![p2](https://storage-wp.thaipost.net/2023/03/p2-6.jpg)
พบว่าเวลานี้หลายพรรคการเมืองเร่งนำเสนอนโยบายพรรคในการหาเสียงกันมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันเสาร์ที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา แถลงเปิด 8 นโยบายหาเสียงเลือกตั้ง ชุดที่ 2 เพิ่มเติม อาทิ อินเทอร์เน็ตฟรี 1 ล้านจุด ทุกหมู่บ้าน ทุกห้องเรียน ชมรมผู้สูงอายุรับ 30,000 บาท ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ตั้งกองทุน 3 แสนล้านบาท เพื่อให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงิน แหล่งทุนเพื่อนำมาขยายกิจการ ต่อลมหายใจ เป็นต้น
ขณะที่ พรรคเพื่อไทย ที่กำลังปั่นกระแส 310 เสียง-แลนด์สไลด์ อย่างหนัก นัดหมายเปิดนโยบายชุดใหญ่ไฟกะพริบ วันศุกร์ที่ 17 มี.ค.นี้ ที่แกนนำพรรคบอก เปิดมาเมื่อไหร่รับรองฮือฮากันหมด เพราะกินขาดทุกพรรคการเมือง!
และหลังจากนี้ เห็นทิศทางมาแต่ไกล การแข่งขันนำเสนอนโยบายของพรรคการเมือง-แคนดิเดตนายกฯ จากพรรคการเมืองต่างๆ จะเริ่มเข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ จนอาจได้เห็นการเกทับบลัฟแหลก ระหว่างพรรคการเมืองต่างๆ กันมากขึ้น
ความเห็นจากนักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ที่ตอนนี้กำลังติดตามการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ จนมีการออกข้อเสนอแนะพรรคการเมืองต่อการจัดทำนโยบายในด้านต่างๆ ออกมา 2-3 ครั้ง เช่น ข้อเสนอสำหรับพรรคการเมืองต่อ 4 นโยบายเศรษฐกิจในการเลือกตั้งทั่วไป 2566 เป็นต้น
โดย ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่า การเลือกตั้งที่จะมีขึ้น ภาพรวมชัดเจนว่าพรรคการเมืองทุกพรรคต้องการเป็นรัฐบาล ซึ่งการเลือกตั้งครั้งนี้ดูแล้วมีการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรง โดยพรรคการเมืองขณะนี้มองแล้วคล้ายมีอยู่ 2 ขั้ว อาจจะเรียกว่าเป็นอนุรักษนิยมและขั้วที่ต้องการประชาธิปไตย
“เพราะฉะนั้นการแข่งขันก็เริ่มจากการกวาดต้อนนักการเมืองให้เข้ามาสังกัดในพรรคของตัวเอง ทุกวันนี้มีการแข่งขันที่รุนแรงมาก มีการซื้อตัวกันเกิดขึ้น นโยบายแข่งขันที่รุนแรงค่อนข้างมาก”
นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ให้ข้อมูลว่า จากการเก็บข้อมูลเมื่อสิ้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา แม้ว่าหลายพรรคการเมืองจะยังไม่มีการแถลงนโยบาย โดยได้มีการเก็บข้อมูล 76 นโยบาย ยาก 8 พรรค พบว่า ในจำนวน 50 นโยบาย ต้องใช้งบประมาณมหาศาล เรากำลังคำนวณดูว่า หากสมมุติว่ามีพรรคการเมือง เช่น พรรค ก. พรรค ข. พรรค ค. พรรค ง. ร่วมกันเป็นรัฐบาลแล้ว จะต้องใช้เงินงบประมาณเท่าไหร่ แต่เข้าใจว่าต้องใช้งบประมาณหลายแสนล้านบาท เยอะมาก และจะเกินกำลังของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งมีแค่ 3 ล้านล้านบาท
..ยกตัวอย่างเช่น นโยบายที่จะให้เงินกับผู้สูงอายุหรือเบี้ยคนชรา ปัจจุบันใช้เงินอยู่ประมาณ 90,000 ล้านบาท หากทำตามนโยบายที่บางพรรคการเมืองได้หาเสียง จะต้องใช้วงเงินเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 400,000 ล้านบาท จะทำให้เห็นว่าจากนโยบายดังกล่าวนี้กำลังความสามารถของบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เป็นงบหลักจะไม่เพียงพอ จะเป็นภาระทำให้จะต้องมีการกู้เงิน ต้องใช้เงินจากสถาบันการเงินของรัฐแน่นอน หรือไม่ก็ต้องกู้เงิน เพราะไม่มีใครบอกเลยว่า จะให้มีการขึ้นภาษี เมื่อกู้เงินแล้วแน่นอนจะกลายเป็นภาระของลูกหลานในอนาคต พูดง่ายๆ คุณกำลังหาเสียงวันนี้ โดยนำเงินในวันหน้าที่ลูกหลานของเราจะต้องทำมาหากิน มาใช้ในการหาเสียงเพื่อจะได้เป็นรัฐบาล อันนี้คือปัญหาที่น่ากลัว โดยที่พบว่ายังไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่า แล้วจะหาเงินจากที่ไหนมาทำนโยบายต่างๆ เหล่านี้ จะเพียงพอหรือไม่โดยไม่สร้างความเดือดร้อน
ขณะที่นโยบายอย่างเรื่อง เงินบำนาญผู้สูงอายุ ที่ตอนนี้หลายพรรคเริ่มนำเสนอนโยบายดังกล่าวมากขึ้น โดยบางพรรคบอกว่าจะให้เป็นรายเดือน เดือนละ 3,000 บาท ดร.นิพนธ์ มองว่า หากเราดูนโยบายดังกล่าวเพียงนโยบายเดียว โดยไม่ดูนโยบายอื่น ก็อาจมีงบประมาณไปทำได้ แต่คุณไม่ได้หาเสียงด้วยนโยบายดังกล่าวเพียงนโยบายเดียว แล้วเวลามาเป็นรัฐบาล ก็ไม่ได้เป็นพรรคเดียวที่ตั้งรัฐบาล แต่เป็นรัฐบาลผสม ที่ทำให้ต้องนำนโยบายของทุกพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลมารวมกัน ที่ต่างคนต่างก็ใช้เงินงบประมาณในการทำ แล้วจะต้องใช้งบประมาณเท่าใด อันนี้คือปัญหา
...ผมยกตัวอย่างก็ได้ ในรัฐบาลปัจจุบันที่เป็นรัฐบาลผสม มีพรรคพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ ร่วมเป็นรัฐบาล ทางพรรคประชาธิปัตย์บอกว่าหาเสียงเข้ามาได้ด้วยนโยบายประกันรายได้ให้เกษตรกร พลังประชารัฐบอกว่าหาเสียงมาได้ด้วยนโยบายช่วยเหลือต้นทุนไร่ละ 1,000 บาท ผลก็เลยทำให้ทั้ง 2 นโยบายที่ซ้ำซ้อนกัน ทั้งที่เป็นเรื่องเดียวกัน แต่ซ้ำซ้อนกัน แต่ต่างก็บอกว่าเป็นเรื่องที่พรรคตัวเองหาเสียงเข้ามา เรื่องแบบนี้จริงๆ ไม่ควรจะเกิดขึ้น ที่เชื่อได้ว่าในระบบปัจจุบันมันจะเกิด อันนี้คือปัญหา ประเด็นคือว่าจะทำได้หรือทำไม่ได้ แต่ประเด็นคือ เมื่อทำแล้วมันสร้างความเสียหายแค่ไหน
ส่วนเมื่อถามถึงว่า บางพรรคประกาศนโยบายเรื่องบัตรสวัสดิการต่างๆ เช่น บางพรรคจะให้ 700 บาทต่อเดือน มองว่าทำได้หรือไม่ ดร.นิพนธ์ ให้มุมมองว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าทำได้หรือทำไม่ได้ แต่อยู่ที่ชุดนโยบาย อย่างเรื่องบัตรสวัสดิการ เรามีสวัสดิการคนชรา และยังมีสวัสดิการเรียนหนังสือ สวัสดิการเรื่องเด็ก เรามีสวัสดิการเยอะไปหมด สิ่งสำคัญคือจะต้องจัดลำดับความสำคัญของสวัสดิการ-บัตรสวัสดิการเหล่านี้ ว่ากลุ่มไหนสำคัญที่สุด แล้วจะนำเงินจากที่ไหนมาใช้ เช่น ภาษี VAT ตอนนี้เก็บ 7 เปอร์เซ็นต์ หากจะขึ้นอีก 3 เปอร์เซ็นต์ เพื่อนำมาใช้หรือไม่ ขอให้ช่วยบอกเราที ช่วยบอกประชาชนด้วย จะนำเงินจากตรงไหนมาใช้ แล้วใช้ในส่วนไหนก่อน ผมบอกแล้วว่า การหาเสียงเป็นเรื่องง่าย แต่การทำชุดนโยบายที่ทำให้ประชาชนมีความหวังมันยาก แต่พรรคการเมืองควรจะทำ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ ยังไม่พบว่าจะมีพรรคการเมืองพรรคใดกล้าพูดเลยว่า จะขึ้นภาษีหรือไม่ หากไม่กู้เงิน เพราะการกู้เงินคือการโยนภาระให้ลูกหลาน แต่การขึ้นภาษี คือการโยนภาระให้รุ่นปัจจุบัน แต่ทำไมพรรคการเมืองไม่กล้าพูด
และเมื่อถามถึงกรณีบางพรรคการเมืองหาเสียงไว้ว่าจะให้มีค่าจ้างขั้นต่ำวันละไม่ต่ำกว่า 600 บาท เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท โดยมีเงื่อนไขว่าเศรษฐกิจโตปีละ 5% มองอย่างไร ดร.นิพนธ์ จากทีดีอาร์ไอ มีทัศนะว่า เข้าใจว่าเป็นการส่งสัญญาณที่บางพรรคบอกว่าจะขึ้นทันที แต่บางพรรคบอกว่ายังไม่ขึ้น แต่ผมก็คิดว่า อย่าไปวางเงื่อนไข การไปวางเงื่อนไขว่า เศรษฐกิจต้องโตปีละกี่เปอร์เซ็นต์ โดยเงื่อนไขที่บอกว่า เศรษฐกิจต้องโตที่ปีละ 5% เป็นเรื่องที่ลำบากมาก เนื่องจากประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถามว่าโตถึง 5% หรือไม่ เพราะฉะนั้นพูดแบบนี้แสดงว่าจะไม่ทำ จึงไม่ควรวางเงื่อนไขแบบนั้น แต่ต้องกลับไปกำหนดเป็นชุดนโยบายว่า จะส่งสัญญาณว่าจะค่อยๆ ปรับขึ้น และประเทศไทยค่าแรงขั้นต่ำจะต้องสูงขึ้น ลดการใช้แรงงานต่างด้าว แต่ต้องเพิ่มทักษะของคน สิ่งที่ดีที่สุดคือ การเพิ่มทักษะของคนให้สูงขึ้นแล้วค่าจ้างก็จะสูงกว่าค่าจ้างขั้นต่ำ แต่เรายังไม่มีนโยบายดังกล่าว คือนโยบายให้เบ็ดตกปลา ไม่ใช่นโยบายให้ปลา
ถือเป็นทัศนะในมุมวิชาการ ที่ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทุกคนควรต้องรับฟังในการติดตามการนำเสนอนโยบายของพรรคการเมืองในช่วงการเลือกตั้งเวลานี้ เพื่อที่จะได้ไม่ถูกนักการเมือง-พรรคการเมือง โฆษณาชวนเชื่อ พูดแล้วไม่ทำ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในการเมืองไทย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รอดยากป.ป.ช.จ่อฟัน อดีต44สส.พรรคส้ม แต่อาจพ้นผิดที่ศาลฎีกา!
ศึกซักฟอกเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในเดือนมีนาคม ที่มีพรรคประชาชน เป็นหัวหอกหลักของฝ่ายค้านในการนำทัพ ไล่บดขยี้รัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร
'เพื่อไทยวิธี'ตลบตะแลงแก้'รธน.' แอบหลังสว.-ทำสภาล่ม-ยื่นศาล
ก่อนหน้านี้ไม่เพียงแค่พรรคประชาชน (ปชน.) จะมุ่งมั่นแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับเท่านั้น ยังมีพรรคเพื่อไทยที่มีความขึงขังไม่แพ้กัน โดยยื่นร่างแก้ไขประกบเว้นการแก้หมวด 1 และหมวด 2
'ภูมิธรรม' โต้ 'พท.' ตีสองหน้า ล่มสภาเอง ยันไม่กระทบรัฐบาล
'ภูมิธรรม' โต้ 'เพื่อไทย' ตีสองหน้า ล่มสภาแก้เกม รธน. แจงไม่กระทบรัฐบาล ปัดตอบทำไมไม่ยื่นศาลตีความแต่แรก
'ธรรมนัส' ชี้แก้รธน. รัฐบาลต้องเดินไปด้วยกัน ไม่โกรธหากเห็นต่าง
'ธรรมนัส' ยันวิปรัฐบาลคุยกันแล้ว ประเด็นแก้รัฐธรรมนูญต้องเดินไปด้วยกัน แต่ไม่โกรธกันถ้าต่างมีหลักการของตัวเอง
เปิดเบื้องลึก! ทำไม 'เพื่อไทย' ต้องลงทุนยกร่างรธน.ฉบับใหม่
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "ทำไมต้องลงทุนยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" โดยระบุว่า
สว. ประเมินสภาล่มอีก! แนะ 'พท.-ปชน.' ถอย ชงแก้ รธน. รายมาตราแทน
สว. ประเมินประชุมรัฐสภาแก้ รธน.วันนี้ อาจล่มอีก องค์ประชุมไม่ครบ แนะ 'พท.-ปชน.' ถอย เสนอแก้รายมาตรา ที่ไม่ใช่ 256