‘ม็อบเด็ก’งัด‘ยุทธวิธี’รบยืดเยื้อ สู้ทั้งที่รู้ว่า‘ไม่ชนะ’

มีความเห็นแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย หลังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้แกนนำคณะราษฎรที่ชุมนุมปราศรัยเมื่อวันที่ 10 ส.ค.63 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต เป็นการล้มล้างการปกครองฯ

ฝ่ายหนึ่งมองว่า เป็นการเตือน ม็อบ 3 นิ้ว อย่าแตะต้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ในขณะที่ฝ่ายมั่นคงน่าจะบังคับใช้กฎหมายกับกลุ่มผู้ชุมนุมเข้มข้นขึ้น ทำให้แกนนำต้องกลับไปตั้งหลักเพื่อกำหนดทิศทางต่อสู้ใหม่ ส่งผลให้อุณหภูมิความร้อนแรงของการเมืองนอกสภาลดลง

แต่อีกฝ่ายหนึ่งมองว่า คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการเติมไฟให้การชุมนุมจะเริ่มมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นการกระชากหน้ากาก ปฏิรูป เป็นแค่วาทกรรม พร้อมทั้งเลิกประนีประนอม ปิดประตูตายในการเจรจา 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเคลื่อนไหวเครือข่ายภาคประชาชนในนาม กลุ่มไม่เอาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่ออกยืนยันข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันฯ 10 ข้อ ไม่ได้มีเจตนาล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่ได้ชุมนุมเมื่อวันที่ 14 พ.ย.2564 แม้จะไม่ได้มีมวลชนออกมาชุมนุมอย่างมืดฟ้ามัวดินอย่างที่คาดการณ์กัน แต่ก็เห็นถึงเค้าลางของความรุนแรงที่กลับมาปะทุขึ้นอีกครั้ง

เมื่อฝ่ายม็อบ “ถอดรหัส” อีกฝ่าย ประกาศชักธงรบชัดเจน จึงไม่จำเป็นต้อง “กระมิดกระเมี้ยน” ในการใช้คำที่ต้อง “ตีความ” อีกต่อไป จึงไม่แปลกที่ ยุทธศาสตร์ การชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา จะเคลื่อนไหวในนาม “กลุ่มไม่เอาระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์” ยกระดับที่ “ระบอบ” และ “โครงสร้าง” มากกว่าตัวบุคคลหรือสถาบันฯ ที่มีการกล่าวอ้างกัน

เพียงแต่ ยุทธวิธี ในการรบของม็อบก็คงไปได้ไม่ไกลมากกว่านี้ ด้วยเหตุผล 3 ประการ

- การชุมนุมปราศรัย ขยายแนวคิด-อุดมการณ์ ขัดกฎหมาย รัฐธรรมนูญ เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย ดำเนินคดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้แนวร่วมบางส่วนที่เริ่มอ่อนล้า โดยเฉพาะแกนนำม็อบ 3 นิ้ว ที่นำทัพในการชุมนุมเดินเข้า-ออกคุก เป็นว่าเล่น 

- “กลุ่มฮาร์ดคอร์–การ์ด” ถูกจับกุม-คุมขัง ดำเนินคดีเช่นกัน บางส่วนถอยไปตั้งหลัก บางส่วนยังคง “เสพติดความรุนแรง” และเชื่อมั่นในแนวทาง “อนาธิปไตย” จะนำไปสู่ชัยชนะ หลังทุกทางในการเรียกร้อง “ถูกปิดตาย” แต่ขณะเดียวกัน “ความรุนแรง” ก็เป็นตัวบั่นทอน ทำลายมวลชนให้ถอยห่างจากการชุมนุม

- กลุ่มต่อต้านในโลกโซเชียลมีเดีย เป็นกลุ่มที่มีพลังในการขยายมวลชนได้มาก แต่เริ่มตั้งหลัก เรียนรู้ ในการสื่อสารอย่างระมัดระวัง เพราะไม่ต้องการถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดี กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง จึงใช้วิธีในการสื่อสารทางความคิดบนคีย์บอร์ดแทน

แต่อย่าลืมว่า ม็อบเด็ก ยุคดิจิทัล สามารถเรียนรู้และเท่าทันกับเหล่าบรรดา “นักคิด-นักวิจารณ์” ทั้งหลายได้ ไม่เหมือนแกนนำยุคเก่า ที่ยังต้องพึ่ง “นักวิชาการ-อาจารย์" เป็นผู้นำทางในการต่อสู้ กำหนดประเด็นในการเคลื่อนไหวเสียทั้งหมด เหล่าบรรดา “ศาสดา” ที่ถูกมองว่าชี้นิ้วบงการ ในความเป็นจริงอาจเป็นแค่เครื่องจักรผลิตชุดข้อมูลให้เท่านั้น

เพราะ “ม็อบเด็ก” มีความเป็นตัวของตัวเอง และเชื่อมั่นในการต่อสู้ อาจถึงขั้นว่า ไม่ค่อยฟังใคร แม้รู้ว่าสู้ไปก็ยากที่จะชนะ โดยเฉพาะในช่วง 3-5 ปี ที่โครงสร้างในระบอบฯ ปัจจุบันยังเข้มแข็ง และยังมีประชากรรุ่นเก่า-รุ่นกลาง ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินแต่ก็ยังฝืนเดินหน้าสู้ต่อไป

แม้จะมีคำแนะนำ ข้อเสนอแนะ ให้ลดเพดานและปรับ  “ยุทธวิธี” ใหม่ เพื่อออมกำลัง-รอเวลาที่เหมาะสม แต่ก็เหมือนยิ่งห้ามยิ่งยุ

 จึงไม่แปลกถ้าการต่อสู้นับจากนี้จะขยับและยกระดับความเข้มข้นในประเด็นที่หมิ่นเหม่ สุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายไปเรื่อยๆ จนกว่าฝ่ายตรงข้ามจะโรยรา-เพลี่ยงพล้ำไปเอง

ขณะที่ “ขาแรง” ที่เชื่อในวิธีสร้างความวุ่นวายเพิ่มมากขึ้น  ให้เกินกว่าที่รัฐจะควบคุมได้ ยังคงเดินหน้าปะทะกับเจ้าหน้าที่ ด้วยความเชื่อว่า “ตำรวจ-ทหาร” ควรอยู่ข้างประชาชน ไม่ใช่มุ่งรับใช้ผู้มีอำนาจเท่านั้น

บรรยากาศการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมที่ “ปักธง” เปลี่ยนโครงสร้างในขณะนี้ จึงดำรงอยู่แบบทรงๆ ยากที่จะเพิ่มมวลชน หรือไปผนึกรวมกับ "ม็อบการเมือง” ที่หวังโค่นล้มรัฐบาล “รัฐบาลบิ๊กตู่” ซึ่งกลุ่มหลังนี้นับวันยิ่งถอยห่าง และไม่ยุ่งเกี่ยวกับประเด็นที่คาบเกี่ยวกับความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112

สถานการณ์ในปัจจุบันจึงเปรียบเหมือนการประกาศสงครามที่ชัดเจนขึ้นของม็อบสามนิ้ว ภายใต้ความได้เปรียบของคู่ต่อสู้ ที่พรั่งพร้อมไปด้วยสรรพกำลัง ความชอบธรรม ตามระบอบ และกฎหมายทุกประการ

 ในช่วง 3-5 ปีนี้ “ยุทธวิธี” ที่ใช้ ไม่น่าจะได้รับชัยชนะหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก คงทำได้แค่ “ปักธง” กล่าวถึงสถาบันฯ ในทุกพื้นที่สาธารณะมากขึ้น รอคนในรุ่นถัดไปมารับไม้ต่อข้อเรียกร้องทะลุเพดานที่จุดพลุไว้ในช่วงนี้. 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?

ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง

ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง

ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด

นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย

'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา

มองต่างมุม 'ดร.ณัฏฐ์' เชื่อศาลรธน.ตีตกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างฯ

สืบเนื่องจากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร  ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น เพื่อวินิจฉัยสั่งการให้ นายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทย เลิกการก