อีกหนึ่งปัญหาร้อนในมือรัฐบาล “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ที่ต้องเร่งแก้จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ส่งผลกระทบกับประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการขนส่ง และรถบรรทุกที่ต้องรับภาระหนักที่สุด จนทนไม่ไหวออกมาจัดกิจกรรมคาร์ม็อบเรียกร้องรัฐบาลให้แก้ปัญหาหลายครั้งหลายหน พร้อมขู่หยุดการเดินรถขนส่งสินค้า
โดยล่าสุด “สหพันธ์ขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย” รวมตัวจัดกิจกรรมม็อบรถบรรทุก Truck Power ซีซั่น 2 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 25 บาทต่อลิตร โดยรถบรรทุกติดป้ายข้อความประท้วง เคลื่อนขบวนในถนน 4 สายหลัก ที่เป็นเส้นทางสำคัญที่ประชาชนใช้สัญจรเพื่อไปชุมนุมยังกระทรวงพลังงาน
ซึ่งเจ้ากระทรวงพลังงานอย่าง นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน ยังคงยืนยันรัฐบาลสามารถตรึงราคาให้อยู่ได้ที่ไม่เกิน 30 บาทต่อลิตรเท่านั้น ไม่มีเปลี่ยนแปลง
ด้าน “บิ๊กตู่” หวังแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีบัญชาให้เตรียมระบบขนส่งรองรับหยุดเดินรถ และให้เหล่าทัพเตรียมสนับสนุนรถยนต์ทหารเข้าช่วยในการขนส่งอีกทางหนึ่ง ซึ่งแนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวทำให้ถูกวิจารณ์เช่นกันว่า “เอารถราชการมาแข่งกับชาวบ้าน” ซึ่งเจ้าตัวยืนยัน ไม่ใช่การประกอบการขนส่งหรือใช้วิ่งแทนรถบรรทุก แต่เป็นเพียงแผนสำรองเพื่อเติมระบบขนส่งหากมีความจำเป็นเท่านั้น
ขณะที่ในส่วนของ “กองทัพ” รับลูกทันที โดยกรมส่งกำลังบำรุงทหารบก กรมการขนส่งทหารบก กองทัพภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รวบรวมศักยภาพด้านการขนส่ง และเตรียมข้อมูลยานยนต์ทางทหาร ที่สามารถนำมาใช้ในการขนส่งสินค้ารองรับตามนโยบายของรัฐบาล โดยเบื้องต้นมีรถยนต์ทหารที่เหมาะสมกับภารกิจ 3,700 คัน พร้อมสนับสนุน
รวมถึงได้ศึกษาถึงกฎระเบียบเกี่ยวข้องและแนวทางปฏิบัติในการนำรถยนต์บรรทุกขนาดต่างๆ พร้อมกำลังพลเข้ารับภารกิจในครั้งนี้ด้วย เนื่องจากมีข้อท้วงติงอาจผิด พ.ร.บ.ขนส่งทางบกและฝ่ายค้านจ้องฟ้องคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ให้ตรวจสอบด้วย
ส่วนฟีดแบ็กจากกลุ่มสหพันธ์การขนส่งฯ พร้อมท้าให้รัฐบาลนำรถทหารออกมาวิ่ง เพื่อให้รู้ถึงต้นทุนค่าขนส่งที่แท้จริงว่ากลุ่มผู้ประกอบการไม่ได้ยกเมฆปัญหาขึ้นมา และขีดเส้นให้เวลารัฐบาลถึงวันที่ 30 พ.ย.นี้ หากไม่มีคำตอบในวันที่ 1 ธ.ค. จะยกระดับการเรียกร้องในวิธีการใหม่ที่ไม่ใช้รถบรรทุกแล้ว และจะขับไล่นายสุพัฒนพงษ์ออกจากตำแหน่งด้วย
อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ที่รุมเร้า ในส่วนของรัฐบาลได้แก้ปัญหาเบื้องต้น โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบ 20,000 ล้านบาท ประคองราคาน้ำมัน 4 เดือน โดยเห็นชอบการขออนุมัติกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เพื่อเสริมสภาพคล่องของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง รักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีพของประชาชน
โดยอนุมัติหลักการร่าง พ.ร.ฎ. เปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ พ.ศ....เปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินกู้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ เป็นจำนวนไม่เกิน 30,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ 20,000 ล้านบาท
พร้อมเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์การกู้เงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยกำหนดให้ สกนช.จะต้องเสนอเหตุผลความจำเป็นในการกู้เงิน รายละเอียดการกู้เงิน แผนการกู้เงินแผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ ต่อคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำเสนอ ครม.เพื่ออนุมัติ
และอนุมัติการกู้ยืมเงิน โดยให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง โดยให้ สกนช.ดำเนินการกู้เฉพาะวงเงิน 20,000 ล้านบาท ตามกรอบของกฎหมายกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีอยู่ และจะดำเนินการกู้เงินเพิ่มเติมวงเงิน 10,000 ล้านบาท ได้ต่อเมื่อ ร่าง พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้แล้ว
จากนี้คงต้องจับตาการทำงานของรัฐบาลจะสามารถแก้ปัญหาจนเป็นที่พอใจของมวลชนก่อนถึงวันขีดเส้นไว้ได้หรือไม่.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน
ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ
การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี
การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน
'ปชน.'ถอย'ม.112'แลกอุดมการณ์ เพิ่มคะแนนนิยม'เท้ง'เฉือน'อิ๊งค์'
ผลสำรวจความเห็นของประชาชน 'นิด้าโพล' สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) หัวข้อ ความนิยมทางการเมือง ในไตรมาส 4 ปลายปี 2567 ให้ผลที่น่าสนใจ เมื่อ 'เท้ง’- นายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน (ปชน.) เป็นนักการเมืองที่ประชาชนสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดอันดับ 1
ปี67‘อดีตสว.’ขยับสะเทือนถึงรัฐบาล ถอดถอน‘เศรษฐา’ที่มาของหลายเรื่อง
การเมืองรอบปี 2567 เหตุการณ์ที่ใหญ่ที่สุดต้องยกให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ “เศรษฐา ทวีสิน” พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้ “แพทองธาร ชินวัตร” กลายเป็นนายกฯ หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย และทำให้หลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้นตามมา วันนี้จึงขอบันทึกเรื่องราวนี้ไว้ ยกให้เป็นเหตุการณ์แห่งปี
‘ทักษิณ’ไม่กล้าเขี่ย‘ภท.-รทสช.’
เป็นความสัมพันธ์ที่แม้แต่คนภายนอกยังมองออกว่ากระท่อนกระแท่น สำหรับความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร
สวมบท'อินฟลูอาเซียน' จุดเสี่ยงใช้ประเทศเดิมพัน?
ยืนยันชัดเจนจาก นายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย หลังโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Anwar Ibrahim พร้อมรูปภาพคู่กับ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี