เหลือคิวลุ้น ร่าง กม.เลือกตั้ง หาร 100 ปาร์ตี้ลิสต์ ปูทางหย่อนบัตร

ไม่พลิกความคาดหมายกับมติของที่ประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 23 พ.ย. ที่มีมติเอกฉันท์ว่า ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ไม่มีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ตามประเด็นที่ พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกวุฒิสภา กับคณะเข้าชื่อกันยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัย

เหตุที่ไม่พลิกความคาดหมาย เพราะแวดวงการเมืองและนักกฎหมายก็มองแล้วว่า ประเด็นตามคำร้องไม่น่าจะมีประเด็นที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้ จากที่ผู้ร้องยื่นไปสามประเด็น คือ 1.การที่ในร่างฯ มีการแก้ไขปรับลดค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงพรรค จากเดิมปีละไม่เกิน 100 บาท  เหลือไม่เกิน 20 บาท และตลอดชีพลดเหลือไม่เกิน 200  บาท จากเดิมไม่น้อยกว่า 2,000 บาท ที่ผู้ร้องอ้างว่าหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะทำให้เกิดนายทุนครอบงำและไม่เป็นพรรคของประชาชน

2.ร้องว่า ในร่างฯ มีการไปตัดคุณสมบัติผู้ต้องคดีอาญา การฉ้อโกง ยาเสพติด การพนัน การค้ามนุษย์และการฟอกเงิน หากคดีไม่ถึงขั้นติดคุกก็สามารถสมัครเป็นสมาชิกพรรคได้

3.การตั้งตัวแทนพรรคประจำจังหวัด ที่แก้ไขให้สามารถเลือกผู้สมัครได้ จากเดิมที่จะเป็นหน้าที่ของตัวแทนประจำเขตเลือกตั้ง หรือไพรมารีโหวต ซึ่งอาจขัดกับรัฐธรรมนูญที่ให้แต่ละเขตเลือกผู้สมัคร ประกอบกับการให้เลือกบุคคลจากรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครคัดเลือกมาไม่น่าจะถูกต้อง เพราะจะขัดเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่ให้สมาชิกมีส่วนร่วมในการเลือกผู้สมัคร รวมทั้งการตัดเรื่องห้ามสมาชิกเรียกรับผลประโยชน์ หรือใช้อิทธิพลข่มขู่ในการเลือกผู้สมัคร ส.ส.ทั้งแบบเขตและแบบบัญชีรายชื่อ  

ที่สุดท้าย ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลังใช้เวลาพอสมควร ในการพิจารณาเอกสารต่างๆ จากที่รัฐสภาส่งมา ก็มีความเห็นพ้องต้องกันเป็นเอกฉันท์ว่า ทั้งสามประเด็นที่ร้องมาตามร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมือง ไม่มีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

กระบวนการต่อจากนี้ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะส่งผลคำวินิจฉัยดังกล่าวกลับมาที่รัฐสภา จากนั้น ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ก็จะนำร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมืองส่งไปให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยพลเอกประยุทธ์หลังได้รับร่างแล้ว ก็จะเก็บร่างไว้ประมาณ 5 วัน เพื่อรอดูว่าจะมีสมาชิกรัฐสภาเข้าชื่อกันยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในประเด็นอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ซึ่งดูแล้วคงไม่มีแน่นอน ก็ทำให้พอครบกำหนด 5 วันหลังได้รับร่าง พลเอกประยุทธ์ก็จะนำร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมืองขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายได้ทันที เพื่อรอการโปรดเกล้าฯ ประกาศใช้ พ.ร.บ.พรรคการเมือง ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ที่มีการแก้ไขให้สอดคล้องกับที่มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราก่อนหน้านี้ในเรื่องระบบการเลือกตั้ง-บัตรใบเดียว

จบจากร่าง พ.ร.บ.พรรคการเมืองแล้ว สัปดาห์หน้า  วันพุธที่ 30 พ.ย.ก็จะถึงคิวการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดลงมติวินิจฉัยคำร้องที่สมาชิกรัฐสภา นำโดย นพ.ระวี มาศฉมาดล ส.ส.พรรคพลังธรรมใหม่ กับคณะเข้าชื่อกันยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.ที่เตรียมจะประกาศใช้เป็นกฎหมาย มีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่             โดยประเด็นตามคำร้องที่ร้องไป มีสองประเด็นคือ

1.ระบบการคิดคำนวณ ส.ส.ด้วยการหาร 100 ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่

 โดยผู้ร้องอ้างอิงมาตรา 25 ของร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ที่มีการยกเลิกมาตรา 130 หรือร่างกฎหมายฉบับปี 2561 ทำให้ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 93 ในเรื่อง ส.ส.พึงมี หรือไม่ กับอ้างอิงมาตรา 26  ที่มีการไปยกเลิกมาตรา 131 ของร่างกฎหมายลูกเลือกตั้งปี  2561 ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 94 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่

2.กระบวนการตราร่างกฎหมายฉบับนี้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยอ้างอิงหลักธรรมนูญ มาตรา 131 และ 132 ที่จะต้องนำร่างที่กรรมาธิการพิจารณาแล้วเสร็จนำมาพิจารณาให้ความเห็นชอบภายใน 180 วัน โดยอ้างอิงเหตุผลว่าพรรคการเมืองใหญ่ 2 พรรคมีการถ่วงเวลา ทำให้การประชุมรัฐสภาล่มถึง 4 ครั้ง อันหมายถึงไม่ใช่การมุ่งมั่นตั้งใจกระทำการตามกระบวนการกฎหมาย

คำร้องคดีนี้มีสมาชิกรัฐสภา ทั้ง ส.ส.รัฐบาลและฝ่ายค้าน รวมถึงสมาชิกวุฒิสภาร่วมกันลงชื่อส่งให้ศาลวินิจฉัย  ซึ่งพบว่าแม้จะมี ส.ส.พลังประชารัฐ โดยเฉพาะคนที่เป็นวิปรัฐบาลร่วมลงชื่อด้วย แต่ก็น่าจะเกิดจากว่าต้องการให้เรื่องนี้มีการตีความให้สะเด็ดน้ำว่า เรื่องหาร 100 ปาร์ตี้ลิสต์ในร่างดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ จะได้สิ้นกระแสความไปเลย จึงได้ไปร่วมลงชื่อให้เพื่อให้รายชื่อครบตามจำนวน จะได้ส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้

ทำให้ในคำร้องดังกล่าว จึงมีนักการเมืองจากหลายพรรคการเมืองลงชื่อเอาด้วย อาทิ นิโรธ สุนทรเลขา ส.ส. พรรคประชารัฐ และประธานวิปรัฐบาล, นายวีระกร คำประกอบ ส.ส.พลังประชารัฐ, นางสาวศิลัมพา เลิศนุวัฒน์ ส.ส.พลเมืองไทย, นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ประชาธิปัตย์, นายพนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.ประชาธิปัตย์, นายศรัณย์วุฒิ  ศรัณย์เกตุ ส.ส.เพื่อชาติ, นายชัชวาลล์ คงอุดม ส.ส.พลังท้องถิ่นไท, นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.เศรษฐกิจใหม่,  นายธีระ วงศ์สมุทร ส.ส.ชาติไทยพัฒนา, นายมงคลกิตติ์  สุขสินธารานนท์ ส.ส.ไทยศรีวิไลย์, นายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ ส.ส.รวมพลัง และยังมี ส.ส.พรรคภูมิใจไทยจำนวนมาก เช่น นายศุภชัย ใจสมุทร, นายสรอรรถ กลิ่นประทุม  ส่วน ส.ว.มี พลเอกอกนิษฐ์ หมื่นสวัสดิ์, นายถวิล เปลี่ยนศรี, พลเอกธวัชชัย สมุทรสาคร, นายภาณุ อุทัยรัตน์, พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม เป็นต้น

โดยหากสุดท้ายศาลวินิจฉัยว่า ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.ไม่ได้มีเนื้อหาขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ และกระบวนการออกกฎหมายที่รัฐสภาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ที่มีสาธิต ปิตุเตชะ เป็นประธาน ไม่ทันภายใน 180 วัน จนต้องใช้ร่างของคณะกรรมการการเลือกตั้ง  มาเป็นร่างที่จะนำมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย ไม่ใช่ร่างของสภา ถ้าสุดท้ายศาลเห็นว่า กระบวนการดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องของความพยายามทำให้พิจารณากฎหมายไม่ทัน หรืออาจมองว่าเป็นเรื่องการทำงานของสมาชิกรัฐสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญไม่สามารถไปเกี่ยวข้องได้

หากออกมาแบบนี้ก็หมายถึงว่า ร่าง พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส.ที่ใช้สูตร 100 หารปาร์ตี้ลิสต์ก็ฉลุย

 กระบวนการต่อจากนั้น ก็จะมีการส่งร่างให้พลเอกประยุทธ์เตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายต่อไป และเมื่อมีการประกาศใช้ทั้ง พ.ร.บ.พรรคการเมือง และ พ.ร.บ.การเลือกตั้ง ส.ส. ก็เท่ากับมีกฎหมายรองรับการเลือกตั้งแล้ว ก็ทำให้ หากนายกฯ ตัดสินใจยุบสภาจะสามารถทำได้ทันที แต่หากศาลวินิจฉัยว่าร่างดังกล่าวมีปัญหาขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ  สมาชิกรัฐสภาโดยเฉพาะ ส.ส.-พรรคการเมือง ก็ต้องไปหาทางออกว่าจะทำกันอย่างไรกันต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

พรรคร่วมรัฐบาลขอเขย่า ไม่ตกเป็น'หมูในอวย'พท.

แม้ว่าพรรคร่วมรัฐบาล นำโดยพรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรครวมไทยสร้างชาติ ฯลฯ จะยอมผ่านเรือธงของพรรคเพื่อไทย โครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 1 หมื่นบาทให้แก่ประชาชนจำนวน 50 ล้านคน

แจกเงินดิจิทัล1หมื่นบาท ปิดปาก 'ปุ๋ย คนละครึ่ง'?

รัฐบาลเพื่อไทยนำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ผนึกกำลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ

ปริศนา'เรือดำน้ำ' เปิด5ประเด็นสะดุด'ตอ'

ทริปเร่งด่วน ที่ “สุทิน คลังแสง” รมว.กลาโหม นำทีม พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) และ จักรพงษ์ แสงมณี รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นสายตรงของ “นายกฯ" และ “ชินวัตร” บินไปจีนเมื่อช่วงวันที่ 24-25 มี.ค.ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องยนต์เรือดำน้ำ S26T ที่ ทร.ไทยจ้างบริษัทของจีนสร้างไม่เป็นไปตามสัญญา

‘สภาสูง’ในเงื้อมมือค่ายน้ำเงิน ส่องภารกิจเลือก‘องค์กรอิสระ’

ภารกิจ 200 สว. แสดงตนต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มารายงานตัวครบจบไม่ขาดไม่เกิน แต่สวนทางกับความอลหม่านที่กลุ่มต่างๆ ภายในสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ด้วยกันเอง

ดรามา วุฒิการศึกษา 'หมอเกศ' เปิดข้อกม.เอาผิด-พ้นสภาพสว.?

นับตั้งแต่กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) เมื่อปลายเดือนมิ.ย. สิ้นสุดลง หัวกระไดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ไม่แห้งอีกเลย เพราะหลังจากนั้นมีกลุ่มคนเข้ามายื่นหนังสือ เพื่อตรวจสอบกระบวนการเลือกที่ไม่สุจริต และเที่ยงธรรม รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเลือกบุคคลที่เป็นเป้าหมายโดยเฉพาะ หรือเรียกว่า ฮั้ว หรือการตรวจคุณสมบัติสว.