เอฟเฟกต์กัญชา-31 ส.ส. ปัจจัยบีบ (ยุบ) สภา?

ช่วงปลายรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา มีปัญหาเชิงนโยบาย จ่อคิวต้องเร่งแก้ให้ประชาชนจำนวนมาก ขณะที่เสถียรภาพ เอกภาพ เกมการเมืองในสภา นอกสภา ถูกสั่นคลอนหนักขึ้นเรื่อยๆ การเมืองในพรรคพลังประชารัฐ พรรคแกนนำรัฐบาล แบ่งเป็นก๊ก กลุ่ม ก๊วน พี่ใหญ่ บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค คุมไม่อยู่ ไม่ได้ทั้งหมด

สมาชิกบางกลุ่มเกาะกลุ่มกันอย่างหลวมๆ บางคนอยู่เพราะคิดว่ามีโอกาสเติบโตทางการเมืองได้ จึงต้องเข้าหาผู้มีอำนาจสั่งการเท่านั้น บางคนอยู่เพราะ ยังมีตัวประกัน มีลูก มีพี่ มีน้อง มีคนใกล้ชิด จึงต้องยังอยู่ในพรรค บางคนติดแบล็กลิสต์คดีความในอดีต หวังบารมีพี่ใหญ่ บางคนอยู่โดยสถานภาพ มีตำแหน่งผูกติด ความเป็นไปบังคับให้จำใจต้องอยู่โดยสถานภาพ  

พี่น้องร่วมรบเกาะเกี่ยวอำนาจกันมา กลุ่ม 3 ป. บิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร บิ๊กป๊อก-พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ มีแต่ข่าวออกมาไปในเชิงขัดแย้ง ยิ่งมีพรรครวมไทยสร้างชาติเปิดออกมา พร้อมส่งเทียบเชิญ พล.อ.ประยุทธ์เข้าไปเป็นแคนดิเดตนายกฯ ด้วยแล้ว พี่ใหญ่ไม่ยี่หระ น้องเล็กจะอยู่จะไป ข่าวที่ออกมา ด้วยสภาพความเป็นไป คนในพรรค กองหนุน กองเชียร์ เริ่มลดน้อยถอยลง 

นักการเมืองตกอยู่ในภาวะ ‘ตัวอยู่-ใจไม่อยู่’ ยิ่งนานวัน สถานภาพรัฐบาลง่อนแง่น รอวันแยกย้าย แยกทาง นักการเมือง ‘พวกนกรู้’ อยู่วงในพรรค ยิ่งรู้ดี สภาพที่เป็นอยู่เป็นเช่นไร  

ขนาดยังไม่ยุบสภา 31 ส.ส. ตบเท้าลาออก จากพรรคการเมืองเดิม เตรียมไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย เสี่ยหนู-นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรค และ ครูใหญ่-เนวิน ชิดชอบ กองเชียร์คนสำคัญ ภูมิใจไทยมีรัฐมนตรีคุมกระทรวงหลักเกรดเอ มีความเพียบพร้อมปัจจัย วิธีบริหารจัดการให้คนในพรรค ‘แถวตรง’ ได้มากกว่าพรรคอื่น ดูจากแนวโน้ม สมัยหน้ายังคงเป็นพรรคร่วมรัฐบาล จึงไม่แปลกที่ ส.ส.อยากจะย้ายซบ 

การส่งสัญญาณ ส.ส.ที่คิดจะย้ายพรรค ลาออกในช่วงนี้ เป็นห้วงเวลา 180 วัน ถ้ารัฐบาลหากอยู่ครบวาระ 23 มี.ค.2566 ส.ส.เขตลาออกได้โดยไม่ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่  

 ‘ล็อกให้ชัวร์ ป้องกันการเบี้ยว’ ส.ส.ที่จะกลับไปกลับมา ให้ลาออกจากพรรคเดิม แล้วรีบมาแสดงตัว สมัครเข้าเป็นสมาชิกภูมิใจไทยให้เร็วที่สุด จะเข้าองค์ประกอบ ไม่ว่าหากรัฐบาลจะอยู่ครบวาระ การสังกัดพรรคใหม่ 90 วัน หรือแม้แต่ยุบสภาที่ไม่ว่าจะเกิดช่วงเวลาใด การสังกัดพรรคใน 30 วัน ก็ทันตามกำหนดระยะเวลา มีคุณสมบัติลงเลือกตั้งได้  

รายชื่อ 31 ส.ส.ลาออก เตรียมย้ายไปร่วมงานภูมิใจไทย ส.ส.จากพรรคพลังประชารัฐ มีถึง 1 ใน 3 มีจำนวนมากที่สุดถึง 11 คน ว่ากันว่า ตัวเลข 31 เป็นเพียงตัวเลขนำร่อง แต่หากนับรวมทั้งหมดมีถึง 43 ส.ส.บวกๆ เพียงแต่บางคนต้องเลือกไปให้ถูกช่วง ถูกจังหวะเวลาย้ายเข้าพรรค  

ผลจากการลาออก ส.ส.ล็อตใหญ่ 31 ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเพราะสาเหตุอะไร ทำให้เหลือสมาชิกในสภาปฏิบัติหน้าที่ได้ประมาณ 442 คน เกินกึ่งหนึ่งคือ 222 คน จริงอยู่หากยังเหลือสมาชิกเกินกึ่งของจำนวนสมาชิกรัฐสภาทั้งหมด 250 ยังคงทำหน้าที่ได้ หลังจากนี้ ไม่มีอะไรรับประกัน การประชุมสภาแต่ละครั้งจะออกมาเป็นอย่างไร  

ผลจากการลาออก ล็อตแรก 31 ส.ส.ยังไม่ทำให้รัฐบาลประยุทธ์มีอันเป็นไป ด้วยเงื่อนกฎหมาย ยังมีสมาชิกเกินกว่า กึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ยังจัดประชุม ลงมติได้เหมือนเดิม แต่การนัดประชุมแต่ละครั้ง บวกด้วยปัจจัยแทรกซ้อน ในวันนี้เกมการเมืองความขัดแย้งไม่ได้ขีดวงไว้แค่ฝ่ายค้านกับฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น  

พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันเอง พรรคภูมิใจไทย พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ เปิดศึกว่าด้วยการดูด ส.ส. ‘ตกปลาในบ่อเพื่อน’ ปมกฎหมายกัญชา ยังมีเรื่องค้างคาใจกันอยู่ บางพรรคเปิดหน้าถล่ม คัดค้านชัดเจน แต่ก็มีไม่น้อย แอบเอาใจช่วย ไม่อยากให้ผ่าน ภูมิใจไทยถูกโดดเดี่ยว กฎหมายกัญชา นโยบายหลักที่หวังมัดใจสายเขียว กระตุ้นเศรษฐกิจให้ประชาชน ทำท่า จะไปไม่ถึงฝั่งฝัน ไม่น่าผ่านสภาฯ ในสมัยการประชุมนี้ 

สภายังเหลือการพิจารณากฎหมายสำคัญๆ อีกหลายฉบับ หากองค์ประชุมล่มบ่อย กฎหมายเดินต่อไม่ได้ ที่มีทั้ง ไม่ผ่านด้วยตัวเนื้อหากฎหมายเอง และ ไม่ผ่านเพราะถูกร่วมมือร่วมใจ ทำให้ไม่ผ่าน มีเกมการเมืองเข้ามาผสมโรง  

ในช่วงปกติ ส.ส.ฝ่ายค้าน ฝ่ายรัฐบาล ยังไม่มีเงื่อนไขการเมืองรุมเร้ามากนัก ก็ยังล่ม เฉพาะในปี 2565 ปีเดียว ล่มมาแล้วทั้งสิ้น 13 ครั้ง และทำท่าปลายปีนี้ ต่อเนื่องปีหน้า จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  

ประชุมปกติ พุธ พฤหัสฯ บางครั้งก็ล่ม ไม่ต้องพูดถึงการนัดประชุมพิเศษวันศุกร์ พิจารณาเรื่องที่กรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จ โดยที่ไม่ต้องลงมติสำคัญๆ ส.ส.ส่วนใหญ่ต้องเร่งทำพื้นที่ ลงพื้นที่กันหมด จะยิ่งทำให้สภาล่มบ่อยขึ้นมากขึ้น  

โดยสถานสภาพ สภาผู้แทนราษฎรยังอยู่ เปิดประชุม โหวตได้ ผลจากการลาออก 31 ส.ส.และอาจเพิ่มจำนวนมากขึ้นในวันข้างหน้า ไม่ทำให้รัฐบาลประยุทธ์พังพาบในทันทีทันใด แต่ในแง่ ความน่าเชื่อถือ ความชอบธรรม ในฐานะผู้นำรัฐบาล จะถูกบั่นทอนลงไปเรื่อยๆ

หากเจอแรงบีบ กดทับ เร่งเร้ามากๆ จะทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ นายกรัฐมนตรียุบสภาเร็วกว่าเดือน 3 ปีเถาะหรือไม่?.

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดสลักกม.ประชามติ รธน.ใหม่ส่อลากยาว

สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ได้ข้อสรุปหลักเกณฑ์ที่จะใช้สำหรับการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรียบร้อย โดยให้ยึดเสียงข้างมาก 2 ชั้น กล่าวคือ 1.ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และ 2.ต้องได้เสียงเห็นชอบเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ์

ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"

แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา

'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน

ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

บูมเศรษฐกิจ 2 ชาติ ! “อนุทิน” เร่งสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน จับมือกัมพูชา กระตุ้นค้าขายชายแดน-ท่องเที่ยว

วันที่ 21 พย. บริเวณสะพานข้ามคลองตะเคียน ด่านผักกาด จุดก่อสร้างสะพานมิตรภาพจันทบุรี-ไพลิน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พร้อมคณะผู้บริหาร อาทิ นายอรรษิษฐ์ สัมพัน์รัตน์

'เสี่ยหนู' เชียร์ 'พรรคโอกาสใหม่' ชี้มาทำงานให้บ้านเมืองอย่าไปแช่ง

'อนุทิน' เชียร์ 'พรรคโอกาสใหม่' บอกจะได้ชอบธรรมหากได้รับเลือกจากประชาชนทั้งประเทศ ขออย่าแช่งคนเข้ามาทำงานให้บ้านเมือง