คว่ำร่าง รธน.ฉบับไอติม เข้าทางม็อบ-ก้าวไกล

ไม่เหนือความคาดหมายสำหรับมติที่ประชุมรัฐสภา ไม่เห็นชอบหลักการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ....ที่ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ แกนนำกลุ่ม Re-solution กับประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง จำนวน 135,247 คน เป็นผู้เสนอ             

ผลการลงมติปรากฏว่า เห็นชอบกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญ 206 เสียง ไม่เห็นชอบ 473 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง

จากการอภิปราย 1 วัน 1 คืน ประมวลผลความเห็นของ ส.ส.เสียงข้างมาก และ ส.ว. พบว่าเสียงข้างมากในรัฐสภาเห็นว่าเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มีเนื้อหาสุดโต่งเกินไป ไม่มองบริบทการเมืองของประเทศที่แท้จริง

ลำพังแค่การเสนอให้เหลือเพียงสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว และยุบวุฒิสภาทิ้ง ทั้งที่การจะทำให้ร่างรัฐธรรมนูญผ่านในวาระแรกนั้น ยังต้องอาศัยเสียงของ ส.ว.ถึง 84 เสียง ก็ว่าเป็นเรื่องในอุดมคติอยู่บนหิ้ง นำสู่การปฏิบัติไม่ได้แล้ว

ยังมีอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะการเสนอให้มีผู้ตรวจการกองทัพ ผู้ตรวจการศาลและศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ตรวจการองค์กรอิสระ ที่กำหนดให้ผู้ตรวจการแต่ละประเภท มาจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล 5 คน จาก ส.ส.ฝ่ายค้าน 5 คน

ผู้ตรวจการกองทัพ 10 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้งบประมาณ โครงการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ และคัดมา 2 คน ไปเป็นสมาชิกสภากลาโหม

ผู้ตรวจการศาลและศาลรัฐธรรมนูญ 10 คน ทำหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณ ให้ความเห็นเรื่องแนวทางการบริหารแก่ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ศึกษาวิเคราะห์ประเมินผลกระทบที่เกิดจากคำตัดสินและคำวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม ยังให้คัดจากผู้ตรวจการศาล 10 คน 1 คนให้ไปเป็นกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม และอีก 1 คน ไปเป็นกรรมการตุลาการศาลปกครอง

ผู้ตรวจการองค์กรอิสระ 10 คน ให้มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ ให้ความเห็นแก่ประธานองค์กรอิสระต่างๆ เกี่ยวกับแนวทางการบริหาร และศึกษาวิเคราะห์ ประเมินคุณภาพ และผลกระทบของคำวินิจฉัย คำสั่ง หรือการใช้อำนาจขององค์กรอิสระ

ฝ่ายผู้เสนออ้างว่าเพื่อตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ส่วนฝั่งที่ไม่เห็นด้วยมองว่าแนวคิดนี้คือการล้วงลูกก้าวก่าย เหมือนที่ “วันชัย สอนศิริ” ส.ว. อภิปรายไว้ตอนหนึ่งว่า “ข้อเสนอรัฐธรรมนูญที่เสนอมานั้น มาจากชุดความคิดสองประการ ประการแรก คือคิดว่าคนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นคนดีที่สุด เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในแผ่นดินนี้

ประการที่สอง คนที่ทำรัฐประหารเป็นคนเลว ต้องล้มล้างให้หมด ต้องปฏิเสธศาล ประชาชนต้องลุกมาต่อต้าน ทุกภาคส่วนต้องลุกขึ้นมาเหยียบย้ำ ผู้เสนอมองโลกด้านเดียว โลกสวย มองบริบททางการเมืองอุดมการณ์เกินจริง ไม่ใช่บริบททางการเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้”

ทว่า สมาชิกในสภาส่วนหนึ่งมองว่า “ไอติม” พริษฐ์ และ “ปิยบุตร แสงกนกกุล” เล็งเห็นผลแล้วว่าถึงอย่างไรรัฐสภาตีตกแน่นอน แต่หวังผลทางการเมืองมากกว่า หวังให้ม็อบมีมุกใช้สำหรับการเคลื่อนไหว

“ปิยบุตร” ตอบคำถามภายหลังทราบผลการออกเสียงว่า ไม่อาจประเมินความรุนแรงจากผลการลงมติครั้งนี้ได้ เพราะไม่ใช่ผู้กำกับ ไม่ใช่คนตัดสินหรือควบคุม แต่เชื่อว่าสังคมหรือแม้กระทั่งสมาชิกรัฐสภาก็คงคาดได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นมาหรือไม่อย่างไร เพราะว่าหลายเรื่องเป็นความต้องการของพี่น้องประชาชน หลายเรื่องการชุมนุมเขาก็เรียกร้องในเรื่องของการแก้รัฐธรรมนูญ จนถึงวันนี้ผ่านมาหลายปีแล้ว สำเร็จหรือไม่ประชาชนคงเห็นได้ เราแก้เพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างระบบเลือกตั้งเท่านั้น”

ขณะที่ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วย ส.ส.พรรค แถลงภายหลังรัฐสภามีมติไม่รับคว่ำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า "การอภิปรายนานกว่า 16 ชั่วโมง ไม่ถือว่าสูญเปล่าเสียทีเดียว วันหนึ่งเมื่อเรามองมาจากอนาคต ไม่ว่าจะดีขึ้นหรือแย่ลง คิดว่าเป็นโอกาสทองหรือโกลเดน โมเมนต์ ที่ทำให้มีวาระที่เราสามารถถกแถลงอย่างเป็นทางการอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน คิดว่าประชาชนที่ได้ฟังคำชี้แจงและเหตุผลของทั้งสองฝ่ายก็น่าจะพอพิพากษาหรือตัดสินใจได้ว่าอะไรคือสิ่งที่ควรจะเป็นอนาคตของประเทศนี้ในการแก้ปัญหา

   "พรรคก้าวไกล และผมในฐานะหัวหน้าพรรค พร้อมที่จะนำข้อเสนอ โดยอยากให้ฝ่ายนโยบายของพรรคเตรียมสู้ศึกเลือกตั้ง เอาข้อเสนอของประชาชนฉบับนี้เป็นนโยบายทางการเมืองในการหาเสียงต่อไป และหวังว่าจะได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนที่เชื่อและเห็นด้วยกับสิ่งที่ผู้ยื่นได้ยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เข้ามา และเราจะผลักดันแก้ไขให้ความฝัน ความหวัง ของทุกคนเป็นจริงได้ในสักวันหนึ่ง"  นายพิธากล่าว

จากประโยคนี้ ฟันธงได้ว่าหลังจากนี้จะมีการหยิบยกประเด็นการตีตกรัฐธรรมนูญนี้ไปเคลื่อนไหวต่อ อย่างน้อยๆ มีประเด็นว่า เป็นการหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ ไม่ยอมให้ ส.ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนเป็นผู้ตรวจการตรวจสอบกองทัพ ศาลยุติธรรม ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลก็เคลื่อนไหวดักคอไว้ว่า “ปิยบุตร” กับ  “พริษฐ์” ต้องรู้จักถอดบทเรียนหาสาเหตุที่ร่างรัฐธรรมนูญนี้ถูกตีตก เมื่อตกผนึกได้แล้วก็สามารถเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาใหม่ ไม่จำเป็นต้องลงถนนเรียกร้องแต่อย่างใด

หากสังเกตให้ดีจะพบว่าแนวร่วมเห็นด้วยให้ยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และการปฏิรูปประเทศ มีอยู่มาก เพราะเวลาได้พิสูจน์แล้วว่ารัฐบาลขาดความจริงใจที่จะทำ และไม่มีความคืบหน้า ฉะนั้น ถ้าในอนาคตเคลื่อนไหวเรื่องนี้ส่งร่างรัฐธรรมนูญ ขอแก้ไขให้ยุบหมวดดังกล่าวมีโอกาสสำเร็จ

ในทางกลับกัน ถ้าเลือกลงถนนทำให้เกิดความรุนแรงเพื่อให้ได้สิ่งที่เรียกร้อง ต้องคิดให้ดีว่า 1.ม็อบจะจุดติดหรือไม่ 2.จะเสียแนวร่วมเพิ่มอีกหรือไม่

การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยความใจเย็น สุขุม ลุ่มลึก อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า มันถึงจะประสบผลสำเร็จ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ปริศนา'เรือดำน้ำ' เปิด5ประเด็นสะดุด'ตอ'

ทริปเร่งด่วน ที่ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหม นำทีม พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ จักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสายตรงของ “นายกฯ" และ “ชินวัตร” บินไปจีนเมื่อช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่ ทร.ไทยจ้างบริษัทของจีนสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา

‘สภาสูง’ในเงื้อมมือค่ายน้ำเงิน ส่องภารกิจเลือก‘องค์กรอิสระ’

ภารกิจ 200 สว. แสดงตนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มารายงานตัวครบจบไม่ขาดไม่เกิน แต่สวนทางกับความอลหม่านที่กลุ่มต่างๆ ภายในสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ด้วยกันเอง

ดรามา วุฒิการศึกษา 'หมอเกศ' เปิดข้อกม.เอาผิด-พ้นสภาพสว.?

นับตั้งแต่กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อปลายเดือนมิ.ย. สิ้นสุดลง หัวกระไดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ไม่แห้งอีกเลย เพราะหลังจากนั้นมีกลุ่มคนเข้ามายื่นหนังสือ เพื่อตรวจสอบกระบวนการเลือกที่ไม่สุจริต และเที่ยงธรรม รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเลือกบุคคลที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือเรียกว่า ฮั้ว หรือการตรวจคุณสมบัติสว.