‘กกต.’ รอดหรือร่วง คุมสนามเลือกตั้งใหญ่ 66

ย่างก้าวปี พ.ศ.2566 ปีกลองเลือกตั้งดังสนั่นรอบทิศ บรรดาพรรคการเมืองทั้งพรรคเล็ก  พรรคใหญ่ ต่างเปิดตัวผู้สมัคร สมาชิกพรรค นโยบายพรรค กันอย่างเอิกเกริก และตั้งตารอคอยเพื่อลงสนามสู้ศึกเลือกตั้งที่มาถึงในไม่กี่อึดใจ ที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ โดยโดยสภาชุดนี้จะครบวาระในวันที่ 23 มี.ค.นี้

แต่ละฝ่าย แต่ละฝั่ง ฝ่ายเริ่มขยับไม่ว่าจะเป็นพรรคการเมือง ซึ่งอยู่ในฐานะผู้เล่น ลงพื้นที่กันอย่างหนักเช็คฐานเสียงของตัวเอง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ที่เริ่มมีการติดป้ายหาเสียง และได้จัดโร๊ดทัวร์ทั้งเหนือ อีสาน และภาคใต้ อ้อนประชาชนลงคะแนนให้หวังได้เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล

 ฝั่งพลังประชารัฐได้ธรรมนัส พรหมเผ่า เล่นใหญ่นำพรรคพวกตัวเองคุกเข่าอ้อนพล.อ.ประวิตร์ วงษ์สุวรรณ กลับบ้านหลังเก่าช่วยงานบิ๊กป้อม ขณะปราศรัยที่จ.พะเยา ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติได้ประกาศตัวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นสมาชิกพรรคคนใหม่อย่างเป็นทางการ

ด้านคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะกรรมการผู้ตัดสิน งานหนักเป็นพิเศษเพราะต้องเตรียมความพร้อม และทำให้การเลือกตั้งครั้งหน้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยได้มีการประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการการเลือกตั้ง สำรวจจำนวนหน่วยเลือกตั้ง โดยให้ กกต.ประจำจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ประสานข้อมูลกับสำนักทะเบียนในพื้นที่ เพื่อขอทราบจำนวนหน่วยเลือกตั้ง โดยประมาณในภาพรวมของจังหวัด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ด้านงบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ในการเลือกตั้ง

ส่วนในเรื่องการลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง ได้สำรวจสถานที่ที่กำหนดเป็นสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลางนอกเขตเลือกตั้ง โดยคำนึงถึงสถานที่ที่ประชาชนเข้าออกได้ง่าย มีความสะดวก เหมาะสม รวมทั้งนำข้อมูลการใช้สิทธิ ลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งล่าสุดมาประกอบพิจารณา กรณีกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล ที่มีการขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งครั้งล่าสุดเป็นจำนวนมาก แต่สถานที่ลงคะแนนคับแคบ และมีสภาพปัญหาการจราจร ให้พิจารณากำหนดสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลางในพื้นที่ใกล้เคียง ภายในเขตเลือกตั้ง เพื่อเป็นสถานที่ลงคะแนนกลาง (สำรอง)

หากเกิดกรณีมีผู้มาขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง ที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลาง (หลัก) ในระบบการลงทะเบียนทางอิเล็กทรอนิกส์เต็มตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้ว จะได้มีสถานที่ลงคะแนนเลือกตั้งกลาง ที่อยู่ใกล้เคียงรองรับจำนวน ผู้ที่ขอลงทะเบียนใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้ง

นอกจากนั้น ยังมีการเตรียมการจัดให้มีการเลือกตั้งสำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ ได้ประสานไปยังผู้อำนวยการ กกต.ประจำจังหวัด ที่มีสถานสงเคราะห์ของรัฐ ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อสำรวจความพร้อม ทั้งด้านสถานที่ และบุคลากรที่ทำหน้าที่คณะกรรมการประจำที่เลือกตั้งพิเศษ ในการจัดที่เลือกตั้งพิเศษสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุซึ่งผลสำรวจข้อมูลเมื่อวันที่ 14 พ.ย. พบว่า มีสถานที่ที่พร้อมจัดเป็นที่เลือกตั้งพิเศษ สำหรับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ จำนวน 28 แห่ง ในพื้นที่ 23 จังหวัด

ส่วนการแบ่งเขตเลือกตั้งได้มีการเตรียมความพร้อมมาแล้วหลายเดือน โดยในส่วนของ กทม. เตรียมข้อมูลต่าง ๆ ไว้พร้อมครบหมดแล้ว ตั้งแต่ ก.พ. 2565 ทั้งเรื่องแนวเขตต่าง ๆ ข้อกฎหมายและระเบียบข้อกำหนด รวมทั้งจำนวนราษฎรที่เราเตรียมการไว้ โดยอาศัยข้อมูล ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2564 มีการเตรียมการไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้ กกต.ได้ใช้ดุลยพินิจเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด

อย่างไรก็ตามในปีนี้เมื่อจำนวนราษฎรที่ประกาศใหม่เมื่อวันที่ 31 ธ.ค.2565  กกต.จะใช้จำนวนราษฎรที่ประกาศใหม่รายแขวง รายตำบล มาใส่ลงไปใหม่ว่าเขตเลือกตั้งที่กกต.ได้ทำออกมาหลายแบบนั้น ยังอยู่ในเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ เบื้องต้นขณะนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ และได้เร่งแบ่งเขตกันอย่างจริงจังแล้ว แต่ยังไม่สามารถประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งได้ เพราะต้องรอพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกาศใช้บังคับเสียก่อน

 ดังนั้นในเมื่อขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายรองรับ กกต.จึงได้แต่เตรียมการไว้ก่อน แต่เมื่อ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ และมีระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อนั้นการแบ่งเขตก็จะปรากฏออกมา ไม่ช้าไม่นาน และเมื่อได้รูปแบบการแบ่งเขตชัดเจนแล้วไม่น้อยกว่า 3 รูปแบบ ขั้นตอนต่อไปก็คือ ประกาศรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมือง ผู้สมัครรับเลือกตั้ง และประชาชนในเขตนั้น ๆ ในเวลา 10 วัน ก่อนที่จะเสนอให้บอร์ดกกต.เลือกรูปแบบที่ชัดเจน

นอกจากนี้ กกต.ยังได้มีการจัดชุดติดตามความเคลื่อนไหวพรรคการเมือง และว่าที่ผู้สมัครส.ส.ในการหาเสียงตามจังหวัดต่างๆในช่วงนี้ ซึ่งไม่นานมานี้เลขาฯกกต.ได้มีการพูดคุยกับผอ.กกต.ทััง 77 จังหวัด ได้ย้ำกำชับให้คอยสอดส่องการหาเสียงบรรดานักการเมือง  เพราะขณะนี้อยู่ในช่วง 180 วันก่อนการเลือกตั้ง ที่เริ่มนับตั้งแต่เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่ามีข้อห้ามหลายอย่างที่มาควบคุมนักการเมือง  อาทิสามารถไปร่วมงานประเพณีได้ แต่ห้ามให้เงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ห้ามเกณฑ์คนมาช่วยหาเสียงโดยได้รับค่าตอบแทน นอกจากนี้ไม่สามารถมอบสิ่งของช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย โรคระบาด

แต่เรื่องที่กกต.ต้องจับตาเป็นพิเศษคือการหาเสียงผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อย่าง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ข้าราชการการเมือง เพราะแม้ว่าจะจะมีกฎเหล็กควบคุมพรรคฝ่ายรัฐบาล แต่ตำแหน่งทางฝ่ายบริหารในรัฐบาลเช่นรัฐมนตรี สามารถกุมความได้เปรียบใช้ตำแหน่งของตัวเองลงพื้นที่หาเสียง สร้างความได้เปรียบให้กับตัวเองได้ ซึ่งเรื่องดังกล่าวเหล่านักการเมืองที่มีตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลก็ได้มีการระมัดระวังเรื่องนี้เช่นกัน เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการโดนร้องเช่นกัน เพราะการหาเสียงในขณะนี้เข้มข้นพอสมควร จึงเป็นหน้าที่ของกกต.ที่จะต้องคอยสอดส่องให้อยู่กับร่องกับรอย

ทั้งนี้มีประเด็นดราม่าอยู่เหมือนกัน กับกรณีที่กกต.ไม่เห็นชอบระบบการรายงานผลการเลือกตั้งส.ส.อย่างไม่เป็นทางการ และระบบรับสมัครเลือกตั้งออนไลน์ โดยกกต.มองว่าเมื่อเกิดปัญหาระบบรายงานผลล้ม มีการโจมตีระบบ ไม่มีผู้รับผิดชอบกลายเป็นปัญหาตกมาที่กกต.เสียเอง ซึ่งเกิดปัญหาดังกล่าวเมื่อปี 2562 จึงเป็นสังเกตของประชาชนว่าอาจจะทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตหรือไม่

หลังจากนี้จะต้องจับตาว่ากกต.จะมีวิธีไหนที่จะสามารถรายงานผลอย่างไม่เป็นทางการได้บ้าง เพราะทุกเรื่องที่เตรียมการมาถือว่าทำได้ดี แต่ในส่วนนี้จะต้องติดตามกันต่อไปว่าประชาชนจะสามารถลุ้นผลได้แบบเรียลไทม์ได้หรือไม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ลุยเปิดกาสิโนส่อสะดุด กฤษฎีกาโดดขวางเต็มสูบ

แนวคิดการทำให้ พนันออนไลน์ ขึ้นมาอยู่บนดิน ตามที่ทักษิณ ชินวัตร ผู้นำรัฐบาลเพื่อไทยตัวจริงส่งสัญญาณมา หลายคนยังมองโมเดลนี้ไม่ออกว่าจะทำได้อย่างไร เพราะน่าจะติดล็อกข้อกฎหมายหลายอย่าง รวมถึงต้องเจอแรงต้านในส่วนของภาคประชาสังคม

1ประเทศ2นายกฯ ระวังจบซ้ำรอยเดิม?

มีหลายส่วนในสังคม คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่พ้นโทษออกมาโดยไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว แต่ทำตัวเปรียบเหมือนเป็นเจ้าของรัฐบาล

'วรงค์' มึน 'กกต.' ปล่อยผู้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง มีบทบาทเหนือหัวหน้าพรรค

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี โพสต์เฟซบุ๊กว่า “ผมรู้สึกมึนกับกกต. ที่ปล่อยให้ผู้ถูกตัดสิทธิ์ทา

ประธาน กกต. ไม่ฟังธง 'ทักษิณ' ช่วยหาเสียงชูนโยบายรัฐบาลเกินอำนาจ อบจ. ผิดหรือไม่

"อิทธิพร" เผยบัตรเลือกตั้งอบจ. เตรียมส่งถึงทั่วประเทศ เตือนผู้สมัคร หลีกเลี่ยงให้เงินแตะเอีย-สิ่งของในช่วงตรุษจีน