เส้นทางไฟลนก้น “กกต.” หลังสะดุดตอ “ราษฎร” แบ่งเขตเลือกตั้ง

จากเรื่องเล็กๆกลายเป็นเรื่องดราม่าจนได้กับกรณีการแบ่งเขตเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่หลายคนตั้งถามว่าในการนับรวมชาวต่างชาติเป็นราษฎรด้วย โดยจะส่งผลต่อการคำนวณ ส.ส.แบบแบ่งเขต ซึ่งกลายเป็นข้อกังวลขึ้นที่ว่าบางพื้นที่ที่อาจจะได้รับการจัดสรรจำนวนส.ส.น้อย อาจจะได้มากกว่าปกติ

 เรื่องนี้ถึงหูนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ และขอให้กกต.ส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ 

ฝั่งกกต.เองก็นั่งไม่ติด  ออกมาชี้แจงแบบละเอียดหยิบโดยยกคำว่า “ราษฎร” ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยวินิจฉัยไว้เมื่อปี 2555 โดยพิจารณาจากกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ซึ่งกำหนดให้ทั้งคนสัญชาติไทยและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยต้องปฏิบัติ เช่น การแจ้งการเกิด การแจ้งการตาย การเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน เป็นต้น ดังนั้น

คำว่า “ราษฎร” จึงหมายถึงทั้ง คนสัญชาติไทยและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ที่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

การพิจารณาคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่จะนำมาประกาศเป็นจำนวนราษฎร จะพิจารณาจากบุคคล ที่มีคุณสมบัติสามารถขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ทั้งนี้เนื่องจากการมีชื่อในทะเบียนบ้าน ท.ร.13 หรือ ท.ร.14 แสดงถึงการมีภูมิลำเนาของบุคคลตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534

ซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่สามารถเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านได้ ประกอบด้วย คนที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ถาวร (มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ หรือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว), คนที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว (พวกที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย มีหนังสือเดินทาง/วีซ่า), คนที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทยเป็นเวลานาน (มากกว่า 10 ปี) และรัฐบาลมีนโยบายแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล โดยมีมติ ครม.ให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว และให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำทะเบียนราษฎรไว้เป็นหลักฐาน เช่น ชนกลุ่มน้อยและกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นต้น

และการประกาศจำนวนราษฎรในอดีตที่ผ่านมา ก็ได้นับจำนวนราษฎรทั้งคนสัญชาติไทยและคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยดังกล่าว แต่เป็นการประกาศรวม เพิ่งจะมาแยกจำนวนที่เป็นไทยและจำนวนที่ไม่มีสัญชาติไทยเมื่อการประกาศจำนวนราษฎร ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2557 เป็นต้นมา เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจำนวนราษฎรในการบริหารหรือดำเนินกิจการในความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยสรุปคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่นำมาประกาศจำนวนราษฎร ได้แก่ บุคคล 3 จำพวก คือ คนที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ถาวร, คนที่ได้รับอนุญาตให้อาศัยอยู่ในประเทศไทยได้เป็นการชั่วคราว, คนที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทยเป็นเวลานาน (มากกว่า 10 ปี) โดยไม่รวมกลุ่มแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) 

ซึ่งแม้กกต.จะพยายามอธิบายมากแค่ไหน แต่ฝั่งวิชาการ และภาคประชาสังคมมองว่าควรยื่นศาลตีความ และกกต.ก็ได้ส่งศาลตีความเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ กระบวนการของศาลหลังจากนี้ จะดำเนินการไปสู่  ศาลจะแต่งตั้งตุลาการไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาก็ได้ เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องเข้ามา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญก็จะส่งเรื่องให้คณะตุลาการดังกล่าวภายใน 2 วันนับแต่วันที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง

 โดยคณะตุลาการดังกล่าวจะต้องตรวจและมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาภายใน 5 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญโดยในประเด็นนี้คดีเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องบทบัญญัติของกฎหมาย จึงมองว่าน่าจะไม่ใช้เวลานานในการวินิจฉัย

 

อย่างไรก็ตามไม่ว่าศาลจะพิจารณาออกมาในรูปแบบไหน ดีหรือเสีย ก็ย่อมส่งผลกระทบต่อไทม์ไลน์การเลือกตั้งแน่นอน โดยแบ่งเป็น1.ถ้าศาลพิจารณาอย่างเร็วที่สุด และวินิจฉัยเห็นว่าไปเป็นตามรัฐธรรมนูญ ก็จะไม่เกิดผลกระทบอะไรต่อไทม์ไลน์เลือกตั้ง สามารถเข้าสู่ไทม์ไลน์การเลือกตั้งเดิมที่กกต.ได้วางไว้

2.ถ้าศาลพิจารณาล่าช้า แต่วินิจฉัยเห็นว่าไปเป็นตามรัฐธรรมนูญ ก็จะส่งผลแต่เล็กน้อย โดยเฉพาะไทมไลน์การแบ่งเขตที่กกต.ได้กำหนดไว้ว่าจะพิจารณารูปแบบแบ่งเขตให้แล้วเสร็จภาย 20-28 ก.พ.66 ก็เลื่อนออกไปอีก รวมถึงการทำไพรมารีโหวตด้วยที่พรรคการเมืองจะต้องสรรหาผู้สมัครลงสู้ศึกการเลือกตั้งในแต่ละเขต

แต่อย่างไรก็ตามก็ยังอยู่ในกรอบการเลือกตั้งเดิมเพียง เพียงแต่การทำงานของกกต.หลังจากที่ศาลวินิจฉัย ไปจนถึงวันยุบสภาจะออกมาในรูปแบบไฟลนก้น

3.ถ้าศาลวินิจฉัยว่าความหมายของราษฎรในการแบ่งเขตเลือกตั้งขัดต่อรัฐธรรมนูญ จะเกิดผลกระทบต่อการเลือกตั้งแบบเต็มๆ เพราะผอ.กกต.ทุกจังหวัดได้ออกแบบเขตเลือกตั้งของตัวเองเรียบร้อยแล้ว และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น

 ผลที่ตามมาคือจะทำให้ กกต.จะต้องสั่งให้ผอ.กกต.ทุกจังหวัดออกแบบเขตเลือกตั้งใหม่ทั้งหมด และต้องออกแบบมากกว่า 3 รูปแบบให้บอร์ดกกต.พิจารณา ซึ่งจะกินเวลาไปสักพักเกินเดือนกว่าจะออกแบบรูปแบบแบ่งเขตใหม่ให้เป็นไปตามที่ศาลวินิจฉัย

เว้นเสียแต่ว่า กกต.จะทำแผนรับมือล่วงหน้าให้ผอ.กกต.ทุกจังหวัดออกแบบรูปแบบแบ่งเขตโดยใช้ราษฎร ที่มีสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียวด้วย ซึ่งถ้าเป็นไปตามนี้ก็จะส่งผลกระทบไม่มากนักต่อไทม์ไลน์การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

14 ส.ค.ชี้ชะตา 'ลุงป้อม-พปชร.' ลุ้นสุดท้ายคดี 'เศรษฐา'

ภายใน "พรรคพลังประชารัฐ" ขณะนี้เหมือนจะมี 2 ชุดความคิด ชุดความคิดแรกคือ พรรคจะควรจะอยู่นิ่งๆ ทำตัวเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ดี เพื่อรักษาสถานภาพที่มีอยู่

เศรษฐาเกาะ“มีชัย”หวังชนะคดี เปิดข้อต่อสู้32หน้าขอศาลอยู่ยาว

เมื่อวันอังคารที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้องในคดีกลุ่ม 40 อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ยื่นคำร้องให้ศาล รธน.วินิจฉัยกรณี นายกฯ นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็น รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดส่ง เอกสารคำแถลงปิดคดี ในคดีดังกล่าวถึงสำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ก้าวไกลชงนิรโทษฯ 112 แบบมีเงื่อนไข ห้ามทำผิดซ้ำ 3-5 ปี แมตช์วัดใจ พท.-ทักษิณ

เดิมที ศุกร์ที่ผ่านมา 26 ก.ค. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มี ชูศักดิ์ ศิรินิล จากพรรคเพื่อไทยเป็นประธาน