เปิดไทม์ไลน์วันเลือกตั้ง ชิมลางเปิดตารางหย่อนบัตร

ในช่วง 180 วันต่อจากนี้ถือว่าเป็นช่วงที่บรรดาพรรคการเมือง และนักการเมืองต่างอึดอัดพอสมควร เพราะว่าที่ผู้สมัคร และพรรคการเมืองจะต้องปฏิบัติเกี่ยวกับการหาเสียงให้เป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กำหนด ซึ่งมีความเข้มงวดพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นการห้ามบริจาคเงิน ให้ประโยชน์อื่นใด หรือมอบสิ่งของช่วยประชาชนผู้ประสบภัย ซึ่งไม่สามารถทำได้

ไม่ใช่ไปแจกแล้วมาคำนวณเป็นค่าใช้จ่าย เพราะตามระเบียบวิธีหาเสียงจะห้ามเรื่องพวกนี้ไว้ เพราะจะถือเป็นการซื้อสิทธิ์ขายเสียง หากกระทำในช่วง 180 วัน แต่เรื่องที่จะคำนวณเป็นค่าใช้จ่ายได้คือการหาเสียง รถแห่หาเสียง ป้ายโฆษณาแบบนี้คำนวณเป็นค่าใช้จ่ายในการหาเสียง

มาดูความพร้อมของ กกต.ในการตั้งตุ๊กตาความเป็นไปได้ในการกำหนดตารางการเลือกตั้ง ได้แก่ กรณีสภาผู้แทนราษฎรอยู่ครบวาระ มีแผนจัดการเลือกตั้งเดือน มี.ค.2566 เริ่มตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.66 ถือเป็นวันที่อายุของ ส.ส.สิ้นสุดลง, 30 มี.ค.66 วันสุดท้ายที่คาดว่าพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้, 31 มี.ค.66 กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และประกาศกำหนดวันรับสมัคร เดือน เม.ย.2566 ระหว่างวันที่ 3-7 เม.ย.66

วันที่ 11 เม.ย.66 วันสุดท้ายของการประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง และวันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง, 14 เม.ย.66 ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ถัดไปวันที่ 16 เม.ย.66 เป็นวันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน และสรรหาแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง 26 เม.ย.66 วันสุดท้ายเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง และวันสุดท้ายเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ 30 เม.ย.66 เป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตเลือกตั้ง/นอกเขตเลือกตั้ง และแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 

 ต่อมาเมื่อเข้าสู่เดือน พ.ค.2566 ระหว่างวันที่ 1-6 พ.ค.66 แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ขณะเดียวกันวันที่ 1 พ.ค.66 เป็นวันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง, 3 พ.ค.66 วันสุดท้ายศาลฎีกาพิจารณาสิทธิ์สมัครกรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร 6 พ.ค.66 เป็นวันสุดท้ายที่ ผอ.เลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ยื่นคำร้องศาลฎีกา กรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม 7 พ.ค.66 วันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ขณะที่ 8-14 พ.ค.66 แจ้งเหตุไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง (ม.33)

สำหรับกรณีหากมีการยุบสภา กกต.ยังได้ร่างแผนการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.กรณียุบสภา โดยมีรายละเอียดดังนี้ วันที่มี พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎร กกต.ประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง ประกาศกำหนดวันรับสมัครภายใน 5 วันนับแต่วันยุบสภา, วันรับสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ภายใน 5-25 วัน นับแต่วันยุบสภา, วันสุดท้ายประกาศกำหนดหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง และวันสุดท้ายประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน, ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.ภายใน 7 วัน นับแต่วันปิดรับสมัครวันสุดท้ายส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้าน และสรรหา/แต่งตั้ง คกก.ประจำหน่วยเลือกตั้ง ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 20 วัน

วันสุดท้ายเปลี่ยนแปลงหน่วยเลือกตั้ง/ที่เลือกตั้ง และวันสุดท้ายเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 10 วัน, แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง, วันสุดท้ายยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง ภายใน 7 วันนับแต่วันประกาศรายชื่อ, วันสุดท้ายศาลฎีกาพิจารณาสิทธิ์สมัคร กรณี ผอ.การเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งไม่รับสมัคร ก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 3 วัน, วันสุดท้าย ผอ.ประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องศาลฎีกากรณีผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ก่อนวันเลือกตั้ง, วันที่คาดว่าเป็นวันเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการเลือกตั้งทั่วไป ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภา, แจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 7 วันนับแต่วันเลือกตั้ง

ส่วนการเปลี่ยนแปลงในการเลือกตั้งครั้งหน้า คือ บัตรเลือกตั้งเปลี่ยนเป็นบัตร 2 ใบ โดยใบแรกเป็น “บัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต” และบัตรใบที่ 2 เป็น “บัตรเลือกพรรคการเมือง” ที่ตัวเองชอบ ซึ่งจะมีผลต่อคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อของแต่ละพรรค จากเดิมที่เลือกได้แค่ใบเดียว

 อีกส่วนที่ส่งผลกระทบต่อพรรคการเมือง การเปลี่ยนแปลง ส.ส.แบบแบ่งเขต และบัญชีรายชื่อ จากปี 2562 ส.ส.แบบแบ่งเขตจะมีจำนวน 350 คน เป็น 400 คน ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อจากเดิม 150 คน ลดลงเหลือ 100 คน

ซึ่งหลายฝ่ายวิเคราะห์ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ พรรคใหญ่ได้เปรียบพรรคเล็ก ขณะที่พรรคขนาดกลางถดถอย ซึ่งเป็นสัดส่วนเดียวกับที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญ 2540

 ด้วยเหตุนี้ การเลือกตั้งในส่วนของ ส.ส.เขตนั้นจึงมีความสำคัญมากขึ้น พรรคใดก็ตามที่สามารถยึดกุมพื้นที่เขตเอาไว้ได้ ก็มีโอกาสสูงที่จะได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล

 แต่ที่แน่ๆ คนไทยมีแนวโน้มสูงที่จะได้หย่อนบัตรเลือกตั้ง หากไม่มีอุบัติเหตุทางการเมืองใดๆ เกิดขึ้น. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

14 ส.ค.ชี้ชะตา 'ลุงป้อม-พปชร.' ลุ้นสุดท้ายคดี 'เศรษฐา'

ภายใน "พรรคพลังประชารัฐ" ขณะนี้เหมือนจะมี 2 ชุดความคิด ชุดความคิดแรกคือ พรรคจะควรจะอยู่นิ่งๆ ทำตัวเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ดี เพื่อรักษาสถานภาพที่มีอยู่

เศรษฐาเกาะ“มีชัย”หวังชนะคดี เปิดข้อต่อสู้32หน้าขอศาลอยู่ยาว

เมื่อวันอังคารที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้องในคดีกลุ่ม 40 อดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ยื่นคำร้องให้ศาล รธน.วินิจฉัยกรณี นายกฯ นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน เป็น รมต.สำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดส่ง เอกสารคำแถลงปิดคดี ในคดีดังกล่าวถึงสำนักงานเลขาธิการศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

กมธ.ฯ ปรับไทม์ไลน์วันออกเสียงประชามติ พร้อมเลือกตั้ง หลัง 60 วัน แต่ไม่เกิน 150 วัน

กมธ.ประชามติ ปรับเนื้อหา ขีดไทม์ไลน์วันออกเสียง พร้อมวันเลือกตั้ง ตั้งเงื่อนไข ไม่เร็วกว่า60วันไม่ช้ากว่า150วัน พบ ‘อนุทิน’ ชงแปรญัตติ เพิ่มเกณฑ์ 1ใน4 ขอคนมาใช้สิทธิ เป็นเงื่อนไขผ่านประชามติ