ฮึดดัน'ประยุทธ์'สู้ศึกสมัยสอง ปลุกมนตร์'เทพ-มาร'จับขั้ว

สารพัดสูตรการเมืองที่ออกมาช่วงนี้ หลังพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง มีผลบังคับคับใช้ ทำให้เหล่าบรรดานักการเมืองออกอาการ “หนูติดจั่น” ฮอตไลน์สายตรงเช็กสถานการณ์ พร้อมกับเปิดปฏิทินเช็กความน่าจะเป็นในการยุบสภาและไทม์ไลน์เลือกตั้งทั่วไป

ข้อมูลตั้งต้นที่ต้องสดับตรับฟังก็คงต้องใช้บริการจาก “วิษณุ เครืองาม” รองนายกรัฐมนตรี ที่เชื่อกันว่าจะสามารถนำไปสกัดเป็นโจทย์ในการคำนวณเวลาได้ง่ายๆ

ไล่เรียงมาได้ ดังนี้

-ขณะนี้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับฟังความคิดเห็น กม.ลูกว่าด้วยการเลือกตั้งในห้วง 15 วัน

-จากนั้นจะนำความเห็นมาปรับปรุงก่อนส่งมาที่คณะรัฐมนตรี คาดว่าจะอยู่ช่วงประมาณเดือน ธ.ค.

-เมื่อรัฐบาลรับร่างดังกล่าวมาแล้วต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจซึ่งใช้เวลา 4-5 วัน คาดว่าต้นเดือน ม.ค.น่าจะส่งถึงสภาได้

-ส่วนร่างของพรรคร่วมนั้นไม่จำเป็นต้องส่งมาที่ ครม. แต่หากคุยกันก่อนเป็นการภายในว่าเพื่อไม่มีข้อขัดแย้งอะไรกันมาก ควรจัดประชุมร่วมกันระหว่าง กกต.กับพรรคร่วมรัฐบาล

 -ส่วน กม.ลูกว่าด้วยพรรคการเมืองต้องดำเนินการตามขั้นตอนดังกล่าวเช่นกัน แต่คาดว่ากฎหมายทั้ง 2 ฉบับจะเข้าพิจารณาในสภาพร้อมกัน

ท่ามกลางกระแสข่าวลือว่า “ลุงป้อม” พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะของ “คนกลาง” ได้จับเข่าคุยกับ “แก๊ง-ก๊วน” ที่ก่อหวอด “ล้มประยุทธ์” ในสภา ให้อยู่ในแถว-ในแนว เพื่อผ่านพ้นช่วงที่ กม.ลูกเข้าสภาไปก่อน และ “นายกฯ" จะยุบสภาเมื่อจบสิ้นกระบวนการ กม. แต่ในช่วงนี้ต้องมีข้อตกลงไม่ให้มีเกมป่วน-แทงหลัง ในช่วงการประชุมสภาเหมือนเช่นที่ผ่านมา

“นำไปสู่ขั้วใหม่ที่รวมคนจากหลากหลายส่วน ทั้งจากที่ลับและที่แจ้งมาจับมือกัน เพื่อต้านนักการเมืองสีเทาและขั้วเก่าเข้ามาบริหารประเทศ พร้อมยืนยันชูประยุทธ์ให้เป็นนายกฯ ต่อในสมัยหน้า”

มองได้ว่าข่าวที่ออกมาเป็นการเหยียบเบรกฟากของ "ธรรมนัส พรหมเผ่าที่เคยเตะตัดขา “ลุงตู่” ด้วย “ดีล” เก่ากับพรรคเพื่อไทย สร้างสูตรทางการเมืองที่ไม่มี พล.อ.ประยุทธ์เป็นนายกฯ สมัยต่อไป

ด้วยข้อตกลงที่ยึดเอาจำนวนเก้าอี้ ส.ส.หลังการเลือกตั้งเป็นโจทย์ แต่ต้องไม่มีชื่อ "ประยุทธ์" รีเทิร์น

สอดรับกับท่าทีของหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐที่ยังอ้อมแอ้มตอบคำถามเรื่องการชู พล.อ.ประยุทธ์อีกสมัย แม้ พล.อ.ประยุทธ์จะยืนยันว่าจะไม่ไปพรรคสำรองพรรคไหนที่มีข่าวว่าตั้งขึ้นมาเป็นหลายพรรคก็ตาม

ท่ามกลางข้อมูลที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะยุบสภาหลัง กม.ลูกผ่านหรือไม่ ยิ่งเมื่อผู้สื่อข่าวไปซัก พล.อ.ประยุทธ์ ในเรื่องห้วงเวลาที่เหมาะสมในการยุบสภา ก็ได้คำตอบเพียงว่า “ก็สุดแล้วแต่สถานการณ์การเมืองก็ว่ากันไป เราก็อยู่ไปตามกรอบกฎหมาย รัฐธรรมนูญ"

หากมองในแง่องค์ประกอบทางการเมืองที่ พล.อ.ประยุทธ์ตัดตนเองไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับพลังประชารัฐ และให้ “ลุงป้อม” ลงไปทำเกม เป็นนั่งร้านเสริมเก้าอี้นายกฯ ทำให้ตนเองห่างเหินกับ ส.ส.ในพรรค จนทำให้ไม่ค่อยมีนักการเมืองมาเป็นพวก

แต่หลังศึกปรับ ครม.ชิงเก้าอี้ รมต.ในแต่ละครั้ง มีนักการเมืองที่ผิดหวังจนแตกขั้ว เลือกข้าง แยกทางมาถือหาง “นายกฯ” เพื่อคานกับสายที่โหน “ลุงป้อม” จนในที่สุดนายกฯ ก็เริ่มมี ส.ส.-รมต.ในมุ้งของตัวเองบ้างแล้ว

นำไปสู่ขั้วใหม่ที่รวมคนจากหลากหลายส่วน ทั้งจากที่ลับและที่แจ้งมาจับมือกัน เพื่อต้านนักการเมืองสีเทาและขั้วเก่าเข้ามาบริหารประเทศ พร้อมยืนยันชูประยุทธ์ให้เป็นนายกฯ ต่อในสมัยหน้า

ทำให้มีความพยายามพูดถึงภาพลักษณ์ของ “แป้ง-นาฬิกาเพื่อน” ที่คงไม่มีแรงดึงดูดพอในการดึงเครือข่ายอำนาจและทุนใหญ่ไปจับขั้วด้วย อีกทั้งพรรคการเมืองฝ่ายค้านพรรคใหญ่ที่ไปจับมือแม้จะใช้วิธี “สู้ไปกราบไป” แต่ก็คงยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ หรือเชื่อใจว่าจะ “ซูฮก” ตามที่แสดงออกจริง 

ย้อนยุคเข้าสู่การปลุกกระแส “เทพ-มาร” ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเลือกข้างระหว่าง “ตู่-ป้อม”

ดังนั้น ปรากฏการณ์ “แคร์กันน้อยลง” ระหว่าง “ลุงตู่” กับ “ลุงป้อม” จนกลายเป็นมุ้ง “2 ลุง” ที่คาดเดาได้ยากว่าจะรวมตัวอยู่บ้านเดียวกันได้นานแค่ไหน ซึ่งคงต้องรอฟังจาก “ปากพี่ป้อม” ในวันที่ 3 พ.ย.นี้ว่า “เลือดข้นกว่าน้ำ” เป็นจริงอย่างที่ทหารมักชอบพูดกันหรือไม่                 

ในระหว่างนี้ ทุนแถวหนึ่งและแถวสองต่างรอดูสถานการณ์ภายในพรรคพลังประชารัฐจะไปรอดหรือไม่ เพราะหากในที่สุด “ลุงป้อม” ถูกสิงและเดินตามโมเดลของนักการเมืองที่จัดวางสมการไว้ ก็เชื่อว่าเหล่าบรรดาพรรคสำรองที่หลบซ่อนอยู่หลังฉากก็จะปรากฏตัว สถาปนาพรรคใหม่รองรับ “บิ๊กตู่” เสนอขึ้นเป็นนายกฯ อีกสมัยตามกระแสข่าวที่สะพัดในช่วงนี้

เหล่าบรรดาทุนที่ได้รับอานิสงส์จากการแบ่งเค้กในยุครัฐบาลประยุทธ์มาตั้งแต่ต้น ก็คาดว่าจะ “เทกระจาด” มาทางพรรคการเมืองใหม่

และด้วยสมมุติฐานที่ว่าเมื่อ “ทุน” ไปทางไหน “นักการเมือง” ก็จะไปทางนั้น นำพาให้ “พรรคใหม่” มาแทน พปชร.ได้ ล้มล้างสูตรการเมืองในขณะนี้ให้ล้มไปในที่สุด นำไปสู่การตั้งต้นเจรจากันใหม่เมื่อปี่กลองการเลือกตั้งเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง

สำหรับปัจจัยด้านอื่น เช่น ผู้ชุมนุมกลุ่มต่างๆ ที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล รวมถึงกลุ่มที่เรียกร้องปฏิรูปสถาบันยังอยู่ในสถานการณ์ทรงๆ เพราะเมื่อเจอคดี-ถูกจับกุมคุมขังอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้มวลชนอ่อนพลังไปมาก ครั้นจะเกาะกระแส “โลกล้อมไทย” ก็ดูเหมือนว่าจะไปไม่รอด เนื่องจากการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงและต่างประเทศของไทย ที่ยัง “ติ๊ดชึ่ง” รักษารูปมวย ทำให้รัฐบาลยังอยู่รอดปลอดภัยดี

ส่วนการสุมไฟด้วยการสร้างความรุนแรง-ก่อความวุ่นวาย จุดพลุความหวาดระแวงระหว่างกองทัพกับรัฐบาล เพื่อสร้างเงื่อนไขล้มกระดาน ก็เหมือนจะไปไม่รอด เพราะการจัดทัพ ปรับสมการจากการโยกย้าย “ทหาร-ตำรวจ” ที่เป็นหัวใจหลักด้วยการดึงอำนาจมาจาก “ลุงป้อม” ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การนั่งในเก้าอี้นายกฯ ไม่ “ขาลอย-หลังเย็น” จนเกินไป และปลอดภัยขึ้นกว่าเดิม

อนาคตของ “ประยุทธ์” ในการเดินเข้าสู่การเป็นนายกฯ สมัยสอง จึงมีทัพหลังสนับสนุนอยู่พอกำลัง รอเพียงจังหวะที่ได้เปรียบค่อยเปิดประตูสนามเลือกตั้งต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง

จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567

ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!

แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่