'ไทย' โชว์ศักยภาพกลาง 'เอเปก' ยกระดับความร่วมมือฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุม ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก มาตั้งแต่ต้นปี 2565 จนในที่สุดเวลาพาเดินทางมาถึงจุดพีกของการประชุมเอเปก

โดยระหว่างวันที่ 17-18 พ.ย.จะเป็นการประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปก ซึ่งมีบุคคลสำคัญถึง 21 เขตเศรษฐกิจเข้าร่วม นั่งโต๊ะหารือในหัวข้อหลัก การเติบโตอย่างสมดุล ครอบคลุมและยั่งยืน และหัวข้อการค้าและการลงทุนที่เปิดกว้างและยั่งยืน

ถือเป็นเวทีเศรษฐกิจสำคัญที่โลกจับตามอง ภายหลังจากที่เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำระบบเศรษฐกิจทั่วโลกวูบ และขณะนี้เมื่อสถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ประเทศต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่จะเริ่มต้นพูดคุยเจรจาการค้าการลงทุน เพื่อความมั่นคงมั่งคั่งของประเทศตัวเอง ดังนั้นเวทีเอเปกจึงเป็นอีกเวทีหนึ่งที่ตอบโจทย์อย่างยิ่ง

เรียกว่าช่วงการประชุมที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย. เป็นอะไรที่ลงตัว ประจวบเหมาะพอดิบพอดี และงานนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่า “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีของไทย และ รมว.กลาโหม ได้มีโอกาสแสดงศักยภาพ โชว์วิสัยทัศน์ในสายตาของชาวโลกอีกคราว

อย่างเมื่อวันที่ 17 พ.ย.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุม APEC CEO Summit ตามคำเชิญของสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปก (APEC Business Advisory Council : ABAC) ซึ่งเวทีนี้เป็นหนึ่งในการรวมตัวของภาคธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในภูมิภาค และเป็นการกลับมาอีกครั้งของการประชุมในรูปแบบพบหน้า

นายกฯ ของไทยจึงได้ใช้ประโยชน์จากจุดนี้สื่อสาร ตอนหนึ่งว่า “ไทยมีการปรับตัวและปฏิรูปทางโครงสร้างที่จำเป็น ซึ่งรัฐบาลยินดีต้อนรับการลงทุน และแรงงานที่มีทักษะและแรงงานขั้นสูงเพิ่มเติมในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล รวมทั้งมีมาตรการจูงใจทั้งทางภาษีและไม่ใช่ภาษี นอกจากนี้ ไทยได้เปิดตัวโครงการตรวจลงตราประเภทผู้พำนักระยะยาว 10 ปี พร้อมสิทธิประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัล พร้อมจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล เป็นเขตนวัตกรรมดิจิทัลแห่งใหม่ และเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและนวัตกรรมของภูมิภาค”

นอกจากนี้ ด้วยจะมีการประชุมระดับผู้นำ นายกรัฐมนตรี ยังได้หารือทวิภาคีกับ เอมมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายได้หารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือที่สำคัญร่วมกัน หนึ่งในนั้นคือ ด้านเศรษฐกิจ โดยทั้งไทยและฝรั่งเศสยินดีกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง และเห็นพ้องกันว่า ทั้ง 2 ฝ่ายยังมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันได้อีกมาก

โดยรัฐบาลไทยได้ปรับนโยบายที่เน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสอดคล้องกับแผนปฏิรูปสีเขียวของ EU จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะสนับสนุนการส่งออกสินค้าสิ่งแวดล้อมและการลงทุนในธุรกิจสีเขียว ไทยร่วมกับสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปกลดอัตราภาษีนำเข้าทั่วไป สำหรับรายการสินค้าสิ่งแวดล้อม จำนวน 54 รายการ นายกรัฐมนตรีจึงเชิญชวนให้ฝรั่งเศสใช้ประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว

ด้าน มาครง ก็พร้อมมีความร่วมมือกับไทยในด้านการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเกษตรกรรม ตลอดจนพร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนา EEC

รวมทั้งนายกฯ ไทยยังขอรับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสสำหรับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งการจัดงาน Expo 2028 - Phuket Thailand ในเดือนมิถุนายน 2566 ระหว่างช่วงการประชุมสมัชชาใหญ่ (BIE General Assembly) ครั้งที่ 172 ที่กรุงปารีส โดยประธานาธิบดีฝรั่งเศสพร้อมให้การสนับสนุนไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังได้หารือทวิภาคีแบบสั้น (pull-aside) กับ นายจอห์น ลี คา-ชิว (The Honourable John Lee Ka-Chiu) ผู้บริหารสูงสุดเขตบริหารพิเศษฮ่องกง

โอกาสนี้ทั้ง 2 ฝ่ายต่างเห็นพ้องว่า "สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเป็นโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมแก้ปัญหาท่ามกลางความท้าทาย และเป็นโอกาสให้ยกระดับความร่วมมือ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงแสวงหาความร่วมมือเพิ่มเติมในเรื่องการค้าและการลงทุน และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน ตลอดจนการค้าในผลิตภัณฑ์ทางด้านเกษตร"

อย่างไรก็ตาม ธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในฐานะประธานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปก ปี 2565 ยังพูดถึงสิ่งที่ได้รับจากการประชุมเอเปกว่า เราได้เดินหน้าการสนับสนุนการเดินทางและการขนส่งสินค้าข้ามแดนให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 และที่สำคัญ ยังได้นำเรื่อง การค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP มาพูดอีกครั้ง

"เพราะถ้าต้องการทำให้ภูมิภาคนี้มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นและเป็นไปอย่างยั่งยืน จะต้องเพิ่มความพยายามในการส่งเสริมการค้าการลงทุน พร้อมกับลดข้อจำกัดต่างๆ ในด้านการค้าการลงทุน เราจึงได้หยิบยกเรื่อง FTAAP ขึ้นมาอีกครั้งเพื่อสร้างการเจริญเติบโตให้แก่ภูมิภาคนี้ ซึ่งก็จะนำประเด็นเหล่านี้เสนอในเวทีระดับผู้นำด้วยเช่นกัน"

นี่คือตัวอย่างประโยชน์ส่วนหนึ่งที่ไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก เพื่อแสวงหาความร่วมมือฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม หลังวิกฤตโควิด-19.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1ประเทศ2นายกฯ ระวังจบซ้ำรอยเดิม?

มีหลายส่วนในสังคม คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่พ้นโทษออกมาโดยไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว แต่ทำตัวเปรียบเหมือนเป็นเจ้าของรัฐบาล

เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง

การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด

'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’

ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน