สตช.เตรียมพร้อมรับมือประชุมเอเปก จัดกำลัง 2 หมื่นนายรักษาความปลอดภัย

ถือเป็น “เวทีระดับโลก” สำหรับการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจ หรือเอเปก ที่ไทยเป็นเจ้าภาพระหว่างวันที่ 14-19 พ.ย.65 ซึ่งจะมีผู้นำแต่ละประเทศเข้าร่วม 23 ประเทศ รวมทั้งผู้นำองค์กรต่างๆ ที่จะเข้าร่วมประชุมครั้งนี้ “ไทยแลนด์” ถือเป็นจุดโฟกัสเฉพาะสื่อมวลชนชั้นนำทุกสำนักทั่วโลกจะเดินทางมาที่ไทยกว่า 2,000 คน

ในฐานะเจ้าภาพ “ความปลอดภัย” เป็นหัวใจหลัก รัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้แต่ละหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชนวางมาตรการรักษาความปลอดขั้นสูงสุด และได้มอบหมายให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัยและการจราจร โดยมี “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” เป็นหน่วยงานหลัก

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ประธานอนุกรรมการฯ มอบหมายให้ “บิ๊กเด่น” พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. เป็นหัวหน้าคณะทำงานขับเคลื่อน รับผิดชอบหลักด้านการรักษาความปลอดภัย ทั้งบุคคล สถานที่พัก สถานที่ประชุม งานเลี้ยงรับรอง และเส้นทางการเดินทาง การจัดขบวนรถผู้นำเขตเศรษฐกิจ และพิธีการคนเข้าเมือง ตลอดจนการสืบสวน ติดตามสถานการณ์ด้านข่าว และการจัดตั้งกองอำนวยการร่วม อำนวยการ ควบคุม สั่งการการปฏิบัติตลอดภารกิจ

มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุด ความผิดพลาดต้องเป็นศูนย์ “กรมปทุมวัน” ได้มีมาตรการเตรียมความพร้อม ตั้งแต่เมื่อครั้ง “บิ๊กปั๊ด” พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ยังคงดำรงตำแหน่ง “ผบ.ตร.” ได้ฝึกซ้อมแผนแก้ไขปัญหาสถานการณ์วิกฤตและการเผชิญเหตุเสมือนจริงของตำรวจชุดปฏิบัติการพิเศษชั้นนำของเมืองไทย ที่ประกอบไปด้วยชุดอรินทราช 26 (บช.น.), นเรศวร 261 (บช.ตชด.), คอมมานโด (บก.ปพ.), หนุมาน (บก.ป.), สยบไพรี (บช.ปส.) และชุดครูฝึกหน่วยปฏิบัติการพิเศษต้นแบบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซักซ้อมยุทธวิธีการปฏิบัติรองรับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นให้สามารถปฏิบัติตามที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านสายตาตัวแทนความมั่นคงระดับสากลมาแล้ว

 “ผบ.เด่น” ที่รับผิดชอบงานด้านความมั่นคงขณะนั่งเก้าอี้รอง ผบ.ตร. จึงไม่ใช่เรื่องยากที่รับไม้ต่อจากอดีต ผบ.ตร.คนก่อน ประชุมเตรียมความพร้อมร่วมกับทหาร เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง กำหนดแผนปฏิบัติ ซักซ้อมทำความเข้าใจแผนเผชิญเหตุเพื่อการทำงานที่สอดคล้องในห้วงเวลาการปฏิบัติ เฝ้าติดตามสถานการณ์ด้านการข่าว ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานระหว่างประเทศ จัดตั้งศูนย์ประสานงาน ศูนย์ติดตามสถานการณ์ โดยใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกว่า 20,000 นาย พร้อมหน่วยสนับสนุนอีกกว่า 30 หน่วย

โดยการประชุมครั้งสำคัญนี้เรียกได้ว่า ความผิดพลาดต้องเป็นศูนย์ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ ได้คลอดแผนมาตรการรักษาความปลอดภัยก่อนการประชุมเอเปก  

วันที่ 10 ต.ค.-8 พ.ย. สั่งตำรวจทั่วประเทศ ระดมกวาดล้างปราบปรามความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน ยาเสพติด หมายจับค้างเก่า” เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ผลการปฏิบัติจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืน วัตถุระเบิด และเครื่องกระสุน ทั้งสิ้น 11,811 คดี ผู้ต้องหา 10,450 คน ของกลางอาวุธปืนสงคราม 36 กระบอก ปืนไม่มีทะเบียน 5,345 กระบอก มีทะเบียน 936 กระบอก วัตถุระเบิด 4,342 รายการ และเครื่องกระสุน 37,045 นัด, คดียาเสพติด 41,803 คดี ผู้ต้องหา 43,027 คน ของกลางยาบ้า 49,580,083 เม็ด และจับบุคคลตามหมายจับคดีอาญาได้ 9,465 หมายจับ ผู้ต้องหา 9,255 คน

ซักซ้อมการปฏิบัติเสมือนจริง วันที่ 1-5 พ.ย. แผนการป้องกันเหตุร้าย, 7 พ.ย. ด้านการจราจร ซักซ้อมขบวนรถผู้นำ ที่ใช้ตำรวจ 540 นาย นำขบวนของผู้นำแต่ละประเทศ เพราะตั้งแต่วันที่ 16-19 พ.ย. จะมีการงดใช้เส้นทางชั่วคราวถนนรัชดาภิเษก หน้าศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่แยกอโศกมนตรี-แยกพระราม 4 ถนนดวงพิทักษ์ ตลอดสาย ตลอด 24 ชม. รวมถึงเส้นทางที่เกี่ยวข้อง ถนนเพลินจิต (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่แยกใต้ด่วนเพลินจิต-แยกราชประสงค์ ซอยร่วมฤดี (ตลอดสาย) ถนนวิทยุ (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่แยกเพลินจิต-แยกสารสิน ซอยต้นสน (ตลอดสาย) ถนนราชดำริ (ฝั่งขาเข้า) ตั้งแต่แยกราชประสงค์-ราชดำริ  

ส่วนวันที่ 11-13 พ.ย. จะเป็นการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุโรงแรม และแผนต่อต้านก่อการร้าย ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 “ผบ.เด่น” ยืนยันความพร้อมดูแลการประชุมเอเปก ทั้งการดูแลความปลอดภัยและการจราจร ดูแลสถานที่จัดการประชุม โรงแรมที่พัก ทั้งด้านในและด้านนอก รวมถึงจุดสูงข่มต่างๆ ใช้กำลังกว่า 20,000 นาย เฝ้าระวังด้านการข่าวอย่างเข้มงวดทั้งภัยคุกคามในประเทศ เรื่องความมั่นคง ตลอดจนภัยคุกคามต่างประเทศคู่ขัดแย้ง ต้องดูทุกมิติ เป็นห่วงไว้ทุกด้าน ไม่ประมาทถึงแม้ไม่มีการข่าวที่ชัดเจนว่าจะมีการก่อเหตุ แต่ตำรวจได้มีการตั้งจุดตรวจเข้มแข็งทั่วทุกภาค รวมถึงแนวพรมแดนต่างๆ ช่องทางธรรมชาติ และเส้นทางที่จะเข้ามาในเขตกรุงเทพฯ ส่วนในกรุงเทพฯ มีการตั้งด่านทั่วทุกพื้นที่แล้วตั้งแต่วันที่ 7 พ.ย.เป็นต้นมา

ขณะที่การเตรียมความพร้อมรับมือม็อบที่ออกมาชุมนุมในระหว่างการประชุม ถึงแม้จะยังไม่มีการข่าว แต่ได้เตรียมความพร้อมกำลังกองร้อยควบคุมฝูงชนบริเวณพื้นที่ศูนย์ประชุม โรงแรมที่พัก เส้นทางต่างๆ หรือหากจะมีผู้ออกมาเรียกร้องการชุมนุมให้ใช้การเจรจา ขอความร่วมมือ หากกลุ่มผู้ชุมนุมมีข้อเรียกร้องต่างๆ ให้จัดเจ้าหน้าที่รับและที่ยื่นหนังสือตามสถานที่ที่กำหนดไว้ แต่หากมีการฝ่าฝืนกฎหมาย พ.ร.บ.การชุมนุม ให้ดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด

การเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปกครั้งนี้สำคัญมากสำหรับประเทศไทย มาตรการรักษาความปลอดภัยพลาดไม่ได้แม้แต่ 0.01 เปอร์เซ็นต์ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นความล้มเหลวของประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมระดับนานาชาติอีกครั้ง ที่กลุ่มผู้ชุมนุมคนเสื้อแดง นำโดย นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย นำมวลชนบุกโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช รีสอร์ท เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ซึ่งใช้เป็นสถานที่การประชุมสุดยอดอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เมื่อปี 52 ถึงแม้จะมีกำลังเจ้าหน้าที่เข้าสกัด แต่ไม่เป็นผล ทำให้การประชุมล้มไม่เป็นท่า สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อระบบเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก

สรรพกำลัง อุปกรณ์ เครื่องมือเทคโนโลยีที่ทันสมัยทั้งภาคพื้นดิน อากาศ ไซเบอร์ ถูกนำมาใช้เพื่อปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นอีกบทพิสูจน์ฝีมือ “ผบ.เด่น” กับภารกิจสำคัญระดับโลกครั้งนี้.  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

1ประเทศ2นายกฯ ระวังจบซ้ำรอยเดิม?

มีหลายส่วนในสังคม คนจำนวนไม่น้อยรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของ ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่พ้นโทษออกมาโดยไม่ติดคุกแม้แต่วันเดียว แต่ทำตัวเปรียบเหมือนเป็นเจ้าของรัฐบาล

บี้รัฐบาล-ผบ.ตร. เร่งกวาดล้างแก๊งค้ามนุษย์ สแกนเข้มชายแดน ฟันทหารตำรวจนอกรีต

'ธนกร' ขอ 'รัฐบาล-ผบ.ตร.' เร่งกวาดล้างขบวนการค้ามนุษย์หลอกลวงคนหางาน ฝากสแกนเข้มตะเข็บชายแดน หวั่นใช้ไทยเป็นฐานนายหน้าส่งต่อเหยื่อ แนะจัดการเด็ดขาดทหาร-ตร.นอกรีด

จับตา! 'นายกฯอิ๊งค์' หัวโต๊ะ ก.ตร. เคาะโผ 'นายพลเล็ก' 140 ตำแหน่ง 'นรต.45' ผงาด

จับตา 'นายกฯอิ๊งค์' นั่งหัวโต๊ะประชุม ก.ตร. ถกโผแต่งตั้งนายพล ระดับ 'รองผบช.-ผบก.' กว่า 140 ตำแหน่ง คาด 'บิ๊กเต่า' โยกจาก บช.ก. นั่งรองผบช.น. 'นรต.45' ผงาดผู้การกองปราบ มือขวาผบช.ไซเบอร์ ขึ้น ผบก.สอท.4

เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง

การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด

'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’

ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง