เหตุการณ์การทำร้ายร่างกาย ศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เมื่อวันอังคารที่ 18 ต.ค.ที่ผ่านมา ที่ถูก นายวีรวิทย์ รุ่งเรืองศิริผล อายุ 62 ปี สมาชิกกลุ่มศักดินาเสื้อแดงต่อต้านเผด็จการ นักเคลื่อนไหวการเมืองปีกเสื้อแดง ทำร้ายร่างกายภายในบริเวณอาคารศูนย์รับแจ้งความ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ขณะให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ระหว่างที่ศรีสุวรรณเข้าร้องให้ บก.ปอท.ตรวจสอบ “โน้ส” อุดม แต้พานิช กรณีพูดล้อเลียนหรือพาดพิงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ในทอล์กโชว์เดี่ยวไมโครโฟน 13
สิ่งที่เกิดขึ้นกับศรีสุวรรณไม่ใช่เหตุการณ์แรกสำหรับการเมืองไทย ที่เกิดจาก คนที่เห็นต่างทางการเมือง แล้วใช้ความรุนแรงกระทำต่อกัน
เพราะก่อนหน้านี้ ตั้งแต่อดีตหลายสิบปี ก็เคยมีหลายครั้งที่นักเคลื่อนไหวทางการเมือง-นักวิชาการ-นักการเมือง รวมถึงสื่อมวลชน ถูกกลุ่มคนที่เห็นต่างทางการเมืองทำร้ายร่างกาย ทั้งแบบต่อหน้าและลับหลัง ซึ่งเรื่องนี้ว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับสังคมการเมืองของเกือบทุกประเทศทั่วโลก ไม่ว่าประเทศนั้นจะปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยหรือเผด็จการทหาร
โดยก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุกับศรีสุวรรณ หากมองย้อนกลับไปในช่วงไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ เท่าที่หลายคนจำความได้ ก็เคยเกิดเหตุคนที่เห็นต่างทางการเมืองมีการทำร้ายกัน หรือมีการดักทำร้ายนักวิชาการ นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่คาดกันว่าน่าจะเกิดจากเรื่องทางการเมืองกันให้เห็นหลายครั้ง
ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เกิดกับ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แกนนำกลุ่มนักวิชาการนิติราษฎร์ที่รณรงค์การแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งถือเป็นกลุ่มแรกๆ ที่ออกมาพูดเรื่องมาตรา 112 อย่างจริงจังและมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องในเรื่องนี้ จากเดิมที่การเมืองไทยและวงการกฎหมายไทยแทบไม่เคยมีใครพูดถึงเรื่องนี้ในพื้นที่เปิดเผย และปรากฏว่า เมื่อ 29 ก.พ.2555 ดร.วรเจตน์ ได้ถูกทำร้ายร่างกายด้วยการต่อยเข้าไปที่บริเวณใบหน้าของนายวรเจตน์จนได้รับบาดเจ็บ โดย เหตุเกิดที่บริเวณลานจอดรถคณะนิติศาสตร์ ภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ผู้ก่อเหตุคือ นายสุพจน์ และนายสุพัฒน์ สุรารัตน์ สองพี่น้องฝาแฝด เข้ามอบตัวกับตำรวจ โดยยอมรับว่าเป็นผู้ก่อเหตุทำร้ายร่างกาย ดร.วรเจตน์ โดยสาเหตุคือ ไม่เห็นด้วยกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องของ ดร.วรเจตน์ แกนนำกลุ่มคณะนิติราษฎร์ที่ออกมาเรียกร้องให้แก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ผลทางคดีปรากฏว่า ต่อมาอัยการเป็นโจทย์ยื่นฟ้องนายสุพจน์ และนายสุพัฒน์ สุรารัตน์ ในข้อหาร่วมกันทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
ต่อมาช่วงมีนาคม 2555 ศาลแขวงดุสิตอ่านคำพิพากษาคดีดังกล่าว โดยศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า จำเลยทั้ง 2 คนมีความผิดตามฟ้อง พิพากษาให้จำคุกคนละ 6 เดือน แต่จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษลงกึ่งหนึ่ง คงจำคุกคนละ 3 เดือน ส่วนนายสุพจน์เคยต้องโทษ คดีผิดพระราชบัญญัติอาวุธปืน เมื่อปี 2553 ต้องโทษจำคุก 7 เดือน ศาลจึงพิจารณาเพิ่มโทษนายสุพจน์เป็นจำคุกเป็นเวลา 10 เดือน และไม่รอลงอาญา เนื่องจากเห็นว่าทั้ง 2 คนมีพฤติกรรมไม่เคารพต่อกฎหมาย แต่ทนายความของทั้ง 2 คน ได้ยื่นหลักทรัพย์เป็นเงินสด 100,000 บาท เพื่อขอประกันตัวต่อศาลแขวงดุสิต และศาลให้ประกันตัวในตอนนั้น
นอกจากนี้ก็ยังมีกรณีการทำร้ายร่างกาย สิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือ จ่านิว นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ที่ตอนนั้นอยู่ในกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ที่มีแกนนำกลุ่ม เช่น รังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลในเวลานี้ และโบว์ น.ส.ณัฏฐา มหัทธนา รวมอยู่ด้วย
โดยพบว่าจ่านิวที่ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวการเมืองตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยถูกดักทำร้ายร่างกายหนักๆ ก็ประมาณ 2 ครั้ง เช่น เมื่อ 28 มิ.ย.2562 ที่โดนรุมทำร้ายที่ปากซอยบ้าน ตรงรามอินทรา 109 จนได้รับบาดเจ็บสาหัส พักรักษาตัวที่โรงพยาบาล 9 วัน
อีกทั้งก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน จ่านิวก็เคยถูกรุมทำร้ายร่างกายเมื่อ 2 มิ.ย.2562 ปีเดียวกัน ที่ป้ายรถประจำทางซอยรัชดาภิเษกซอย 7 จนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล โดยมีรายงานว่า เหตุการณ์ดังกล่าว จ่านิวถูกคนร้ายไม่ต่ำกว่า 5 คน สวมหมวกกันน็อกปิดบังใบหน้า ใช้ไม้เป็นอาวุธเข้าทำร้ายร่างกายจนมีบาดแผลบริเวณศีรษะและบริเวณริมฝีปาก หลังจัดกิจกรรมเรียกร้องให้ ส.ว.งดออกเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับการทำร้ายร่างกาย การใช้ความรุนแรงกับผู้เห็นต่างหรือคนที่มีแนวคิดการเมืองคนละฝั่งกับตัวเอง ว่ากันตามสภาพการเมืองและธรรมชาติมนุษย์ เชื่อว่ายังไงเหตุการณ์ทำนองนี้ก็คงเกิดขึ้นอีกเรื่อยๆ ยิ่งเป็นช่วงที่สังคมการเมืองแบ่งขั้วกันชัดอยู่ในช่วงตึงเครียด มันก็มีโอกาสสูงที่จะเกิดเหตุลักษณะเช่นนี้ได้ แต่สิ่งสำคัญคือ คนในสังคมคงต้องแสดงออกถึงการไม่ยอมรับและต่อต้านการใช้วิธีการดังกล่าวเพื่อแสดงออกทางการเมือง
ด้าน ศรีสุวรรณ กล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า ไม่เจ็บอะไรเท่าเจ็บใจ ส่วนตัวไม่เคยรู้จักคนก่อเหตุเป็นการส่วนตัว แต่ก็แปลกใจอยู่เหมือนกันว่าเป็นผู้สื่อข่าวหรือไม่ เพราะพยายามเดินเข้ามาหา เห็นผิดสังเกตก็เลยพยายามกันตัวออก แต่ว่าเนื่องจากเขาตั้งใจที่จะมาทำร้าย ก็เลยโดนชกที่ปลายคาง ตอนนี้มีอาการเจ็บ และได้ไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันไว้ที่กองปราบปราม และ สน.พหลโยธิน เพื่อให้ดำเนินคดีข้อหาทำร้ายร่างกาย
"หลังจากนี้ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาก็ไม่ค่อยมีเพื่อนไปด้วย แต่หลังจากนี้คงต้องมีเพื่อนติดตามไปด้วย ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ ก็ถือว่าเป็นบทเรียนที่สำคัญที่เราจะต้องดำเนินการ แต่ว่าถามว่าท้อไหม ไม่ครับ คนอย่างศรีสุวรรณไม่มีคำว่าท้อเรื่องประเภทนี้ เราก็คงทำหน้าที่ของเราต่อไปไม่หยุดไม่หย่อนนะครับ ไม่ว่าใครจะมาเป็นรัฐบาลหรือใครจะมาเป็นฝ่ายค้านฝ่ายโน้นฝ่ายนี้ ผมก็ทำหน้าที่ของผมมาโดยตลอด" ศรีสุวรรณกล่าว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชนักติดหลัง-หอกดาบ ที่ค้างอยู่ของ"ทักษิณ"
แน่นอนว่า ทักษิณ ชินวัตรและพรรคเพื่อไทย ย่อมต้องถอนหายใจโล่งอก ที่ไม่ต้องตกอยู่ในสถานะ ผู้ถูกร้อง ที่ศาลรัฐธรรมนูญ หลังศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้อง-ไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยในคดีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ หรือ "คดีล้มล้างการปกครอง" ที่ศาล รธน.มีมติยกคำร้องไปเมื่อ 22 พ.ย.ที่ผ่านมา
'ชินวัตร' ตีปีกดันรัฐบาลครบเทอม วิบากกรรมไล่ล่า 'ชั้น14' หลอกหลอน
ดูจากมติเอกฉันท์ของศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของ นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49
แจกเฟส 2 หวังผลการเมือง ส่อผิดกฎหมายหลายกระทง?
ปี่กลองอึกทึกครึกโครม ในสนามเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วประเทศในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ตามประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ช่วงนี้จึงอยู่ในช่วงงัดไม้เด็ดเดิมพันให้ได้คว้าชัยชนะ เพื่อเป็นอีกก้าวปูทางไปสู่สนามการเลือกตั้งใหญ่
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
จับตาคลอดโผแต่งตั้ง“นายพลใหญ่” ตำรวจคนสนิทฝั่งรัฐบาลพรึบยกแผง
จับตาบ่ายวันนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายล็อตแรก “นายพลใหญ่” ระดับรอง ผบ.ตร. จเรตำรวจ-ผบช. ที่นายกฯ อุ๊งอิ๊ง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) นัดประชุม ก.ตร. ครั้งที่ 10/2567 เพื่อพิจารณาบัญชีรายชื่อ “พล.ต.อ.-พล.ต.ท.” วาระประจำปี 2567
ยากจะขวาง‘โต้ง’นั่งปธ.บอร์ดธปท. แนวต้านขอสกัดจนนาทีสุดท้าย!
แม้จะมีข่าวว่า กรรมการคัดเลือกประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติเลือก เสี่ยโต้ง-นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ให้เป็นประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือบอร์ดแบงก์ชาติคนใหม่