ดีล 2 ส.รวมพรรคไม่ลงตัว “สุดารัตน์-ทสท.” เดินหน้าลุย

หลังศาลรัฐธรรมนูญไฟเขียว ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ให้ใช้ระบบเลือกตั้งแบบ หาร 100 ปาร์ตี้ลิสต์ ไม่มีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ และตอนนี้ ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ได้ส่งร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.และร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมืองฯ ไปถึงทำเนียบรัฐบาล เพื่อส่งต่อให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตรียมนำร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

ลำดับเวลาการเมืองดังกล่าว ทำให้แวดวงการเมืองเชื่อกันว่า พรรคการเมืองที่ยังไม่แข็งแรงพอ อาจจะต้องเร่ง

ตั้งโต๊ะเจรจา-ปิดดีลพูดคุย

กันเองระหว่างพรรคการเมืองที่ดีเอ็นเอการเมืองไปกันได้ เพื่อหารือเรื่อง การรวมพรรค เพื่อสู้กับกติกาเลือกตั้งบัตร 2 ใบ และการคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อแบบหาร 100 ที่เปลี่ยนไปจากระบบการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 อย่างมาก แต่ก็มีบางพรรคที่มีการเจรจารวมพรรคกันก่อนที่เรื่องหาร 100 ปาร์ตี้ลิสต์จะสะเด็ดน้ำเสียอีก เช่น กรณีสุวัจน์ ลิปตพัลลภ กับกรณ์ จาติกวณิช ที่นำชาติพัฒนามารวมกับพรรคกล้า จนกลายเป็นพรรคชาติพัฒนากล้าในปัจจุบัน

แต่ในส่วนของพรรคอื่นๆ ในการขยับเรื่อง การรวมพรรค ต้องยอมรับว่า พรรคการเมืองที่ถูกจับตามองมากที่สุด คงไม่พ้น พรรคสร้างอนาคตไทย (สอท.) ที่กุมบังเหียนโดย ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ กับ พรรคไทยสร้างไทย (ทสท.) ที่มี คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ เป็นแกนนำผู้ก่อตั้งพรรค

หลังที่ผ่านมามีข่าวออกมาต่อเนื่องในทางการเมืองในโทนว่า การเจรจารวมพรรคดังกล่าวมีความคืบหน้าเป็นระยะก่อนหน้านี้ แต่มาสะดุดลงหลังแกนนำทั้ง 2 พรรค โดยเฉพาะในวงเจรจาที่มีคนร่วมวงตามกระแสข่าว เช่น อุตตม สาวนายน, สนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ จากฝั่งสร้างอนาคตไทย กับคุณหญิงสุดารัตน์ กับนายโภคิน พลกุล จากฝ่ายไทยสร้างไทย คุยกันหลายรอบ แต่ไม่ลงตัวในรายละเอียดต่างๆ จนหยุดชะงักไปช่วงหนึ่ง เพราะทั้ง 2 พรรคต่างต้องการรอผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคำร้องคดีร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. ว่าสุดท้ายแล้วจะออกมาเป็น 100 หารปาร์ตี้ลิสต์ หรือจะเป็น 500 หารปาร์ตี้ลิสต์ และให้ใช้ระบบ ส.ส.พึงมี แบบตอนเลือกตั้งปี 2562 แต่สุดท้าย เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยจนสะเด็ดน้ำว่า ร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้ง ส.ส. 100 หารปาร์ตี้ลิสต์ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ก็ทำให้มีข่าวว่า จะเป็นตัวเร่งให้แกนนำทั้งไทยสร้างไทยและสร้างอนาคตไทย ต้องคุยให้จบว่าจะ รวมพรรค หรือ ต่างคนต่างเดินตามทางของตัวเอง ท่ามกลางสถานการณ์แทรกซ้อนของทั้ง 2 พรรคเกิดขึ้นเรื่อยๆ เช่น กระแสข่าว นิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย ที่ดูแลพื้นที่เลือกตั้งภาคใต้ ไปด้วยกันไม่ได้กับกลุ่ม ดร.สมคิดเสียแล้ว จนอาจต้องแยกทางกันเดิน โดยมีกระแสข่าวออกมาร่วม 2 สัปดาห์แล้วว่า นิพิฏฐ์ อดีต ส.ส.พัทลุง 8 สมัย อาจจะไปอยู่กับพรรคพลังประชารัฐ หากคุยกันลงตัว จนถึงขั้นมีข่าวอาจจะเปิดตัวช่วงกลางสัปดาห์นี้ ก็มีข่าวออกมาแล้ว

มันเลยยิ่งถูกมองว่า การรวมพรรคระหว่าง ส.สมคิด กับ ส.สุดารัตน์ น่าจะเกิดขึ้นแน่ ท่ามกลางกระแสข่าวว่า หากสุดท้ายถ้าคุยกันลงตัว ก็อาจจะมีการปิดดีลและเปิดแถลงข่าวภายในไม่เกินสิ้นปีนี้ และคาดว่าอาจจะใช้ชื่อพรรคว่า "สร้างไทย" เพื่อสู้ศึกเลือกตั้ง โดยมีสมคิดเป็นแคนดิเดตนายกฯ คนที่ 1 ส่วน คุณหญิงสุดารัตน์อาจจจะเป็นแคนดิเดตนายกฯ คนที่ 2 ส่วนตำแหน่งในพรรค ตัว ดร.อุตตม เป็นหัวหน้าพรรค ส่วน น.ต.ศิธา ทิวารี เป็นเลขาธิการพรรค

อย่างไรก็ตาม จับกระแสล่าสุดทางการเมือง ดูจะบ่งชี้มากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ดีลนี้คุยกันไม่จบ จนสุดท้าย ทั้ง 2 พรรคอาจจะต่างฝ่ายต่างเข็นแบนด์พรรคลงสู้ศึกเลือกตั้ง

เห็นได้จากท่าทีล่าสุดเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ของ คุณหญิงสุดารัตน์-แกนนำผู้ก่อตั้งพรรคไทยสร้างไทย ที่ยืนกรานถึงเรื่องการสู้ศึกเลือกตั้งในนามของพรรคไทยสร้างไทย โดยไม่ยุบรวมกับพรรคใดทั้งสิ้น

“พรรคไทยสร้างไทย จะไม่ไปรวมกับใคร แต่ถ้าใครจะรวมกับเราและเห็นตามอุดมการณ์ของพรรคก็ยินดีต้อนรับ เพราะเป็นการเพิ่มพลังในการทำงาน

ยอมรับว่าได้มีการคุยกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ประธานพรรคสร้างอนาคตไทย โดยมีนายโภคิน พลกุล ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ขับเคลื่อนประเทศ พรรคไทยสร้างไทย เป็นผู้คุยหลัก ส่วนการเปิดตัวแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคไทยสร้างไทยนั้น คงต้องรอใกล้เลือกตั้ง เพราะจะมีเรื่องการประชุมใหญ่ เพื่อปรับโครงสร้างช่วงต้นปีด้วย”

นอกจากนี้ คุณหญิงสุดารัตน์ยังกล่าวอีกว่า ส่วนตัวมั่นใจว่าการยุบสภา จะเกิดขึ้นใกล้กับการครบวาระของสภาผู้แทนราษฎร สาเหตุหลักจากการโยกย้ายพรรคของคนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง ที่ต้องมีการโยกย้ายกันให้จบ ประกอบกับงบประมาณจะต้องถูกนำออกมาใช้งาน ดังนั้นผู้มีอำนาจ หรือผู้ที่รับผิดชอบอยู่ คงไม่อยากยุบสภาตอนนี้แน่

คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการย้ายเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกพรรคของพรรคไทยสร้างไทย ขณะนี้มีการทยอยย้ายเข้ามาแล้ว และยังมีบางคนก็ทำหน้าที่อยู่ เพราะเชื่อว่าจะไม่มีการยุบสภาในเร็ววันนี้ ส่วนหลักการในการรับคนเข้าพรรค ยังคงยึดหลักผู้ที่มีความคิดตรงกัน เชื่อมั่นในแพลตฟอร์มพรรคไทยสร้างไทย ที่สนับสนุนประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข ต้องสนับสนุนแนวประชาธิปไตยที่แท้จริง ไม่ได้มาโดยอำนาจพิเศษ ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง

“เพราะตั้งใจสร้างพรรคไทยสร้างไทยให้เป็นสถาบันที่คนไทยเป็นเจ้าของ และคืนพลังอำนาจให้กับประชาชน ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย เพื่อให้เกิดศักยภาพกับประชาชนให้มากที่สุด พร้อมมุ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนทุกระดับ ไม่ใช่การกู้เงิน ตั้งเป้าให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิต และจะทำให้คนยากจน 25 ล้านคนหมดไป ด้วยนโยบายบำนาญประชาชน 3,000 บาท และเรียนฟรีจนจบปริญญาตรี”

เมื่อเป็นแบบนี้ หากไม่มีอะไรพลิกอีกในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ต่อจากนี้ไปจนถึงช่วงโค้งสุดท้ายของการเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง โดยที่การรวมพรรคระหว่างสร้างอนาคตไทยกับไทยสร้างไทย หากสุดท้ายถ้าไม่เกิดขึ้น

ต้องดูกันว่า พรรคไทยสร้างไทยโดยการนำของคุณหญิงสุดารัตน์จะขับเคลื่อนพรรคต่อจากนี้อย่างไร ในท่ามกลางการแข่งขันทางการเมือง ที่กำลังเข้าสู่ red zone สมรภูมิเดือดเข้ามาเรื่อยๆ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1ประเทศ2นายกฯ ระวังจบซ้ำรอยเดิม?

มีหลายส่วนในสังคม คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่พ้นโทษออกมาโดยไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว แต่ทำตัวเปรียบเหมือนเป็นเจ้าของรัฐบาล

เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง

การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด

'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’

ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน