีผู้ยื่นฟ้องขอเพิกถอนประกาศ กกต.เรื่องแบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ประกอบเป็นเขตเลือกตั้งลงวันที่ 16 มี.ค.2566
โดยคดีแรก เป็นคดีที่ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า ยื่นฟ้องว่าประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าว โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับกรุงเทพมหานคร มีการรวมเฉพาะแขวงโดยไม่มีเขต หรืออำเภอหลัก มาเป็นเขตเลือกตั้งใหม่ ทั้งที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง สบ.ส. พ.ศ.2561 มาตรา 27 (1) กำหนดหลักเกณฑ์การแบ่งเขตให้รวมอำเภอต่างๆ เป็นเขตเลือกตั้ง ประกาศแบ่งเขตของ กกต.จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คดีที่ 2 เป็นคดีที่ นายพัฒ ตั้งเบญจผล ผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สุโขทัย ในนามพรรคประชาธิปัตย์ ฟ้องว่า ประกาศแบ่งเขตดังกล่าวของ กกต.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากการแบ่งเขตการเลือกตั้ง รูปแบบที่ 1 เป็นการรวมตำบลเพื่อกำหนดเป็นเขตเลือกตั้ง โดยไม่ได้ยึดหลักเกณฑ์รวมอำเภอต่างๆ เป็นเขตการเลือกตั้ง ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.2561 มาตรา 27 กำหนดไว้ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้ประสงค์จะสมัครรับเลือกตั้ง และกระทบสิทธิของประชาชน สร้างความสับสนในการใช้สิทธิเลือกตั้ง และกระทบต่อจำนวนราษฎรผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
คดีที่ 3 เป็นคดีที่ นายวิรัตน์ วิริยะพงษ์ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งและมีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ฟ้องว่าประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าวโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ จ.สุโขทัย ไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงความคิดเห็นของผู้ฟ้องคดี ซึ่งเหมาะสมกว่า รูปแบบดังกล่าวส่อไปในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยึดถือตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นธรรมต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.สุโขทัย อย่างชัดแจ้ง ประกาศดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
และคดีที่ 4 เป็นคดีที่ นายพัฒนา สัพโส ผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ฟ้องว่า ประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าว เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับ จ.สกลนคร ไม่รับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยทั่วไป รวมถึงความคิดเห็นของผู้ฟ้องคดีซึ่งเหมาะสมกว่า รูปแบบที่ กกต.มีมติ ส่อไปในทางที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ยึดถือตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เป็นการใช้ดุลพินิจไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประกาศดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ซึ่งศาลปกครองสูงสุดจะนัดตัดสินคดีนี้ในวันที่ 7 เม.ย.นี้ และจะนัดพิจารณาครั้งแรกในวันที่ 4 เม.ย. ซึ่งเป็นวันแรกของการรับสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ส่งผลให้ไทม์ไลน์กิจกรรมการเลือกตั้งจะได้รับผลกระทบแน่นอน
จากปากของ นายอรรถวิชช์ ระบุต่อศาลว่า การเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การคิดคำนวณ ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้ง ใน กทม. 33 เขตเลือกตั้ง ที่ไม่เหมือนเดิม 29 เขตเลือกตั้ง เป็นความตั้งใจของ กกต.ถือเป็นการทำลายระบบตัวแทน ทำให้ความผูกพันระหว่างผู้แทนราษฎรกับประชาชนในพื้นที่ห่างออกไป เป็นกลจักรสำคัญของระบอบประชาธิปไตย แต่ กกต.ยืนหลักเอาผลต่างของจำนวนราษฎรในแต่ละเขตเลือกตั้ง ไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของจำนวนเฉลี่ย ต่อจำนวน ส.ส. 1 คน เป็นตัวตั้ง
"ซึ่งเกณฑ์ 10 เปอร์เซ็นต์มีมานานแล้ว ใช้กับต่างจังหวัด แต่เพิ่งใช้เป็นครั้งแรกกับ กทม. และที่น่าแปลกใจคือ ในการชี้แจงของ กกต.วันนี้ พบว่า กกต.ไม่ได้ใช้เกณฑ์ไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์ แต่ใช้เกณฑ์ 5 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำ ซึ่งผมเห็นว่าการกระทำดังกล่าว กกต.มีเป้าหมายทำให้เขตเลือกตั้งเดิมทั้งหมดถูกสลายไป"
นายอรรถวิชช์ กล่าวด้วยว่า "จากนี้ต้องวัดใจว่า ศาลปกครองจะมีคำวินิจฉัยตาม กกต.หรือไม่ เป็นอำนาจของ กกต.หรือไม่ แต่สำหรับพรรคการเมืองมองว่า นี่ไม่ใช่วิถีทางที่จะทำให้ประชาธิปไตยเข้มแข็ง เพราะเป็นการทำลายระบบตัวแทน"
ทั้งนี้ เรื่องการแบ่งเขตจะเห็นได้ว่ากลุ่มที่มักจะยื่นร้องในเรื่องนี้คือพรรคการเมืองที่เป็นผู้เสียประโยชน์โดยตรง ที่มองว่าการเลือกตั้ง การกำหนดว่าเขตเลือกตั้งหนึ่งจะตั้งอยู่ที่ไหนอาจจะมีความสำคัญมาก ไม่ต่างกับการออกไปใช้สิทธิหย่อนบัตร หากมีผู้จงใจออกแบบเขตเลือกตั้งให้เป็นแบบใดแบบหนึ่งโดยไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงของพื้นที่ ก็อาจจะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการเลือกตั้ง เพื่อสร้างความได้เปรียบเสียเปรียบในการเลือกตั้ง
ซึ่งคนธรรมดาทั่วไปอาจจะมองไม่ออกว่าพรรคการเมืองเสียเปรียบอย่างไรในเรื่องนี้ ผลของการแบ่งเขตที่ไม่เป็นธรรมในรูปแบบเขตเลือกตั้ง คือเขตเลือกตั้งก็อาจจะออกมามีรูปร่างแปลกประหลาด เช่น เป็นเส้นยาวคดเคี้ยวไปมา หรือผ่าตัดบางพื้นที่ที่ควรเป็นเนื้อเดียวกัน แทนที่เขตเลือกตั้งจะเป็นภาพแทนของกลุ่มคนที่มีความใกล้เคียงกันทางภูมิศาสตร์ มีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศาสนา หรือภาษาคล้ายกัน ก็จะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ในการเลือกตั้ง
หากผู้ที่ออกแบบตีเส้นแบ่งเขตเลือกตั้งทราบว่าพื้นที่ใดมีแนวโน้มจะลงคะแนนเสียงให้กับพรรคใด ก็สามารถลากเส้นตัดเพื่อหวังผลสูงสุดได้ นี่คือความเห็นของพรรคการเมืองที่มองว่าตัวเองเสียผลประโยชน์
ก็ต้องรอลุ้นกันว่า วันที่ 7 เม.ย.นี้ ศาลจะพิจารณาไปในทิศทางไหน ถ้ามองว่าการแบ่งเขตของ กกต.ไม่ชอบ กิจกรรมไทม์ไลน์ทุกอย่างจะเลื่อน และมีความเป็นไปได้สูงที่วันเลือกตั้งมีสิทธิที่จะได้รับผลกระทบตาม แต่ถ้าพิจารณาว่าชอบด้วยกฎหมาย กิจกรรมเลือกตั้งทุกอย่างก็จะดำเนินไปตามปกติ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567
ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!
แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่
โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้
นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า
‘แม้ว’ ย่ามใจไม่เลี้ยงหลาน ทำตัวเป็น ‘ส่วนหนึ่งของปัญหา’
แม้แต่ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า และอดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ยังตั้งคำถามต่อ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี