ภท.ตอกเสาเข็มเมืองหลวง สู่พรรคหลักต้นขั้วการเมือง

แม้ในที่สาธารณะจะยังไม่มีการยอมรับอย่างเป็นทางการ  หลังมีกระแสข่าวว่า  "เสี่ยบี"  นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) และอดีตแกนนำกทม. พรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) ขออาสามาตอกเสาเข็มพื้นที่กรุงเทพฯ ให้แก่พรรคภูมิใจไทย  ขณะที่ตัว "เสี่ยบี" ก็ยังไม่ออกมายืนยัน หรือปฏิเสธ กับกระแสข่าวที่เกิดขึ้น    

แต่ในแวดวงการเมือง กระบวนการดังกล่าวมีการประสานและพูดคุยกันสักระยะ เพื่อรองรับเลือกตั้งในอีก 5-6 เดือน สะท้อนได้จากหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย  "เสี่ยหนู" อนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรองนายกฯและรมว.สาธารณสุข  ยอมรับว่าได้พูดคุยกับ  "เสี่ยบี" จริง   และหวังใช้บริการมาอุดช่องว่าง และ จุดอ่อน ในพื้นที่เมืองหลวง  

" ตอนนี้ยังคุยทั่วไปกันอยู่ ยังไม่ลงรายละเอียด และต้องดูว่านายพุทธิพงษ์ มีข้อจำกัดอะไรหรือไม่ และถ้าคุยกันแล้วช่วยงานกันได้ไม่มีข้อจำกัด หรือหากมีข้อจำกัดก็สามารถช่วยงานได้ในฐานะคณะทำงาน และหากทำแล้วเกิดประโยชน์กับพรรค และบ้านเมืองก็ไม่น่าเป็นการเสียเวลาที่จะคุย"  หัวหน้าพรรรคภูมิใจไทย กล่าว 

อย่างไรก็ตาม แม้พรรคเลือดน้ำเงิน ที่ผ่านมาจะมี ส.ส.กทม. อยู่บ้าง  แต่ก็ไม่ได้เกิดจากผลผลิตและกระบวนการเลือกตั้งของพรรค    แต่มาเพราะแรงดูดหลังพรรคอนาคตใหม่ถูกยุบ   และ ส.ส.เหล่านี้แม้จะทำพื้นที่ ในเวลานี้ แต่ก็ไม่แน่ใจจะได้กลับมาหรือไม่ เพราะเที่ยวที่แล้วเข้ามาในสภาฯได้เพราะกระแสพรรคพลังส้ม 

ฉะนั้น การมาของ “เสี่ยบี" จึงตอบโจทย์  ที่ตรงสเปค เพราะกำลังหาคน ที่อาสามาปักหมุดพื้นที่เมืองหลวง สู่เป้าหมายพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ที่จำเป็นจะต้องส่ง ส.ส. ให้ครบทั้งประเทศทั้งระบบเขต และ บัญชีรายชื่อ

สอดรับกับการทำงานของพรรคผ่านกระทรวงคมนาคม ก็ผลักดันงานต่างๆให้แก่คนกรุงเทพ  อาทิ ผลักดันรถเมล์ไฟฟ้า  รถไฟฟ้าทั้งบนดินและใต้ดิน   ตรวจสอบสัญญาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว  และไม่ยอมเสียค่าโง่โฮปเวลล์ หลายหมื่นล้านบาท 

เช่นเดียวกับ ความต้องการของ แกนนำกทม.สายกปปส. ผู้นี้  ก็ต้องการหาพรรคใหม่  หวังต่อท่ออำนาจทางการเมือง  หลังโบกมือลาระบอบพี่น้อง 3 ป. เพราะเจ็บปวด เมื่อต้องเดินเข้าเรือนจำ ในคดีเป็นแกนนำ กปปส. ชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์   และทำให้ตัวเอง ต้องหลุดจากตำแหน่งรัฐมนตรี และ พ้นสภาพการเป็น ส.ส. อีกด้วย

ส่วนสาเหตุที่ของมาที่นี่ เพราะมองว่า ภูมิใจไทย เป็นพรรคที่เป็นเอกภาพ  ไม่มีความขัดแย้ง หรือแทงหลังกันเอง  ระบอบการบริหารจัดการและท่อน้ำเลี้ยงในพรรคดีเยี่ยม

ที่สำคัญกติกาชัดเจน "พูดแล้วทำ"  หากผู้ใด หาจำนวน ส.ส.ได้ตามเป้าหมาย หรือ ได้ ส.ส.ยกจังหวัด    ก็ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีตอบแทน 

 ดังที่ "อนุทิน" รับคำท้าและเคยประกาศเอาไว้ เมื่อไปเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส.ในหลายพื้นที่อาทิ  ศรีสะเกษ  พิจิตร   ขอนแก่น  กระบี่ พังงา   ลพบุรี เป็นต้น   จึงทำให้เป็นพรรคที่เนื้อหอมที่สุด มีแต่เลือดไหลเข้า ไร้เลือดไหลออก  แตกต่างจากพรรคการเมืองปีกขั้วรัฐบาล 

ซึ่ง "เสี่ยบี" ก็รู้เงื่อนไขของพรรคเลือดน้ำเงินเป็นอย่างดี  จำเป็นจะต้องมี  ส.ส. ในมือเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย   แม้ตัวเอง จะยังคลุมเครือว่าขาดคุณสมบัติจะลงสมัคร ส.ส.ได้หรือไม่ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีตัวแทนมาทำงานให้

ตามข่าวก็มีอย่างน้อย 3  ส.ส. พปชร. ประกอบด้วย นายจักรพันธ์ พรนิมิตร ส.ส.กทม. (บางพลัด) นายกษิดิ์เดช ชุติมันต์ ส.ส.กทม. (ลาดพร้าว) นายประสิทธ์ มะหะหมัด ส.ส.กทม.(สะพานสูง) เป็นต้น มาจะเดินตามมาด้วย 

เนื่องจาก ส.ส.เหล่านี้ และ อีกหลายคนในพปชร.   ต้องหาทางหนีทีไล่  หลังเผชิญความนิยมตกต่ำเพราะติดภาพของระบอบสืบทอดอำนาจ   การเลือกตั้งซ่อมกทม. หรือ เลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. ก็แพ้แบบถล่มถลาย  

ประกอบกับความไม่ชัดเจนของพี่น้อง 3 ป.  โดยเฉพาะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ จะตัดสินอนาคตทางการเมืองอย่างไร หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นับอายุการดำรงตำแหน่งนายกฯ ตั้งแต่ปี 2560 และคาดว่าจะสามารถเป็นนายกฯได้ถึงปี 2568 หรือ เป็นได้อีก 2 ปีเท่านั้น แตกต่างแคนดิเดตพรรคการเมืองอื่นๆมีอายุใช้งานได้ 4 หรือ 8 ปี   ท่ามกลางกระแสข่าวพี่น้อง3 ป.แตกกันแล้วใช่หรือไม่

กลับมาที่เป้าหมายของพรรคภูมิใจไทย ในพื้นที่ กรุงเทพฯ ก็ยังไม่หยุดแค่นี้ ตามข่าวก็ยังมี  น.ส.พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์ ส.ส.กทม. (ปทุมวัน) ที่จ่อย้ายเช่นกัน ด้วยคอนเนคชั่นพิเศษ   ก็ต้องดูว่าดิวจะลงตัว และ ส่งลง ส.ส.เขตกทม.หรือไม่  หรือ จัดวางตำแหน่งรูปแบบอื่นๆอย่างเหมาะสม ภายใต้กติกา และ ความน่าเชื่อถือของผู้ใหญ่ในพรรค  ที่บริหารจัดการพรรคให้เกิดเอกภาพมาถึงบัดนี้  

เช่นเดียวกับ  นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย  ที่ไม่กลัวกระแสแลนด์สไลด์  กล้าถอดเสื้อแดง เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน   ผ่านการเดินทางมาร่วมอวยพรงานวันเกิดปีที่ 64 ของ นายเนวิน ชิดชอบ ครูใหญ่ของพรรค ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เพราะเชื่อว่าการย้ายมาอยู่พรรคแห่งนี้มีโอกาสเป็นรัฐบาล และกระโดดหนีความแห้งเหี่ยวกับบทบาทฝ่ายค้าน ที่มีแนวโน้มจะสืบทอดต่อไป เพราะคนกรุงกลัวผีระบอบทักษิณ   ที่จะพากลับบ้านโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม   

ดังนั้น กระแสข่าวบรรดา  ..กทม. ไหลเข้ามาอาจยังไม่หยุดเท่านี้ และเชื่อว่ายกระดับจากพรรคระดับภูมิภาคเป็นพรรคระดับชาติ ตอกย้ำเป้าหมาย "อนุทิน" อยากเห็น ภูมิใจไทย เป็น  พรรคหลักต้นขั้วการเมือง  ด้วย ส.ส. 120 เสียง  ขณะที่ "ครูใหญ่"ก็อยากเห็น "ลูกศิษย์" มีโอกาสเป็นนายกฯ.  

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหลี่ยม"ทักษิณ"หาเสียงนายกอบจ. ก้ำกึ่ง สุ่มเสี่ยง ผิดกฎหมายเลือกตั้ง

การปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.ของ "ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกฯ กำลังกลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง ทั้งสุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายเลือกตั้ง และพาดพิงคู่ปรับทางการเมืองอย่างดุเดือด

'คุมขังนอกเรือนจำ'ความหวังใหม่ ระบบยุติธรรมหรือประตูสู่ความลำเอียง

ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในระบบยุติธรรม โดยในปี 2568 กรมราชทัณฑ์จะเริ่มใช้ ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ ซึ่งเป็นนโยบายใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ

‘แม้ว’ห้าว!ผ่านสนาม อบจ. ท่าทีมั่นใจ‘ความปลอดภัย’

ห้าวทุกเวที! 4 จังหวัด อุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ เชียงราย ที่ ‘ทักษิณ ชินวัตร’ อดีตนายกรัฐมนตรี ไปช่วยผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ.หาเสียง

ก้าวต่อไป ‘รทสช.’ ปี 2568 ติดสปีดผลงาน-โกยคะแนน

ต้องฝ่าฟันมรสุมกันระลอกใหญ่ส่งท้ายปี 2567 สำหรับ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) จากพรรคน้องใหม่จนถึงปัจจุบันสู่ปีที่ 3 แล้ว ภายใต้การนำของ “พี่ตุ๋ย” พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะหัวหน้าพรรค และ “ขิง” เอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะเลขาธิการพรรค ซึ่งพรรคได้โควตาร่วมทัพรัฐบาลเพื่อไทย และได้กระทรวงที่หมายปองมาครอบครองสมใจ

การเมืองไทยปี 68 เข้มข้น-ขับเคี่ยว-ร้อนแรง ซักฟอกมี.ค.-ปรับครม.กลางปี

การเมืองไทยไม่ว่าปีไหนๆ ก็มีประเด็นร้อนเกิดขึ้นได้ตลอด บางเรื่องเกิดขึ้นตามปฏิทินการเมือง แต่บางประเด็นเป็นความร้อนแรงที่แทรกขึ้นมาแบบไม่มีใครคาดคิดมาก่อน